AUTHOR

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

Laal Singh Chaddha : พระเจ้าหรือปัจเจกเป็นผู้กำหนดกันแน่?

ในวันที่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการเมืองของอินเดียค่อย ๆ กลับมามีอำนาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้น ไม่ใช่ยักษ์ป่วยแบบที่เคยเป็น หนังเรื่องนี้ก็ถูกผลิตขึ้นเพื่อประกาศ "ความเป็นอินเดีย" อย่างที่พวกเขามั่นใจ...

บุพเพสันนิวาส 2 = ทวิภพ-1 พิศวาส ราชาชาตินิยม การกล่อมประสาทด้วยมุมมองชนชั้นนำ

อันที่จริง ในสมัยของรัชกาลที่ 3 เป็นยุคทองของการค้าเรือสำเภากับจีน ความเฟื่องฟูของสังคมทำให้สังคมแบบไพร่เดิมค่อยๆ ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การเข้าเดือนออกเดือน เพื่อจะขยับขยายให้ไพร่เข้ามาอยู่ในตลาดการค้ามากขึ้น หน้าตาสยามมีความเป็นจีนทั้งด้วยพระราชนิยม และชุมชนจีนที่ขยายตัวขึ้นมาก โดยเฉพาะความมั่งคั่งของชนชั้นนำในระดับกษัตริย์และขุนนางก็อู้ฟู่จากการค้าขายผูกขาด

Gangubai Kathiawadi : คังคุไบ การเมืองและพลังของโยนีเริงระบำ

หนังอินเดียที่กลายเป็นกระแสกันทั่วบ้านทั่วเมือง เห็นได้จากการคอสเพลย์เป็นคังคุไบได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายจากคนธรรมดา ผู้มีชื่อเสียงกระทั่งชนชั้นสูง แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ถูกวิจารณ์ว่า เอาจริงๆ แล้วไม่มีใครสนใจสิทธิของ sex worker มากไปกว่าการได้แต่งตัวชุดส่าหรีงามๆ ตามกระแสหรอก

โลกทั้งใบให้นายคนเดียว บนจุดสูงสุดของหนังวัยรุ่นไทยยุคฟองสบู่ เรื่องเล่าความพังพินาศของครอบครัวเพราะ(ยัง)ไม่มี 30 บาทรักษาทุกโรค

หนังเรื่องนี้ฉายในปี 2538 ก่อนที่ฟองสบู่เศรษฐกิจไทยจะแตกเพียง 2 ปี ถือว่าเป็นช่วงที่ชนชั้นกลางไทยกำลังชื่นมื่นกับความสำเร็จทางเศรษฐกิจของตัวเอง และดื่มด่ำบรรยากาศที่เชื่อกันว่าไทยจะก้าวไปเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 ตามฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวันและสิงคโปร์ และไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

จากกระโปรงบานขาสั้น สู่ หน่าฮ่าน สายลมแสงแดดของนักเรียนมัธยมในเมือง กับ ขบถของนักเรียนชนบทยุคหลัง

หน่าฮ่าน เป็นพื้นที่ที่ active เพราะมันไม่ใช่การไปเป็นผู้ชมคอนเสิร์ต แต่เป็นพื้นที่ที่พวกเขายึดใช้ในฐานะเป็นผู้กระทำ กระนั้นพื้นที่เช่นนี้ก็มีความเสี่ยงตามมา เพราะมันคือ ศูนย์รวมของวัยรุ่นเลือดร้อน

2499 อันธพาลครองเมือง (2540) หนังฮ็อตที่เปิดยุคสมัยของหนังไทย ในเฮือกสุดท้ายก่อนเศรษฐกิจล่มสลาย

"แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆ ถ้าไม่แน่จริงนะอยู่ไม่ได้" คำพูดนี้ของเชียร รถถัง โด่งดังเป็นอย่างยิ่งตั้งแต่สมัยหนังยังฉาย ทุกวันนี้นอกจากถูกตัดมาเป็นคลิปฉายซ้ำๆ กันแล้ว ยังเป็นมีมที่คนรุ่นใหม่รู้จักกันดี

Hospital Playlist – พระเจ้าผู้มีเลือดเนื้อ เหล่าทวยเทพผู้มีอำนาจเหนือนรกโชซ็อน

ด้วยโทนโลกสวยของซีรีส์ การแสดงความทุกข์ยากลำบากของพนักงานโรงพยาบาล คนไข้และญาติคนไข้จึงออกมาในรูป feel good รันทดแต่งดงาม แทบทุกคนเป็นคนที่ตั้งใจดี ทำหน้าที่ของตัวเอง ยอมรับโหลดงานที่หนักหนา อดตาหลับขับตานอน ทุ่มเททุกอย่าง

หมอปลาวาฬ ตัวแทนอำนาจรัฐไทยในหมู่(ไท)บ้าน : ความพ่ายแพ้ของคนนอกที่ไต่เส้นลวดอำนาจสาธารณสุขในยุครัฐเวชกรรม

หนังในจักรวาลไทบ้าน เดินทางมาสู่ปีที่ 5 หากนับเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บางคณะก็ถือว่าจบการศึกษาและเริ่มทำงานไปแล้ว ช่วงปี 2560-2561 ถือเป็นจุดที่หนังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จนมาถึงปี 2563 ที่ทุกวงการได้รับผลกระทบอย่างหนักมาจากโรคระบาดอย่างโควิด-19

อำนาจรัฐและทุนในไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.1 : ชัยชนะของคนบ้า และความพ่ายแพ้ของคนบ้านในชนบทอีสาน

