แม้ผู้ชมชาวไทยจะรู้จัก Hamaguchi จากหนังเรื่อง Drive My Car ที่ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Haruki Murakami ออกฉายในปีเดียวกัน ได้รับรางวัลจากคานส์ และออสการ์ หากเมื่อเทียบกันแล้ว Wheel of Fortune and Fantasy แทบไม่มีอะไรเหมือนกันกับ Drive My Car ด้วยโปรดักชั่นที่เล็กกว่ามาก ในแต่ละตอนมีนักแสดงเพียงสองหรือสามคน เหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่ไม่กี่ฉาก และปราศจากพล็อตแบบ Murakami
ข้อความของปาห์นที่เผยแพร่กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “หลังจากความไม่ลงรอยอันยืดเยื้อเรื่องความเป็นอิสระและอำนาจอธิปไตย (ปานห์ใช้คำว่า sovereignty) ของคณะกรรมการผู้ตัดสินรางวัล TikTok Short Film Festival ผมจึงได้ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการตัดสินรางวัลชุดนี้” ซึ่งสะท้อนเป็นนัยว่าอาจเกิดความพยายามแทรกแซงหรือเปลี่ยนแปลงผลการตัดสิน
ต่อมาเจ้าของรางวัล Un Certain Regard ประจำปี 2013 ได้แจ้งทางคานส์เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น และบอกว่าฝ่ายเฟรโมซ์สนับสนุนการตัดสินใจของเขา ก่อนที่ทาง TikTok จะอ่อนท่าทีลง ติดต่อมายังปานห์ และให้สัญญาว่าจะเคารพวิจารณญาณของคณะกรรมการอย่างเต็มที่ เรื่องราวทั้งหมดจึงคลี่คลายลง เมื่อกรรมการทั้งห้าคนรวมถึง ฤทธี ปาห์น ได้ปรากฏตัวร่วมแสดงความยินดี ร่วมพูดคุยและให้สัมภาษณ์ในพิธีมอบรางวัล โดยไม่มีการกล่าวถึงดราม่าทั้งหมดที่เกิดขึ้น
ผลงานสองเรื่องที่คว้ารางวัลใหญ่ไปครอง ได้แก่ Is It Okay to Chop Down Trees? (มาบุตะ โมโตกิ / Mabuta Motoki) และ Love in Plane Sight (มาเตจ์ ริมานิค / Matej Rimanic) ในขณะที่รางวัลตัดต่อยอดเยี่ยมตกเป็นของ ทิม แฮมิลตัน (Tim Hamilton) และ คลอเดีย โคเชต์ (Claudia Cochet) ได้รางวัลบทยอดเยี่ยม
ก่อนหน้านี้ โครเนนเบิร์กเริ่มทำซีรีส์กับเน็ตฟลิกซ์ไปแล้วถึงสองตอน แต่ถูกขอยกเลิกโปรเจ็กต์กลางคัน หนำซ้ำ Crimes of the Future ก็ถูกนำไปพูดคุยกับแอมะซอนและเน็ตฟลิกซ์มาแล้ว แต่พวกเขาไม่สนใจร่วมทุน “ผมผิดหวังเพราะผมสนใจสตรีมมิ่งที่มีคุณภาพระดับภาพยนตร์ ผมคิดว่ามันจะเป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจมากสำหรับผมในฐานะคนเขียนบท ผู้สร้าง และรวมไปถึงผู้กำกับ ผมอาจจะมีประสบการณ์นั้นในวันหนึ่ง แต่ตอนนี้พวกเขายังสนใจใน movie making มากกว่า filmmaking”
เพื่อให้เป็นไปตามกฏของเมอร์ฟีที่ว่า ‘ทุกสิ่งที่สามารถผิดพลาด จะผิดพลาด’ (Anything that can go wrong, will go wrong)https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%B5 หรือพูดให้มันเว่อร์กว่านี้อีกนิดว่า ถ้ามีสิ่งเลวร้ายใดที่สามารถจะเกิดขึ้นได้มันจะเกิดขึ้นเสมอ มันจึงไม่มีวันใดที่เหมาะจะพิสูจน์กฏข้อนี้ไปมากกว่าวันนี้ วันที่เอฟเวอลีนหรือชิ่วเหลียน ต้องจัดงานครบรอบวันเกิดพ่อของเธอที่บินมาจากเมืองจีน วันเดียวกันที่สามีของเธอตั้งใจจะมาคุยเรื่องการขอหย่า วันที่ลูกสาวตั้งใจจะพาแฟนสาวมางาน หมายจะเปิดตัวเพื่อท้าทายเธอต่อหน้าอากง ที่หนักหนาที่สุด มันคือวันที่เธอและสามีต้องกระเตงพ่อไปยื่นภาษีที่สรรพากรก่อนจะกลับมาเตรียมงานเลี้ยงในร้านซักผ้าหยอดเหรียญของเธอ
นี่เป็นครั้งแรกที่ซีรีส์มาร์เวลเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ และ HKC Entertainment ผู้ได้สิทธิในการจัดฉายในปากีสถานก็ได้กล่าวว่า “ซีรีส์เรื่องนี้คือการเฉลิมฉลองที่งดงามให้กับศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงผู้มีความสามารถโดดเด่นของปากีสถาน เพราะมันแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมที่หลากหลายของคนทำงานสร้างสรรค์ในประเทศในทุกภาคส่วนของเรื่อง” ขีดเส้นใต้ว่าการตัดสินใจนี้น่าจะเป็นเรื่องของความภูมิใจในชาติด้วยส่วนหนึ่ง
แต่ในขณะที่ความพยายามคำนึงถึงอัตลักษณ์ที่หลากหลายของ Ms. Marvel จะได้รับการตอบรับที่อบอุ่นและการสนับสนุนอย่างเต็มที่จนน่าแปลกใจจากฟากปากีสถาน แต่อีกหนึ่งหนังมาร์เวลอย่าง Doctor Strange in the Multiverse of Madness กลับได้รับการตอบรับอีกแบบ นั่นคือหนังถูกระงับฉายในซาอุดิอาระเบีย คูเวต และกาตาร์ เพราะมีตัวละครที่เป็นบุคคลข้ามเพศ ซึ่งรับบทโดยนักแสดงที่นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี่
ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม /Film (slashfilm.com) รายงานจาก CinemaCon ที่ลาสเวกัส ไฮไลต์การสัมภาษณ์ของ จอห์น ฟิเธียน (John Fithian) ซีอีโอสมาคมเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์แห่งชาติ (The National Association of Theater Owners) ที่แสดงความเห็นว่าขณะนี้ประตูโรงหนังพร้อมเปิดกว้างต้อนรับหนังเน็ตฟลิกซ์ ขอแค่เน็ตฟลิกซ์สนใจจะร่วมเดินไปในทางเดียวกับโรงหนัง
สิ่งที่ทำให้เน็ตฟลิกซ์แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับบรรดาผู้เล่นหน้าใหม่ที่เข้ามาแย่งชิงพื้นที่สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม (ไม่ว่าจะเป็น Disney+, Hulu, Apple TV+ หรือ ESPN+) ก็คือเน็ตฟลิกซ์ไม่มีธุรกิจหรือรายได้จากทางอื่นเป็นฟูกให้ล้ม (พวกเขายังให้บริการเช่าดีวีดีทางไปรษณีย์อยู่ แต่รายได้ก็เป็นแค่เศษเสี้ยวฝุ่นผงของสตรีมมิ่ง ในขณะที่การลงทุนในธุรกิจเกมก็ยังอยู่ในช่วงตั้งไข่ และยืนยันไม่ได้ว่าจะผลิดอกออกผลเป็นกำไร) บทความของ /Film จึงเสนอว่าอาจถึงเวลาแล้วที่เน็ตฟลิกซ์ต้องคิดทบทวนเรื่องการร่วมมือกับโรงภาพยนตร์อย่างจริงจัง
นับแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไป การพยายามรักษาสถานะพื้นที่เฉพาะแบบ Exclusively on Netflix อาจไม่ใช่ทางออกหรือไพ่ที่เหนือกว่าเหมือนเมื่อไม่กี่ปีก่อน (เช่น การไม่ให้รายงานตัวเลขรายได้หนังเน็ตฟลิกซ์ที่ฉายโรง) ซึ่งทำให้คนในวงการภาพยนตร์ทั้งฝั่งอเมริกาและยุโรปมองว่าเน็ตฟลิกซ์พยายามตั้งตนเป็นศัตรูกับโรงหนัง เพราะในช่วงไม่กี่ปีหลัง วงการภาพยนตร์ได้เห็นความสำเร็จน่าจับตาที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของโรงหนังกับแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะกรณีล่าสุดคือ The Batman (2022) ที่การฉาย 45 วันในโรงทำรายได้กว่า 760 ล้านเหรียญฯ และกลายเป็นหนังยอดชมสูงสุดตลอดกาลของ HBO Max ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่ปล่อยสตรีม
เน็ตฟลิกซ์อาจใช้โมเดลเดียวกันนี้กับหนังออริจินัลของตัวเองที่ลงทุนระดับบล็อกบัสเตอร์ Red Notice (2021) หรือ The Gray Man (2022) ได้เช่นกัน ยิ่งเมื่อสถานการณ์โควิดได้เปลี่ยนความคิดของธุรกิจภาพยนตร์ไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่อง theatrical window (ระยะเวลาที่หนังควรฉายในโรงก่อนออกแผ่นหรือปล่อยสตรีม) ที่น่าจะเข้าใกล้จุดลงตัวระหว่างทั้งสองฝ่ายมากกว่าแต่ก่อน
ไล่เลี่ยกับแถลงการณ์ของรัฐมนตรีวัฒนธรรมอิตาลี เทศกาลภาพยนตร์โลการ์โน (Locarno Film Festival) ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนกฎหมาย Lex Netflix ซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์ได้ยื่นขอแก้ไขกฎหมายภาพยนตร์ของสวิตเซอร์แลนด์ (The Federal Act on Film Production and Film Culture) ซึ่งสาระสำคัญคือให้สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่ทำธุรกิจในสวิตเซอร์แลนด์ ต้องเสียภาษีเพื่อนำเงินไปหมุนเวียนเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศ
หลังจากนั้น ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา คิวเรเตอร์และนักอนุรักษ์ภาพยนตร์ โรส โรก (Rose Roque) ได้จัดโปรแกรมหนังสั้นการเมืองฟิลิปปินส์จากช่วงต้นทศวรรษ 1980 ชื่อ Daluyong: Political Filmmaking in a Period of Social Unrest Redux เพื่อช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนนี้อีกแรง เพราะภาพยนตร์เหล่านี้คือภาพแทนของการใช้หนังเพื่อต่อสู้กับการโฆษณาชวนเชื่อและสื่อกระแสหลักของฟิลิปปินส์ภายใต้อำนาจรัฐบาลมาร์กอสในขณะนั้น
Sydney Morning Herald รายงานว่าสตูดิโอขนาด 3700 ตารางเมตร มูลค่า 46 ล้านเหรียญฯ แห่งใหม่เพิ่งเปิดใช้งานไปเมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเปิดประเดิมด้วยหนังชีวประวัติโรบิน วิลเลี่ยมส์ เรื่อง A Better Man พร้อมนำเสนอเป็นนัยว่าสถานการณ์อันคึกคักในขณะนี้ คือดอกผลที่เกินคาดของการลงทุนสร้างสถานที่ถ่ายทำเพื่อดึงดูดโปรดักชั่น หลังอดีตผู้บริหาร Universal ใช้เวลาเกินทศวรรษกว่าจะชักจูงให้ออสเตรเลียกับรัฐวิกตอเรียคล้อยตาม – จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าการลงทุนด้านนี้จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินเข้าประเทศได้ราว 200 ล้านเหรียญฯ ต่อปี แต่ขณะนี้แค่ La Brea (118 ล้าน) กับ Metropolis (188 ล้าน) ก็ทะลุเป้าไปไกลแล้ว
Metropolis (ซึ่งกำลังรอต่อคิวใช้พื้นที่ถัดจาก A Better Man) อาจใช้เงินลงทุนด้าน LED volumes เพิ่มอีกราว 60 ล้านเหรียญฯ ซึ่งได้รับเงินรัฐสนับสนุน 12.5 ล้านเหรียญฯ และรัฐวิกตอเรียยังลงทุนพัฒนาบุคลากรเพิ่มอีก 5 ล้านเหรียญฯ ผ่านมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จักของนักดูหนังทั่วโลกผ่านความโด่งดังของซีรี่ส์ The Mandalorian (2019-ปัจจุบัน) และหนังมาร์เวลในอนาคตอย่าง Ant-Man and the Wasp: Quantumania กับ Thor: Love and Thunder
จากรายชื่อดังกล่าว ภาพลักษณ์ของเทคโนโลยี LED volumes หรือการใช้จอดิจิตัลขนาดยักษ์เพื่อฉายภาพเทคนิคพิเศษที่สมจริงขึ้นเป็นฉากหลังของนักแสดงระหว่างถ่ายทำ (เพื่อเสริมหรือทดแทนการใช้ green screen เพื่อทำซีจีภายหลัง) อาจยังผูกโยงอยู่กับหนังหรือซีรี่ส์บล็อกบัสเตอร์ทุนสูงที่เต็มไปด้วยสเปเชี่ยลเอฟเฟกต์ แต่ทั้งออสเตรเลียกับรัฐวิกตอเรียก็มองการลงทุนนี้ในระยะยาว เพราะการติดตั้งเทคโนโลยีราคาแพงครั้งนี้ไม่ได้ทำครั้งเดียวจบที่ Metropolis หรือแค่จนหมดสัญญากับ NBCUniversal แต่ยังสามารถใช้งานต่อกับโปรดักชั่นอื่นที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ด้วยเล็งเห็นว่าหลังจากนี้ LED volumes จะเป็นที่นิยมมากขึ้น แม้กระทั่งกับหนังหรือซีรี่ส์ที่ไม่ได้ลงทุนระดับบล็อกบัสเตอร์
