Film & Business

เมื่อ Gen Y และ Gen Z กลายเป็นผู้บริโภคหลักของโลก ผู้สร้างคอนเทนต์ควรปรับตัวอย่างไร

รายได้ของซีรีส์เกาหลี Squid Game จาก Netflix สูงถึง 900 ล้านเหรียญ ซึ่งกลุ่มผู้ชมกลุ่มใหญ่ของซีรีส์ชุดนี้ร้อยละ 58.65% มีอายุระหว่าง 18-34 ปี จัดอยู่ในกลุ่ม Gen Y และ Gen Z

MGM / AMAZON : ดีลสะท้านโลกกับผลกระทบที่อาจจะตามมา

สำหรับธุรกิจบันเทิงโลกในเวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนที่สร้างความฮือฮาได้เท่ากับข่าว Amazon ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมอร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของตัวเองชื่อ Amazon Prime ได้บรรลุข้อตกลงซื้อสิทธิ์หนังทั้งหมดของบริษัท MGM หนึ่งในสตูดิโอขนาดใหญ่ของอเมริกาที่มีจำนวนมากกว่าสี่พันเรื่องด้วยจำนวนเงินทั้งหมด 8,450 ล้านเหรียญ

เหตุผลที่ปี 2021 อาจไม่ได้เป็นปีที่ดีอีกปีของ Netflix

กล่าวกันว่าปี 2020 เป็นปีที่ผู้ประกอบการสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix ได้เริงร่ากับผลประกอบการทางธุรกิจที่ยอดเยี่ยมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 ที่ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกต้องเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะการต้องล็อกดาวน์ตัวเองอยู่ในที่พัก ดังนั้นการเสพความบันเทิงผ่านช่องทางสตรีมมิ่ง จึงเป็นความสุขเพียงไม่กี่อย่างที่พวกเขาจะหาได้ในช่วงเวลานั้น โดยในปี 2020 ปีเดียว Netflix มีสมาชิกทั่วโลกเพิ่มขึ้นกว่า 37 ล้านคน ส่งผลให้ยอดรวมสมาชิกทั้งหมดรวมเป็น 203.6...

เหตุผลที่โรงหนังอาจเป็นหนทางของความอยู่รอดของธุรกิจสตรีมมิ่งในอนาคต

ท่ามกลางความคลุมเครือของการอยู่ยงของโรงหนัง และความสดใสของธุรกิจสตรีมมิ่งที่ดูเหมือนจะหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ ผู้เขียนกลับเชื่อว่า ไม่ว่าจะอย่างไร โรงหนังจะยังคงอยู่ต่อไป และจะมีความสำคัญถึงขนาดเป็นหนทางความอยู่รอดของธุรกิจสตรีมมิ่งในอนาคตเสียด้วยซ้ำ

มองธุรกิจหนังในเมืองไทย ในวันที่วิกฤติยังไม่สะเด็ดน้ำ

ผู้เขียนเกิดความสนใจว่า ในช่วงเวลาเดียวกับที่ธุรกิจหนังในอเมริกากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ผู้ประกอบการธุรกิจหนังในประเทศไทย น่าจะต้องเผชิญกับความท้าทายในปีที่คาดเดาไม่ได้อย่างปีนี้ ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปของตลาดหนังในช่วงปีที่แล้วจนถึง ณ เวลานี้ ผู้เขียนขอนำเสนอฉากทัศน์ จำแนกตามประเภทขององค์ประกอบธุรกิจหนังในเมืองไทย

ทางออกของการดึงคนดูกลับเข้าโรงหนังในยุคเปลี่ยนผ่าน

แม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคโควิด 19 จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของทุกประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะการปิดตัวของโรงหนังในหลายประเทศ ขณะที่ความนิยมในช่องทางสตรีมมิ่งเพิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง จนทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า หรือประวัติศาสตร์ภาพยนตร์กำลังพลิกโฉมครั้งสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อวิกฤติเริ่มคลี่คลายในหลายประเทศในช่วงปลายเดือนมิถุนายน จนทำให้ผู้ประกอบการโรงหนังได้กลับมาเปิดโรงอีกครั้ง ภายใต้การจำกัดจำนวนที่นั่งตามนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีอย่างล้นหลามจากผู้ชม เริ่มตั้งแต่ประเทศเกาหลีใต้ที่ประเดิมฉายหนังแนวซอมบี้แอ็คชั่นเรื่อง Alive ในปลายเดือนมิถุนายน ซึ่งขายบัตรเข้าชมในวันแรกสูงถึงสองแสนใบ ก่อนที่จะถูกลบสถิติลงด้วยหนังเรื่อง Train to...