หมู่บ้านในไทบ้านเดอะซีรีส์ เป็นภาพตัวแทนชนบทอีกชุดหนึ่งที่ต่างจากโลกชนบทในจินตนาการของชนชั้นกลางที่เป็นชุมชนสามัคคี ทำมาหากินอย่างเจียมเนื้อเจียมตน ชาวบ้านมีน้ำใจ เข้าวัดฟังธรรมรักษาศีล มีชีวิตอย่างพอเพียง พออยู่พอกิน แต่เป็นหมู่บ้านที่คึกครื้นไปด้วยวัยรุ่น วงเหล้า และชีวิตที่ไหลเรื่อยเปื่อยไร้สาระ เด็กในหมู่บ้านก็ไม่ใช่ลูกหลานที่น่ารัก คำว่า "เด็กเปรต" ยังอาจน้อยไป สำหรับพฤติกรรมของบักมืด เด็กแก่แดดจอมทำลายล้าง โลกของบักมืดนี่ทำลายภาพนักเรียนที่รัฐคุมได้อยู่หมัดแบบในแบบเรียนมานี-มานะกันเลย หนังเรื่องนี้พูดลาวกันทั้งเรื่อง ยกเว้นตัวละคร 3...

Hometown Cha-Cha-Cha : กงจิน ท้องถิ่นที่กลับไปได้เพราะคนมีกำลังซื้อ ค่าแรงขั้นต่ำที่ไม่เลวร้าย บวกกับกลไกสวัสดิการสังคมที่โยงกับผู้คน

เรื่องของหมอฟัน กับ หัวหน้าฮง ในหมู่บ้านชายทะเลเล็กๆ ได้ฉายภาพชีวิตดีๆ ที่ต่างจังหวัดของสังคมเกาหลีใต้ ซึ่งจะจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ ไม่มีข้อมูล ในที่นี่ขอข้ามความโรแมนติกที่วางอยู่บนบังเอิญจนน่ารำคาญออกไป

มนต์รักทรานซิสเตอร์ : ชีวิตที่พังทลายของแผน + สะเดา เพราะโชคชะตาหรือโครงสร้างสังคมอันอยุติธรรม?

ทรานซิสเตอร์เป็นชื่อวิทยุที่ถือว่าเป็นกลไกสำคัญของรัฐ สมัยสฤษดิ์ ได้มีการสั่งให้ทหารผลิตเครื่องวิทยุจำหน่ายในราคาถูก รายการวิทยุเกิดขึ้นอย่างมาก เพื่อขยายสัญญาณปิดน่านฟ้าไม่ให้รายการวิทยุของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) แย่งชิงมวลชนไปได้

4Kings : ความโรแมนติก และโลกของจตุราชันย์ชนชั้นกลางล่าง กับความรุนแรงที่สลายพลังในการรวมตัวกันของแรงงานไทย

สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจไม่เคยได้ยิน 4 สถาบันช่างในหนังอย่าง กนก, บู, ประชาชลและอิน (ตามที่เรียกในเรื่อง) เพราะคนทั่วไปจะรู้จักคู่ปรับคลาสสิกแบบช่างกลปทุมวัน VS อุเทนถวาย มากกว่า

พลังนมและปากของอำแดงเหมือน : อำนาจสามัญชนที่ไปไม่สุด กับ ภาพสะท้อนความฉ้อฉลของสังคม ที่แพ้อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน

อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) เป็นหนังยุคท้ายๆ ของเศรษฐกิจยุคทองของไทย หากมองผ่านสภาพแวดล้อมทางการเมืองก็จะเห็นว่าเกิดขึ้นหลังพฤษภาทมิฬ 2 ปี ซึ่งหลายคนคงจำภาพจุดจบของเหตุการณ์นี้ได้ดีว่า ถูกยุติด้วยการเรียกคนสำคัญเข้าเฝ้า

ส้มป่อย : การตบตีกันของสาวเครือฟ้าและอีลำยองเวอร์ชั่นล้านนา เรื่องเล่าบนความเหลื่อมล้ำของพื้นที่เมืองและชนบท

คำว่า "กรุงเทพฯ" ถูกปาใส่หน้าผู้ชมจำนวนครั้งที่ผู้เขียนเองก็นับไม่ถ้วน จึงสรุปได้ไม่ยากนักว่า หนัง "ส้มป่อย" (2564) วางอยู่บนคู่ตรงข้ามของความเป็นกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด โดยใช้ปมในวัยเด็ก และแรงขับดันทางเพศของส้มป่อย (พิจักขณา วงศารัตนศิลป์) นางเอกเป็นตัวเดินเรื่อง

October Sonata ชัยชนะของทุนนิยมในสงครามชีวิต

หนังเล่าเรื่องของระวี (โป๊บ ธนวรรธน์)-แสงจันทร์ (ก้อย รัชวิน) จุดเริ่มต้นการพบกันของระวีและแสงจันทร์เกิดจากการที่แสงจันทร์ถูกระวีขับรถชน เธอจึงใช้โอกาสนั้นขอติดรถเพื่อไปดูสถานที่ที่ มิตร ชัยบัญชา ตก ฮ.ตาย ขณะถ่ายทำหนังเรื่องสุดท้ายของเขา พวกเขาเจอกันในค่ำคืนของวันที่ 8 ตุลาคม 2513 ทั้งคู่ไปจบลงที่การค้างคืนที่บังกะโลแสนมุก ริมทะเลพร้อมกับความผูกพันของทั้งสองที่ก่อตัวภายในข้ามคืน