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติธรรมศาลา (Dharamsala International Film Festival – DIFF) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 โดยสองคนทำหนังคู่ชีวิต ริตู ซาริน (Ritu Sarin) และ เทนซิง โซนัม (Tenzing Sonam) เพื่อเปิดโลกภาพยนตร์ทางเลือกให้ชุมชนผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นชาวทิเบตในเมือง และปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในฐานะเทศกาลหนังอิสระชั้นนำอีกแห่งของอินเดีย (คำขวัญเทศกาลคือ bringing independent cinema to the mountains)
หลังต้องปรับทิศทางแบบเร่งด่วนช่วงล็อกดาวน์โควิดเมื่อปี 2020 จนถึงตอนนี้ทางเทศกาลก็ยังคงแอ็กทีฟกับการฉายหนังออนไลน์อย่างต่อเนื่อง (ภายใต้แนวคิด streaming independent cinema from the mountains ที่ล้อกับคำขวัญเทศกาล) ผ่านแพลตฟอร์ม DIFF Virtual Viewing Room ที่จะมีโปรแกรมหนังหมุนเวียนไปตลอดทั้งปี ด้วยตัวเลือกที่แปลกแตกต่างและหาดูยากเมื่อเทียบกับบรรดาเทศกาลหนังชั้นนำไม่ว่าจะในยุโรปหรือเอเชียด้วยกัน
โปรแกรมออนไลน์ล่าสุดของเทศกาลฯ คือ A Small Atlas of Chinese Independent Documentaries ซึ่งรวมสารคดีจีนหาดูยากไว้ถึง 6 เรื่อง จากการคัดเลือกของ จูอื้อคุน (Zhu Rikun) คนทำหนังสารคดีและโปรดิวเซอร์ของสารคดีความยาวหกชั่วโมงเรื่องสำคัญอย่าง Karamay (2010) – หนังกลุ่มนี้ไม่ใช่แค่หาดูยาก แต่อาจถึงขั้นไม่เป็นที่รู้จักมาก่อนสำหรับคนดูหนังส่วนใหญ่ ซึ่งคิวเรเตอร์ได้ทิ้งท้ายไว้ว่าเขาตั้งใจนำเสนอทางเลือก ก่อนทางเลือกเหล่านี้จะถูกลืม
สารคดีจีนทั้ง 6 เรื่อง ได้แก่
Chronicle of Longwang: A Year in the Life of a Chinese Village (หลี่อี้ฟาน – Li Yifan, 2007, 92 นาที) : ภาพเหตุการณ์ชีวิตประจำวันตลอดหนึ่งปีในหมู่บ้านหลงหวัง ชีวิตที่ไม่มีทุกข์ถาโถม ไม่มีสุขล้นเหลือ ทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วสลายไปในสายลม เป็นภาพรวมไร้เส้นเรื่องของหมู่บ้านธรรมดาในจีนแผ่นดินใหญ่ที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร
We Are the … of Communism (กุ้ยจื่อเอิน – Cui Zi’en, 2007, 94 นาที) : การดิ้นรนต่อสู้ของโรงเรียนสำหรับลูกแรงงานแห่งหนึ่งในปักกิ่ง หลังถูกทางการสั่งปิดอย่างไม่มีสาเหตุ ครูกับนักเรียนต้องย้ายที่เรียนไปเรื่อยๆ จากตึกเรียนเก่า ตึกโรงงานร้าง ตั้งโต๊ะริมถนน ไปจนถึงหอพักของครู และนั่งเรียนอัดกันในรถตู้คันเล็ก
Listening to Third Grandmother’s Stories (เหวินฮุ่ย – Wen Hui, 2011, 71 นาที) : ผู้กำกับหญิงบันทึกและตีความเรื่องราวทั้งชีวิตของเหล่าอี๊ที่เธอเพิ่งได้พบเป็นครั้งแรกในวัยกลางคน (ส่วนเหล่าอี๊อายุแปดสิบกว่าแล้ว) เรื่องราวที่ราวกับว่าเหล่าอี๊รอให้เธอมาบันทึกไว้ ชีวิตของผู้หญิงที่แปรเปลี่ยนพร้อมความเปลี่ยนแปลงของประเทศ
One Day in May (หม่าจ้านตง – Ma Zhandong, 2011, 145 นาที) : ภาพชีวิตของครอบครัวหนึ่งตลอดเวลากว่าปีครึ่ง หลังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเสฉวนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2008 หนังส่องลงไปให้เห็นว่าความทุกข์ ความทรงจำ การต่อสู้ยืนหยัดของครอบครัวนี้ เป็นสิ่งเดียวกับที่รัฐบาลจีนมองเห็นและให้ค่ามากน้อยแค่ไหน
Ants Dynamics (สวีรั่วเถา และ หวังฉืออู่ – Xu Ruotao & Wang Chuyu, 2020, 120 นาที) : ศิลปินจากปักกิ่งกลับบ้านเกิด คิดการแสดงและร่วมประท้วงเรียกร้องสิทธิ์กับกลุ่มคนงานของบริษัท China Telecom แต่ประท้วงไปได้สักพัก ศิลปินจากเมืองหลวงก็เริ่มมองเห็นว่าความจริงเบื้องหลังมันซับซ้อนกว่าที่คาด
One Says No (จ้าวต้าหยง – Zhao Dayong, 2020, 97 นาที) : เมื่อรัฐบาลรื้อไล่ที่หมู่บ้านเก่าในกวางโจวเพื่อสร้างเมืองใหม่ อาจงตัดสินใจยืนหยัดสู้ทุกวิถีทาง แม้อาคารโดยรอบจะถูกทุบจนเหลือบ้านเขาแค่หลังเดียว ถูกรัฐตัดน้ำตัดไฟ จ้างนักเลงให้มาคุกคามทำร้าย ถึงขั้นต้องติดระเบิดไว้ทุกทางเข้าออกของบ้านเพื่อป้องกันภัย
Film Club ขอไล่เรียงสรุปรายละเอียดความเป็นมาของคดีนี้ รวมถึงตัวละครที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อถกเถียงที่ทั้งน่าสนใจและน่ากังวลเมื่อพิจารณาในประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ กับเส้นเรื่องซึ่งทำให้ฟาร์ฮาดีมีสถานะราวกับเป็นตัวละครในหนังของเขาเองที่ต้องเผชิญหน้ากับจุดพลิกผันและข้อถกเถียงด้านจริยธรรมที่ยากจะชี้นิ้วตัดสินผิดถูก
ไม่นานหลัง A Hero เปิดตัวที่เทศกาลหนังเมืองคานส์ (และชนะรางวัลกรังด์ปรีซ์) อาซาเดห์ มาซิห์ซาเดห์ (Azadeh Masihzadeh) ได้กล่าวหาฟาร์ฮาดีออกสื่อว่าขโมยไอเดียและเนื้อหาไปจากสารคดีสั้นเรื่อง All Winners, All Losers (2018) ที่เธอกำกับในเวิร์กช็อปสารคดีที่เขาสอน เมื่อถูกกล่าวหาด้วยข้อหาร้ายแรง ฟาร์ฮาดีจึงฟ้องเธอข้อหาหมิ่นประมาท (ลำดับเหตุการณ์ว่าใครฟ้องใครก่อน สื่อภาษาอังกฤษยังเขียนขัดแย้งกันอยู่) และไม่ได้หยุดอยู่แค่สองคดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เมื่อโมฮัมหมัด เรซา โชกรี (Mohammad Reza Shokri) นักโทษคดีหนี้สินผู้เก็บทองแล้วส่งคืนขณะลาพักโทษที่เป็นต้นเรื่องของหนังทั้งคู่ ก็ฟ้องฟาร์ฮาดีด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลว่าตัวละครใน A Hero ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