เมื่อการจัดจำหน่ายแบบลูกผสม (hybrid distribution) กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่สำหรับธุรกิจหนังหลังวิกฤตโควิด

อย่างที่รู้กันว่าท่ามกลางวิกฤตของโรคร้ายที่คุกคามอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก จนทำให้เกิดคำถามว่าธุรกิจภาพยนตร์กำลังเข้าสู่ภาวะการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์หรือไม่ ได้มีความพยายามของสองค่ายสตูดิโอยักษ์ใหญ่ของฮอลลีวูดซึ่งในแก่ค่ายวอร์เนอร์ และ ค่ายดิสนีย์ที่จะท้าทายสภาวะดังกล่าวด้วยการเข็นหนังที่ถือเป็นความหวังของค่ายเข้าฉายในช่วงเวลาที่ค่ายยักษ์ใหญ่อื่นๆ เลือกที่จะเลื่อนหนังฟอร์มยักษ์ออกไป โดยค่ายวอร์เนอร์เลือกที่จะนำ Tenet หนังทุน 200 ล้านของผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน เข้าฉายในรูปแบบปกติในโรงภาพยนตร์ ในต้นเดือนกันยายน ขณะที่ ค่ายดิสนีย์ เลือกเปิดตัว Mulan ในเวลาไล่เลี่ยกันบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของตัวเองที่ชื่อ...

ทิศทางหนังโลกหลังจาก MULAN และ TENET ออกฉาย

หลังจากตลอดครึ่งปีแรกของปี 2020 โลกภาพยนตร์ต้องประสบกับภาวะซบเซาไร้ความหวังจากวิกฤตโควิด 19 ที่ดูเหมือนจะหาจุดสิ้นสุดไม่เจอ ข่าวการเลื่อนฉายของหนังฟอร์มใหญ่ฮอลลีวูดหลายต่อหลายเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนเริ่มทำใจแล้วว่าบางทีปีนี้ อาจเป็นปีที่เงียบเหงาของธุรกิจภาพยนตร์โลกในรอบหลายทศวรรษเนื่องจากไม่มีหนังฟอร์มใหญ่เข้าฉายตลอดทั้งปี  แต่แล้วในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมต่อด้วยต้นสิงหาคมที่ผ่านมา ก็ได้เกิดข่าวที่พอจะสร้างแสงสว่างให้แก่วงการภาพยนตร์โลกได้บ้าง เมื่องสองค่ายหนังยักษ์ใหญ่อย่าง วอร์เนอร์ และ ดิสนิย์ ได้ประกาศวันฉายหนังที่ถือเป็นความหวังของค่ายในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน โดยวอร์เนอร์ได้ประกาศวันฉาย Tenet หนังต้นทุน 200 ล้านเหรียญ...

ดีลลับลวงพรางของค่ายหนัง Universal และโรงหนัง AMC ที่จะสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมหนังโลก

เมื่อโรงหนังใหญ่กับค่ายหนังยักษ์ในอเมริกาประกาศทำดีลลับลวงพรางกัน ความกังวลก็บังเกิด เพราะนี่อาจนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งต่อวงการหนังและเราคนดู!

อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงกับจุดเปลี่ยนที่ท้าทาย หลังจากกฎหมายความมั่นคงมีผลบังคับใช้

เมื่อรัฐบาลจีนประกาศใช้ "กฎหมายความมั่นคง" อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงที่เคยยิ่งใหญ่จะต้องพบกับจุดเปลี่ยนเช่นไร? ภาณุ อารี พาไปพูดคุยกับคนในวงการหนังเพื่อหาคำตอบ

Business Update : ควันหลง Cannes Virtual Market

แล้วตลาดหนังเสมือนของคานส์ หรือ Cannes Virtual Film Market ก็รูดม่านปิดฉากลงอย่างเงียบๆ เมื่อปลายอาทิตย์ของเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมกับประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้ซื้อและผู้ขาย อย่างไรก็ตามผู้จัดตลาดหนังเมืองคานส์ (Marche du Film) ก็ยืนยันว่างานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยตลอดระยะเวลาหนึ่งอาทิตย์ของการจัดงาน (งานเริ่มวันที่ 22 และจบลงวันที่ 28...

สัมพันธ์จีน – อินเดียในมิติธุรกิจภาพยนตร์

เช้าของวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักข่าวทั่วโลกต่างรายงานข่าวการปะทะแบบไร้อาวุธของทหารจีนและอินเดีย ที่พรมแดนบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ผลจากการปะทะกันทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 3 คน ก่อนที่ต่อมาจำนวนยอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน ส่วนทหารจีน แม้ว่าจะไม่มีรายงานออกอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีรายงานที่ไม่ได้การยืนยันว่า ทหารจีนเสียชีวิตประมาณ 40 คน ข่าวดังกล่าวสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เพราะแม้ว่าจีนและอินเดีย...