ในขณะที่เพื่อนกลุ่มหนึ่งได้ให้การเป็นพยานสนับสนุนมาซิห์ซาเดห์ นักศึกษาอีกหลายคนที่เข้าร่วมเวิร์กช็อปเดียวกันก็ยื่นคำให้การเพื่อสนับสนุนฟาร์ฮาดีในคดีเดียวกัน (ยังไม่ปรากฏว่ามีสื่อภาษาอังกฤษได้พูดคุยกับนักศึกษากลุ่มนี้) ซึ่งสำหรับมาซิห์ซาเดห์แล้ว พวกเขาอาจต้องทำไปเพราะแรงกดดันแบบเดียวกับที่เธออ้างว่าประสบพบเจอมาเอง – เธอเล่ากับ The Hollywood Reporter ว่าหลัง A Hero เริ่มถ่ายทำในปี 2019 ฟาร์ฮาดีได้เรียกเธอไปพบที่ห้องทำงาน ให้เซ็นเอกสารเพื่อมอบสิทธิ์ต่อตัวเรื่องและยืนยันว่าไอเดียทั้งหมดของ All Winners, All Losers นั้นเริ่มต้นจากเขา ซึ่งเธอยอมเซ็นเพราะเกรงสถานะกับอำนาจของฟาร์ฮาดี
Portrait of a Lady on Fire เป็นการฉายหนังอิสระเรื่องแรก จัดขึ้นที่ Makham Cafe & Gallery สถานที่นี้เป็นที่สำหรับคนชอบงานศิลปะ และคนทำงานศิลปะจะมานั่งพบปะพูดคุยกัน เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ มีงานศิลปะบนผืนผ้าใบแคนวาสมากมายภายในร้าน เราเลือกสถานที่นี้เพราะคงไม่มีที่ไหนให้ความรู้สึกถึงคุณค่างานศิลปะเหมือนที่มาเรียนมอบให้เอลูอิสได้เท่าที่นี่อีกแล้ว
Drive my Car จัดขึ้นที่โรงภาพยนตร์อโยธยาเธียเตอร์ ณ ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สถานที่แห่งนี้คือ 1 ในจุดหมายของการจัดฉายภาพยนตร์ของคนอยุธยาที่ผมมองเอาไว้ องค์ประกอบความเป็นเธียเตอร์ของที่นี่มีความเหมาะสมมากที่สุด นี่คือโรงหนังขนาดไม่ใหญ่ไปไม่เล็กไป ที่ซ่อนตัวอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงหนังที่คนอยุธยาเองก็แทบไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอยู่ ซึ่ง Drive my Car ก็เป็นหนังที่จำเป็นต้องดูในสถานที่แบบนี้ (ความจริงแล้วหนังทุกเรื่องก็ควรอยู่ในสถานที่แบบนี้เช่นกัน) ที่นี่พร้อมและเหมาะสมที่สุดสำหรับการจัดฉายภาพยนตร์
Wheel of Fortune and Fantasy, Drive my Car จัดขึ้นที่ศูนย์การเรียนรู้ Toyota เมืองสีเขียว ครั้งนี้เลือกจัดที่นี่เพราะอยากทดลองจัดฉายแบบโอเพ่น แล้วด้วยเป็นการฉายหนังสัญชาติญี่ปุ่น เรามองว่าที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้มีหน้าตาคล้ายญี่ปุ่นอยู่พอสมควร จึงเลือกใช้สถานที่นี้ในการจัดฉายภาพยนตร์
หากใน Fast and Feel Love เมื่อเราถอดโครงสร้างในทำนองเดียวกันก็คงเล่าใหม่ได้ว่านี่คือเรื่องของคนที่มีพลังพิเศษในการเรียงแก้ว และเพื่อจะทำให้พลังพิเศษนั้นเข้มข้น เขาต้องไม่ฟังไม่ว่าจะเป็นเสียงของใคร แม้แต่ความทุกข์ในใจตน จากนั้นเมื่อไม่มีอะไรเหลือให้ฟังเขาต้องเผชิญหน้ากับมวลความทุกข์ โลกที่ล่มสลาย โดยทั้งหมดคือความทุกข์และโลกภายในของเขาเอง โลกที่ทุนนิยมกำหนดให้เขาเป็นผู้เล่น โดยมีธานอสที่รอดีดนิ้วเมื่อเขาร่วงหล่นจากสิ่งที่ทุนกำหนด
อำนาจอธิปัตย์ใน “รักที่ขอนแก่น” ถูกนำเสนอผ่านท้องฟ้า สีฟ้า และวิญญาณกษัตริย์ที่ดูดพลังของทหารไปใช้ในการต่อสู้กับศัตรู เป็นที่รู้กันดีว่า สถาบันกษัตริย์ไทยถูกฟื้นฟูกลับมาอีกครั้งหลังการอภิวัฒน์สยาม (ค.ศ. 1932) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1957 ซึ่งเป็นผลจากการร่วมมือกันระหว่างสหรัฐฯ สถาบันกษัตริย์ และกองทัพนำโดยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (รูปภาพในโรงอาหารในโรงเรียน) ชนชั้นนำไทยมองว่าแนวคิดคอมมิวนิสต์ไม่อาจไปได้กับวิถีไทย พวกเขามองว่าสังคมไทยมีธรรมเนียมที่ยึดติดกับสถาบันกษัตริย์และศาสนาพุทธSutayut Osornprasop (2007). Amidst the Heat of the Cold War in Asia: Thailand and the American Secret War in Indochina (1960 –74)รัฐบาลอเมริกาภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์อนุมัติแผนงานต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ด้วยสงครามจิตวิทยาโดยการสร้างภาพลักษณ์ให้สถาบันกษัตริย์กลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งชาติ” อีกทั้งรัฐไทยกลายเป็นฐานทัพให้รัฐบาลอเมริกันแทรกแซงกิจการภายในของประเทศแถบอินโดจีนณัฐพล ใจจริง (2552). การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรฐอเมริกา (พ.ศ.2491-2500)
ตลอดช่วงที่สฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี ความด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจของอีสานถูกมองว่าเป็นปัญหาซึ่งความไม่พอใจของประชาชนอาจนำไปสู่การซ่องสุมกำลังคอมมิวนิสต์ แผนพัฒนาอีสานจึงถูกแยกออกมาเฉพาะในแผนการพัฒนาชาติไทยระยะห้าปีซึ่งได้รับคำแนะนำจากธนาคารโลกในปี ค.ศ. 1962Maurizio Peleggi (2016). Excavating Southeast Asia’s prehistory in the Cold War: American archaeology in neocolonial Thailand โดยที่แผนพัฒนาอีสานถูกร่างครั้งแรกที่จังหวัดขอนแก่นเสนาะ อูนากูล (2564). งานสัมมนาเรื่องระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC – Bioeconomy) : ศักยภาพโอกาสและความท้าทาย ดังนั้นแล้วจังหวัดขอนแก่นนอกจากจะเป็นพื้นที่ที่อภิชาติพงศ์เติบโตขึ้นมาและความทรงจำของเขาค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นมา ขอนแก่นยังเป็นพื้นของความขัดแย้ง ช่วงชิงและการยึดครองจากรัฐไทย
ท้องฟ้าเป็นสิ่งที่อภิชาติพงศ์หันมาตั้งคำถาม ในภาพยนตร์เราเห็นตัวละครหลายตัวสวมเสื้อผ้าสีฟ้า ไปจนถึงฉากพารามีเซียมลอยเด่นบนท้องฟ้า การตั้งคำถามกับฟ้าดูจะเป็นสิ่งที่น่าถกเถียง เพราะกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดตระกูลภาษาขร้า-ไทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรรพบุรุษคนสยามและลาวต่างมีความเชื่อเรื่องผีฟ้าผีแถนซึ่งมีมาก่อนการรับเอาศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธจากอินเดียผ่านชาวเขมรและมอญPattana Kitiarsa (2005). Beyond Syncretism: Hybridization of Popular Religion in Contemporary Thailand. Journal of Southeast Asian Studies / Volume 36 / Issue 03 / October 2005, pp 461 – 487 DOI: 10.1017/S0022463405000251, Published online: 08 September 2005 ต่างจากผู้ใช้ภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน (ได้แก่ ชาวเล ชาวมอแกนทางใต้ของไทย) ซึ่งเดินทางมาจากไต้หวันราว 4,000 ปีที่แล้ว พวกเขายังคงบูชาผีบรรพบุรุษเป็นสำคัญ แม้ว่าปัจจุบันบางส่วนจะหันไปนับถือศาสนาอิสลาม
เช่นเดียวกับ Bodo ที่ในบางครั้งก็เล่าเรื่องรักสามเส้าระหว่างอากิ ยิซาน นายทหารที่หนีออกจากค่าย และกังฮัว หญิงสาวที่ยอมแลกเรือนร่างเพื่อที่จะได้เจอพ่อผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกทหารก๊กมินตั๋งจับตัวไปขังตั้งแต่กังฮัวยังเด็ก บางครั้ง Bodo ก็ฉายให้เห็นภาพบ้านเรือนของชนพื้นเมืองผู้ใช้ภาษาตระกูลออสโตรนีเชียน บ้านร้างที่ว่างเปล่าผุพัง บ้านของชนพื้นเมืองที่ถูกไล่ที่และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเหี้ยมโหดในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว (White Terror)
ภาพยนตร์ Bodo ดูจะเป็นปฏิกิริยาตอบโต้หลังสิ้นสุดกฎอัยการศึกที่ควบคุมไต้หวันตั้งแต่ ค.ศ. 1949 – 1987 กฎอัยการศึกเริ่มต้นไม่นานหลังจากที่เจียง ไคเชกหนีถอยร่นมาอยู่ที่ไต้หวัน ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงปะทะระหว่างคนไต้หวันและทหารพรรคก๊กมินตั๋ง โดยการสังหารหมู่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ถือเป็นจุดกำเนิดของความน่าสะพรึงสีขาว เหตุการณ์วันนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตซึ่งมีการคาดการประมาณว่าอยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 28,000 คนAndrew Alan Johnson (2020). Mekong Dreaming: Life and Death Along a Changing River
เป็นที่ทราบกันดีว่าภายใต้ช่วงความน่าสะพรึงสีขาวและการดำรงตำแหน่งประธานของพรรคกั๋วหมินตั่งได้รับความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐบาลสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษที่ 1950 ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน (Harry S. Truman) ประกาศว่ารัฐบาลสหรัฐจะไม่ให้ความช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำทางทหารแก่จีนในการรุกรานไต้หวัน ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ในเดือนมิถุนายน 1950 รัฐบาลสหรัฐจึงถือว่าเป็นก้าวแรกที่ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามโลก ประธานาธิบดีทรูแมนจึงออกคำสั่งให้กองเรือเข้าคุ้มครองช่องแคบไต้หวัน ซึ่งโดยนัยคือการสนับสนุนระบอบการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง สหรัฐได้ให้การ ช่วยเหลือทางทหารแก่ก๊กมินตั๋ง ผ่านทางสำนักข่าวกรองกลางหรือ CIA (Central Intelligence Agency) จากปี ค.ศ.1951 – 1978 สหรัฐให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ไต้หวันในหลายด้าน รวมทั้งผ่านหน่วยงานที่ปรึกษาทางทหารคือ “Military Advisory Assistance Group” (MAAG) ที่มีสำนักงานใหญ่ในไทเปForsythe, Michael (July 14, 2015). “Taiwan Turns Light on 1947 Slaughter by Chiang Kai-shek’s Troops”. The New York Times.
Bodo ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของเกาะไต้หวันที่แปลว่าเกาะแห่งขุมทรัพย์ อีกชื่อหนึ่งคือเกาะฟอร์โมซาซึ่งถูกตั้งโดยชาวโปรตุเกสตั้งแต่ทศวรรษ 1500 เกาะไต้หวันกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่อำนาจโลกตะวันตกและตะวันออกแย่งมาราวๆ 400 ปี ซึ่งคนพื้นเมืองดั้งเดิมได้แก่ กลุ่มคนที่พูดตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนซึ่งอาจเดินทางถึงทางเหนือของเกาะไต้หวันราว 6,000 ปีที่แล้ว ก่อนจะกระจายไปทั่วเกาะถึงตอนใต้ และออกจากไต้หวันเมื่อราว 4,000 ปีที่แล้ว ต่อมาจึงเดินทางมาถึงหมู่เกาะทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Albert Min-Shan Ko (2014). Early Austronesians: Into and Out Of Taiwan. The American Journal of Human Genetics 94, 426–436, March 6, 2014 ได้แก่ ทางตอนใต้ของรัฐไทย