Business Update : โรงหนังเมกาเตรียมเปิด & สองสตรีมมิ่งจีนยักษ์ใหญ่อาจควบรวมกัน?

ขณะที่หลายภาคส่วนต่างๆ ของธุรกิจหลายประเภท กำลังเริ่มต้นเดินเครื่องธุรกิจใหม่อีกครั้ง หลังจากที่ต้องว่างเว้นไปเพราะดำเนินตามนโยบายป้องกันโรคโควิด 19 ธุรกิจภาพยนตร์ดูเหมือนกำลังเข้าสู่โหมดปรับตัวครั้งใหญ่ ด้วยคุณลักษณะของธุรกิจที่ต้องเกี่ยวกับคนจำนวนมาก ไม่ว่าในด้านการผลิตที่ต้องอาศัยบุคลากรจำนวนมากในการสร้างภาพยนตร์สักเรื่อง หรือ การเผยแพร่ซึ่งแน่นอนว่า หลีกเลี่ยงฝูงชนจำนวนมากไม่พ้น จึงทำให้ ธุรกิจภาพยนตร์อาจมีความเปราะบางเมื่อเทียบกับธุรกิจหลายๆ ประเภท เพราะหากเกิดการระบาดรอบสอง และต้นตอของการระบาดมาจากธุรกิจภาพยนตร์ภาคใดภาคหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นตามเห็นจะหนีไม่พ้นหายนะครั้งใหญ่ของโลกภาพยนตร์อย่างแน่นอน สำหรับความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในวงการธุรกิจภาพยนตร์โลกช่วงเวลานี้มีดังนี้ โรงหนังเครือใหญ่ในอเมริกา เตรียมเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากที่ต้องปิดตัวลงเป็นเวลาเกือบสี่เดือน...

เหตุใดคนขาวจึงมีบทบาทเด่นในด้านการบริหารภาพยนตร์

สิ่งที่เหมือนกันระหว่างภาพยนตร์เรื่อง Moonlight, Get Out, 12 Years a Slave หรือแม้แต่ Black Panther คือต่างเป็นหนังเกี่ยวกับคนผิวดำ นำแสดงและสร้างสรรค์โดยคนผิวดำที่ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรางวัล และบ็อกซ์ออฟฟิศ อย่างไรก็ดี สิ่งที่เหมือนกันอย่างน่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังในส่วนการบริหารจัดการส่วนใหญ่ ล้วนแต่เป็นคนผิวขาวทั้งสิ้น โดยในตำแหน่งผู้อำนวยการสร้างของภาพยนตร์เรื่อง...

เหตุใดยักษ์ใหญ่สตรีมมิ่งยังไม่สามารถเจาะตลาดจีนได้

แม้ว่าปัจจุบัน ประเทศจีนจะกลายเป็นตลาดสำคัญสำหรับภาพยนตร์ของฮอลลีวูด จนเรียกได้ว่าเป็นแหล่งทำเงินนอกบ้านของเหล่าบริษัทสตูดิโอต่างๆ แต่สำหรับผู้ประกอบการสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่อย่าง Netflix หรือ Amazon Prime จีนเป็นตลาดเดียวในโลก (ไม่นับ ซีเรีย เกาหลีเหนือ อิหร่าน) ที่พวกเขายังไม่สามารถเจาะได้ ปัจจุบัน Netflix มีจำนวนสมาชิกทั่วโลกกว่า 182 ล้านคน ขณะที่...

Business Update : เทศกาลหนังแบบไดรฟ์อิน & เกาหลีช่วยค่าตั๋วหนัง

สัปดาห์ที่ผ่านมาเครื่องจักรทางด้านธุรกิจภาพยนตร์ในหลายประเทศ เริ่มกลับมาเดินเครื่องอีกครั้ง ทั้งในภาคผลิต จัดจำหน่ายและเผยแพร่ แม้ว่าในระยะแรกอาจเกิดอาการติดขัดอยู่บ้างอันเนื่องมาจากมาตรการเฝ้าระวังของทุกภาคส่วน แต่อย่างน้อย ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่า วงล้อของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ยังคงหมุนต่อไป สำหรับสัปดาห์นี้ มีรายงานความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของธุรกิจภาพยนตร์ดังต่อไปนี้ Drive In อีกหนึ่งทางเลือกของเทศกาลภาพยนตร์ หลังจากโรคโควิด 19 ทำให้กิจกรรมที่คุ้นเคยอย่างการชมภาพยนตร์ในโรงต้องหยุดไป แต่ก็ได้ทำให้ธุรกิจที่เคยเสื่อมความนิยมอย่าง โรงหนังไดรฟ์อิน กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ล่าสุดได้มีการสำรวจจำนวนโรงหนังไดรฟ์อินทั่วอเมริกา ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการรวมกันถึง...