แม้ว่าเกาะไต้หวันจะผ่านพ้นกฎอัยการศึกมาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ฝันร้ายจากเหตุการณ์ฆ่าล้างคอมมิวนิสต์ยังไม่เลือนหาย ประวัติศาสตร์ไต้หวันกับความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านเป็นเรื่องที่ซับซ้อน การพยายามอย่างไม่เต็มใจของพรรคกั๋วหมินตั่งผ่านการ “ซื้อความสงบ” ด้วยการเยียวยาให้เงินเหยื่อของผู้ได้รับผลกระทบไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะพวกเขาต้องการมากกว่าเพียงแค่ประชาธิปไตยที่ให้ประชาชนได้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนและเงินชดเชย พวกเขาต้องการได้รับการยอมรับผิดและการดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างจริงจัง รวมไปถึงการยุติการรวบอำนาจของพรรคก๊กมินตั๋ง คนไต้หวันสนใจถึงปัจจุบัน (นึกถึงฉากใน “รักที่ขอนแก่น” เมื่อเก่งพยายามจะดูอดีตชาติของทหารที่นอนหลับ แต่ภรรยาของเขาบอกกับเก่งว่า “ไปดูอดีตทำไม ดูปัจจุบันสิ”) พวกเขาเป็นห่วงครอบครัว การมีงานทำและมีเงินใช้จ่าย อดีตคืออดีต และที่ผ่านมาผู้นำของพรรคก๊กมินตั๋งก็ทำเพียงแค่ออกมาขอโทษอดีตและให้เงินเยียวยาซึ่งนั่นไม่เพียงพอเพราะเป็นเพียงแค่การเลื่อนเวลาความออกไปเท่านั้น ไต้หวันจะไม่อาจเดินหน้า การกระทำของพรรคก๊กมินตั๋งจะยังหลอกหลอนAlbert Min-Shan Ko (2014). Early Austronesians: Into and Out Of Taiwan. The American Journal of Human Genetics 94, 426–436, March 6, 2014 หากไม่ทบทวนอดีตอย่างจริงจังผ่านความพยายามทางกฎหมายในการสร้างความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
Film Club : อย่างตั๊กเอง หลังจากจบมัธยมปลาย ก็ออกมาจากถิ่นอีสาน มาเรียนนอกพื้นที่เลย พอได้กลับไปเจอวิถีชีวิตวัยรุ่น หลังจากผ่านไปหลายปี แตกต่างจากรุ่นเรามากไหม
Film Club : หลังเรียนจบ จนได้มาทำงานอยู่เบื้องหลังทั้งวงการหนังอิสระ หรือซีรีส์ เรามีความหวังไหมว่า จะพาตัวเองให้ได้มาทำงานของตัวเราจริงๆ ก่อนที่พี่อ้วนจะมาชวนทำหนัง ‘หน่าฮ่าน’
Film Club : ซึ่งปัจจัยที่เราควบคุมไม่ได้ ตอนที่ฉาย ‘หน่าฮ่าน’ ในขณะที่พี่อ้วนทำงานใน BIOSCOPE ก็เป็นสิ่งที่รับรู้และเห็นมาโดยตลอด มาเจอกับตัวเองรู้สึกยังไง
Film Club : กระบวนการทำ ‘หน่าฮ่าน เดอะซีรีส์’ กับตัวตั๊กและพี่อ้วนที่ต่างก็ ทำงานในวงการทีวี ได้เห็นและรับรู้กระบวนการผลิตซีรีส์มาก่อน คิดว่าวงการซีรีส์ไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร
ฉันทนา : ตอนที่เริ่มมาแชร์ไอเดียกันว่าจะเล่าประเด็นนี้ เราก็รู้สึกว่าต้องเล่ามันให้ได้ เพราะมันคือจุดเริ่มต้นของทั้งมวลในตอนนี้ มันเหมือน big bang theory ของสังคมไทยเลยนะ ถ้าสมมติว่าพวกเขาสู้แล้วชนะ มันก็จะเป็น ‘หน่าฮ่าน’ ในอีกรูปแบบนึง
Film Club : รู้สึกยังไงที่เมื่อเราสร้างตัวละคร ยุพิน ให้เป็นลูกหลานของคนเสื้อแดง แล้วกลายเป็นว่าผ่านไปสิบกว่าปี ทำไมชีวิตยุพินมันยังเหมือนเดิม เหมือนคนรุ่นพ่อรุ่นแม่
Film Club : ทั้งที่ตามหลักการแล้ว สาธารณูปโภคพวกนี้เป็นสิ่งพื้นฐานที่รัฐต้องมอบให้อยู่แล้ว แต่ทำไมมันต้องมีเงื่อนไขไปผูกโยงกับการเลือกผู้แทนจากพรรคใดๆ ด้วยละ
Film Club : พอพี่อ้วนกับตั๊กก็เคยทำงานในวงการทีวีมาก่อน มันเหมือนจะมีโหมดการเซ็นเซอร์ตัวเองโดยอัตโนมัติอยู่ พอเราเขียนไปเราบลุ้นไหมว่า สุดท้ายมันจะโดนตัดออกหรือเซ็นเซอร์ก่อนออกอากาศไหม
Film Club : จุดเด่นอีกอย่างของซีรีส์คือ จากเริ่มต้นที่เล่าเรื่องสนุกสนานรื่นเริง มันกลับค่อยๆ เผยให้เห็นความเจ็บปวดของตัวละครในอีพีหลักๆ มากขึ้นเรื่อยๆ
Film Club : เราดูที่พี่อ้วนไปสัมภาษณ์กับพร้อม ที่ The Matter มีพูดเรื่องโปสเตอร์หลัก ที่แบบเห็นครั้งแรกแล้วร้องไห้เลย สำหรับทั้งสองคนคิดว่าเราได้ถ่ายทอดความเจ็บปวดของวัยรุ่นอีสานไปสู่ผู้ชมได้สำเร็จไหม
เวลาผ่านไปแล้วเกินสัปดาห์หลัง วิลล์ สมิธ ยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกของ The Academy of Motion Picture Arts and Sciences (AMPAS) หลังฉากตบสะเทือนโลกบนเวทีออสการ์ พร้อมๆ กับที่บรรดาสตูดิโอได้เริ่มชะลอหรือหยุดโปรเจกต์ที่เขามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง (ตั้งแต่หนัง Fast and Loose ของ Netflix, ซีรี่ส์ Emancipation ของ Apple TV Plus ไปจนถึง Bad Boys 4) – ล่าสุดทางอะคาเดมี่เพิ่งประกาศโทษแบนสำหรับเขาอย่างเป็นทางการ
บทลงโทษสำหรับเหตุการณ์นี้คือห้าม วิลล์ สมิธ เข้าร่วมงานประกาศผลรางวัลออสการ์ หรืออีเวนต์กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่อะคาเดมี่เป็นเจ้าภาพหรือผู้จัด เป็นเวลาทั้งหมด 10 ปี อย่างไรก็ดี ในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเขายังมีสิทธิ์เข้าชิงหรือชนะรางวัลระหว่างสิบปีนั้นหรือไม่ และไม่ได้กล่าวถึงการเพิกถอนหรือยกเลิกรางวัลที่เขาได้รับจาก King Richard (2021) แต่ได้กล่าวขออภัยที่ทางอะคาเดมี่รับมือสถานการณ์ในวันถ่ายทอดสดได้ไม่ดีพอ และปล่อยให้สมิธขึ้นรับรางวัลหลังเหตุการณ์
ไม่แน่ว่าฉาก The Flash เข้าสู่ Speed Force ที่คว้าอันดับหนึ่งรางวัลสุดอิหยังวะในคืนประกาศผลออสการ์ อาจเป็นการปรากฏตัวครั้งท้ายๆ ในจักรวาลดีซีของ เอซร่า มิลเลอร์ หลังซีรี่ส์พฤติกรรมสติหลุดต่อเนื่องที่อิหยังวะกว่าช่วง Cheer-worthy Moment ไปหลายช่วงตัว
หลังถูกตำรวจฮาวายจับที่บาร์แห่งหนึ่งเพราะก่อความไม่สงบในร้านและได้ประกันตัวเพียงข้ามวัน เจ้าของบ้านหลังหนึ่งก็แจ้งว่ามิลเลอร์ได้บุกเข้าห้องนอนของพวกเขา พูดจาข่มขู่ประทุษร้าย และหยิบพาสปอร์ตกับกระเป๋าเงินของพวกเขาไปด้วย จนขณะนี้มีรายงานว่าทาง Warner Bros. และผู้บริหารของ DC ได้เรียกประชุมด่วนเพื่อหารือเรื่องมิลเลอร์ก่อนเปิดตัวหนัง The Flash ในเดือนมิถุนายนปี 2023 – แหล่งข่าวหนึ่งบอกว่ามติที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ให้หยุดทุกโปรเจกต์ที่มิลเลอร์มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการปรากฏตัวในหนังหรือซีรี่ส์จักรวาลดีซีทั้งหมด แต่อีกแหล่งข่าวให้ข้อมูลแย้งกันว่าไม่มีการประชุมที่ว่านี้เกิดขึ้น
พฤติกรรมในช่วงหลังของมิลเลอร์นั้นเต็มไปด้วยข่าวฉาว ตั้งแต่การพูดหนุนสิทธิในการซื้อและถือครองอาวุธปืนเมื่อปี 2018 มีคลิปไวรัลทำร้ายผู้หญิงในบาร์ที่ไอซ์แลนด์เมื่อปี 2020 และอัดคลิปไล่สมาชิกกลุ่ม Ku Klux Klan ให้ไปตายลงอินสตาแกรมเมื่อเดือนมกราคม (ลบไปแล้ว) รวมถึงอาการสติหลุด ระเบิดอารมณ์หลายต่อหลายครั้งระหว่างถ่ายทำ The Flash ช่วงปี 2021
ไม่ว่าผลผู้ชนะรางวัลออสการ์ในภาพรวมของแต่ละปีจะเป็นที่พอใจ เซอร์ไพรส์ หรือตามโผจนชวนหลับ แต่สาขาที่ถูกวิจารณ์เสมอมาว่าก้าวไม่ทันความเปลี่ยนแปลงก็คือภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม (Best Animated Feature) ที่ผลรางวัลสะท้อนอาการแช่แข็งของรสนิยมกับทัศนคติ จนหลายเสียงเรียกชื่อเล่นว่ารางวัลดิสนีย์-พิกซาร์ เพราะนับจากปี 2010 ถึงตอนนี้ มีเพียงสองครั้งเท่านั้นที่ผลงานนอกสังกัดดิสนีย์หรือพิกซาร์เป็นผู้ชนะ คือ Rango (2011) และ Spider-Man: Into the Spiderverse (2018)
การตีความรางวัลเชื่อมโยงกับทัศนคติของฮอลลีวูดก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่ตอกย้ำให้ยิ่งชัดคือการที่สาขาแอนิเมชันสั้นยอดเยี่ยม (Best Animated Short Film) คือหนึ่งในแปดสาขาที่ถูกตัดออกจากการถ่ายทอดสด และสคริปต์แนะนำผู้เข้าชิงแอนิเมชันยอดเยี่ยมบนเวทีที่กล่าวโดยสาม “เจ้าหญิงดิสนีย์” เวอร์ชั่นคนแสดงคือ ลิลี่ เจมส์ (Lily James / Cinderella) เนโอมิ สก็อตต์ (Naomi Scott / Aladdin) และ ฮัลลี่ เบลีย์ (Halle Bailey / The Little Mermaid) ซึ่งเนื้อความเขียนว่าภาพยนตร์แอนิเมชันหลายเรื่องเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ครั้งสำคัญในวัยเยาว์ โดยที่ “เด็กมากมายดูหนังเหล่านี้ซ้ำแล้วซ้ำอีก และซ้ำแล้วซ้ำอีก และซ้ำแล้วซ้ำอีก… ฉันว่าพ่อแม่ผู้ใหญ่ที่นั่งดูอยู่คงเข้าใจดีว่าเรากำลังพูดถึงอะไรอยู่”
The Mitchells vs the Machines
ฟิล ลอร์ด และ คริสโตเฟอร์ มิลเลอร์ ผู้กำกับแอนิเมชัน Cloudy with a Chance of Meatballs (2009) กับแฟรนไชส์ The LEGO Movie (2014-2019) และโปรดิวเซอร์ของ Into the Spider-Verse กับ The Mitchells vs the Machines (2021) ที่ทั้งชนะและเข้าชิงออสการ์สาขานี้ ได้เผยแพร่บทความตอบโต้ทัศนคติดังกล่าวใน Variety เมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากที่ลอร์ดได้ทวิตถึงมุขนี้ไปแล้วก่อนหน้าว่า “การบอกว่าแอนิเมชันเป็นหนังที่เด็กดูแต่ผู้ใหญ่ต้องฝืนทนนี่โคตรคูลสุดๆ ไปเลย”
เช่นเดียวกับซีเนไฟล์ทางบ้านมากมายที่มีปัญหากับวิธีคิดที่ฮอลลีวูดมีต่อสาขานี้ ลอร์ดกับมิลเลอร์ยกตัวอย่างแบบเร็วๆ ง่ายๆ ว่าแอนิเมชันไม่ใช่แค่เรื่องของเด็กอย่างไร “Encanto เชื่อมโยงกับคนดูผู้ใหญ่ได้ลึกซึ้งเมื่อเล่าเรื่องบาดแผลของครอบครัวที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น สารคดีแอนิเมชันที่เล่าเรื่องผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันได้บีบหัวใจอย่าง Flee ก็ไม่ใช่หนังสำหรับเด็กตั้งแต่ต้น เช่นเดียวกับผู้เข้าชิงในอดีตทั้ง I Lost My Body, Waltz with Bashir, Persepolis และอีกมากมาย”
และในขณะที่ออสการ์ปีนี้มีโมเมนต์ย้อนรำลึกและฉลองครบรอบให้ทั้ง White Men Can’t Jump (1992) Pulp Fiction (1994) และ The Godfather (1972) ที่จริงฮอลลีวูดก็อาจร่วมเฉลิมฉลองให้ Spirited Away (2001) หรือกระทั่ง Beauty and the Beast (1991) ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่เข้าชิงออสการ์หนังยอดเยี่ยม ได้ในระดับทัดเทียมกัน
เพราะแอนิเมชันไม่ได้มีคุณค่าทัดเทียม “หนังจริงๆ” ได้แค่เพราะผลงานกระแสหลักจำนวนมากเป็นหนังฮิตทำเงิน หรือช่วยพัฒนาภาษาหนังและเทคนิควิทยาการด้านภาพยนตร์ แต่ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกันทั้งระบบต้องหยุดชะงักเพราะโควิด กองถ่าย “หนังคนแสดง” เดินหน้าต่อไม่ได้ เหล่าแอนิเมเตอร์คือคนกลุ่มแรกที่ต้อง work from home ทันที และมีส่วนสำคัญในการช่วยพยุงอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบในตอนนั้น
ขณะนี้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งที่กำลังร่วมยื่นข้อเรียกร้องต่อทั้งสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และโทรทัศน์ (Alliance of Motion Picture and Television Producers) สมาคมวิชาชีพแอนิเมชัน (The Animation Guild) และสหภาพนักแสดง (SAG-AFTRA) เพื่อให้สตูดิโอจ่ายค่าแรง รับรู้คุณค่า และปฏิบัติต่อคนทำงานด้านแอนิเมชันอย่างเป็นธรรม โดยผู้อ่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ในแฮชแท็ก #NewDeal4Animation ซึ่งคลิปแนะนำผู้เข้าชิงออสการ์ของสามเจ้าหญิงดิสนีย์กำลังถูกเผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อเน้นย้ำและขับเคลื่อนการเรียกร้องครั้งนี้
ท่ามกลางเสียงอื้ออึงที่มาพร้อมมวลแห่งความสิ้นหวังว่า “ฮอลลีวูดตายแล้ว” หลังคืนประกาศผลรางวัลออสการ์ ทั้งด้วยความพยายามอันน่าสังเวชที่จะกอบกู้เรตติ้งการถ่ายทอดสดผ่านทีวี (ซึ่งล้มเหลวไม่เป็นท่า) และการหายสาบสูญไปจากบทสนทนาของหนังที่เป็นเสมือนภาพแทนความยิ่งใหญ่ของฮอลลีวูดอย่าง West Side Story (ซึ่งแต่ก่อนย่อมถูกพูดถึงมากกว่าแค่นักแสดงสมทบหญิง) แต่เลยพ้นไปจากฉาก “วิลล์ สมิธ” ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของอีโก้แบบฮอลลีวูดที่กดปุ่มทำลายตัวเอง กับเสียงที่อื้ออึงมาตั้งแต่ก่อนโลกนี้มีโควิดและสตรีมมิ่งยังเพิ่งเริ่มแผลงฤทธิ์ว่า “ภาพยนตร์กำลังจะตาย” กลับดูเหมือนว่ามีประกายความหวังกำลังส่องแสงรำไรอยู่เบื้องหลังความสำเร็จบนเวทีของ Summer of Soul (ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม) และ Drive My Car (ภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม)
เพราะคู่ขนานไปกับความสำเร็จที่สะท้อนเป็นตัวเลขทางธุรกิจของ Apple TV Plus หลังทุ่มสรรพกำลังผลักดัน CODA ไปถึงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, การฟุบตัวของธุรกิจโรงหนังที่เปิดช่องให้ดีลหรือโมเดลใหม่ๆ ในโลกของการจัดจำหน่ายขายสิทธิ์หนัง และความต่อเนื่องของ Netflix ที่ยังเป็นบ้านให้หลายโปรเจกต์ใหญ่ลงทุนสูงของเหล่าคนทำหนังออเตอร์ ซึ่งสะท้อนในทางหนึ่งว่าหนังเหล่านี้ยังมีคนดู (แม้หลายคนจะแซะว่า Netflix แค่อยาก “ประดับยศ”) ประกายความหวังดังกล่าวกำลังสะท้อนถึงความเป็นไปได้ทางธุรกิจภาพยนตร์ที่จะสร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างคนดูหนังยุคใหม่ หนังอาร์ตเฮาส์ สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม และสตูดิโอยักษ์ใหญ่
ชื่อที่มีบทบาทสำคัญในกรณีของ Summer of Soul คือ Onyx Collective หนึ่งในแผนกสตรีมมิ่งใต้ร่มของอาณาจักรดิสนีย์ที่ดูแลการจัดหาคอนเทนต์เพื่อป้อนแพลตฟอร์ม Hulu เป็นหลัก พร้อมจุดขายชัดเจนว่าแผนกนี้เกิดขึ้นเพื่อขับเน้นผลงานของครีเอเตอร์ผิวสี (people of color) และเสียงที่เคยถูกมองข้าม (underrepresented voice) โดยเฉพาะ
ถึงทีมผู้บริหารผิวสีซึ่งนำโดย ทาร่า ดันแคน (Tara Duncan) อดีตที่ปรึกษาของ Hulu ที่ปัจจุบันดูแลช่องเคเบิล Freeform ของดิสนีย์อยู่ด้วย จะบอกว่าโฟกัสหลักของ Onyx คืองานด้านโทรทัศน์ แต่ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในมือของดิสนีย์ ทำให้การผลักดันผลงานที่ถือสิทธิ์ให้เข้าสู่เส้นทางเทศกาลภาพยนตร์กับช่วงแคมเปญรางวัลมีความเป็นไปได้สูงขึ้น และเส้นทางของ Summer of Soul นับตั้งแต่เปิดตัวที่ซันแดนซ์เมื่อต้นปี 2020 (หรืออาจนับตั้งแต่ก่อนหน้านั้น เมื่อทีมผู้บริหารของ Onyx เล็งหนังไว้ตั้งแต่ยังใช้ชื่อเก่าว่า Black Woodstock) จนถึงรางวัลออสการ์ คือหนึ่งในบทพิสูจน์ของการบริหารศักยภาพและทรัพยากรจากมุมต่างๆ ของดิสนีย์ที่ประสบความสำเร็จ
เครดิตหลักของความสำเร็จเกินคาดในกรณี Drive My Car (ซึ่งเป็นขั้วตรงข้ามกับ Summer of Soul ที่เรียกความสนใจคับคั่งในซันแดนซ์ เพราะตัวหนังทำให้เหล่าผู้จัดจำหน่ายที่ไปคานส์รู้สึกว่า “ขายยาก”) ย่อมตกเป็นของโมเดลความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่าง Janus Films กับ Sideshow (ซึ่งก่อตั้งขึ้นใหม่เพื่อผลักดัน Drive My Car ในอเมริกาโดยเฉพาะ) แต่อีกชื่อหนึ่งที่มีส่วนช่วยพลิกเกมให้หนังญี่ปุ่นความยาวสามชั่วโมงขายยากเรื่องนี้เข้าชิงทั้งหนังและผู้กำกับยอดเยี่ยมออสการ์คือ WarnerMedia OneFifty –ชื่อที่แม้แต่คนในวงการหนังยังถามๆ กันเองว่ามันคืออะไร– ที่ปิดดีลให้หนังได้เข้าไปสตรีมในแพลตฟอร์ม HBO Max
อักเซล กาบาเยโร (Axel Caballero) หัวเรือใหญ่ของแผนก ซึ่งเคยเป็นประธานสมาพันธ์ผู้อำนวยการสร้างอิสระเชื้อสายละตินอเมริกันแห่งชาติ บอกว่า Drive My Car คือผลลัพธ์ของการมองหาหนังที่จะเติมช่องว่างให้ผู้ชม HBO Max ที่ต้องการความแปลกใหม่ และช่วยสะท้อนตัวตนของ WarnerMedia OneFifty ให้เด่นชัดว่าพวกเขาต้องการมีส่วนช่วย “ปลุกปั้น” โปรเจกต์แบบไหน
Drive My Car ถือเป็นการลงทุนอีกด้านเพื่อสร้างแบรนด์ เพราะวัตถุประสงค์หลักของ OneFifty ไม่ใช่แค่การดีลสิทธิ์เพื่อจัดจำหน่ายลงแพลตฟอร์ม แต่คือการค้นหาผลงานที่น่าสนใจและหลากหลายเพื่อดึงดูดศิลปินเจ้าของผลงานเหล่านั้นมาร่วมงานด้วย ซึ่งทำให้ที่นี่ถือสิทธิ์เผยแพร่หนังสั้นไว้จำนวนมาก (รวมถึง The Dress และ Please Hold สองผู้เข้าชิงออสการ์หนังสั้นยอดเยี่ยมปีล่าสุด) – กาบาเยโรบอกว่ากว่า 90% ของโปรเจกต์ที่พวกเขาถือสิทธิ์ ศิลปินเจ้าของงานจะได้รับทุนเพื่อเริ่มโปรเจกต์ใหม่กับทาง WarnerMedia ซึ่งมีส่วนช่วยให้คนทำหนังหน้าใหม่จำนวนมากได้เปิดกล้องหนังยาวเรื่องแรกของตัวเอง และ OneFifty ยังลงทุนในองค์กรศิลปะกว่า 300 แห่งและเป็นสปอนเซอร์ให้อีก 50 เทศกาลหนัง
Lovatt, P. (2013). “Every drop of my blood sings our song. There, can you hear it?”: Haptic Sound and Embodied Memory in the films of Apichatpong Weerasethakul. The New Soundtrack, 3(1), 61-79.