เมื่อการเมืองถูกลากเข้าสู่วงการหนัง เรื่องวุ่นๆ ที่กระทบความสัมพันธ์ระหว่างฮอลลีวูดกับประเทศจีนก็เกิดขึ้น

ข่าวคราวที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการธุรกิจภาพยนตร์ในช่วงเวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนเกินรายงานที่ว่า เท็ด ครูซ วุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกัน ได้ออกมาประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะเร่งผลักดันกฎหมายที่ห้ามไม่ให้ภาพยนตร์อเมริกันที่ได้รับการสนับสนุนจากทางกระทรวงกลาโหม (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนังสงครามที่ต้องใช้อุปกรณ์ของกองทัพเข้าฉาก รวมถึงทุนสร้างบางส่วน) ได้เข้าฉายในจีนหากต้องถูกเซ็นเซอร์จากทางการจีน ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ครูซได้ขยายขอบเขตการสนับสนุนจากแค่กระทรวงกลาโหมไปเป็นทุกกระทรวงของรัฐบาลอเมริกัน มูลเหตุของความยั้วะของครูซ (ซึ่งไม่มีความเกี่ยวพันกับ ทอม ครูส) เกิดจากการที่เขาพบว่าหนังเรื่อง Top Gun:...

Business Update : เกาหลีเปิดโรง, อินเดียเปิดกอง และก้าวต่อไปของ Tik Tok

ท่ามกลางบรรยากาศที่คลี่คลายของภาวะโรคโควิด ธุรกิจภาพยนตร์ก็ยังคงเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดนิ่ง แม้ว่าบางภาคส่วนจะต้องปรับตัวเข้ากับมาตรฐานในการดำเนินชีวิตใหม่ก็ตาม เรามาติดตามความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมากัน Post Covid screening : สัญญาณบวกที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ว่าหลายประเทศจะยังคงปิดโรงหนังอยู่ แต่ก็มีบางประเทศที่เริ่มต้นฉายหนังมาระยะหนึ่งแล้ว เช่น ประเทศเกาหลีใต้ที่บริษัทจัดจำหน่ายหลายแห่งนำหนังทั้งเก่าและใหม่มาฉายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมกลับมาโรงอีกครั้ง ก่อนที่จะปูพรมฉายหนังใหญ่ในช่วงซัมเมอร์ แต่ดูเหมือนผลตอบรับยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา รายได้ของหนังที่เปิดตัวนั้นทำได้เพียง 7% ของรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยหนังที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งก็คือ The...

Business Update : ศึกสตรีมมิ่งในอินเดีย & มาตรการอุ้มหนังในจีน

เมื่อบริษัทสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ในอินเดียควบรวมกับ Disney Plus และรัฐบาลจีนอุ้มธุรกิจโรงหนังในช่วงโควิด-19

มูลค่าทางธุรกิจที่หายไปของหนังอาร์ตเฮ้าส์ เมื่อเทศกาลหนังงดจัด

สำหรับผู้ซื้อหนังส่วนใหญ่ หนังอาร์ตจะถูกคิดถึงเป็นลำดับท้ายๆ เมื่อต้องเดินตลาดหนัง เพราะพวกเขามักต้องให้ความสำคัญกับหนังที่มีศักยภาพทางธุรกิจเสียก่อน สำหรับหนังอาร์ตเฮ้าส์ หรือ ‘หนังทางเลือก’ บ่อยครั้งผู้ซื้อจะรอให้เทศกาลใหญ่ๆ ที่หนังเหล่านี้เข้าประกวดประกาศผลไปแล้วถึงจะตัดสินใจว่าจะเสนอราคาหรือไม่ เหตุผลสำคัญมาจากหนังเหล่านี้ (โดยเฉพาะหนังจากผู้กำกับที่คนไม่คุ้นเคย) ไม่มีแรงผลักดันใดๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้ชมวงกว้างสนใจมาดูได้เท่ากับหนังที่ได้รับรางวัล ยิ่งเป็นรางวัลใหญ่ โอกาสที่หนังจะถูกปั้นให้ ”ขายได้” ก็มีสูง ด้วยเหตุนี้ การที่เทศกาลใหญ่ๆ อย่างคานส์...

Business Update : เมื่อค่ายสตรีมมิ่งขยายพื้นที่ใหม่ไปในดินแดนต้องห้ามที่เรียกว่า โรงภาพยนตร์

ข่าวที่สร้างความฮือฮาให้แก่แวดวงธุรกิจภาพยนตร์โลกในช่วงเวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนเกินข่าวลือที่ว่า บริษัท Amazon ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการโรงหนัง AMC ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการที่ต้องปิดโรงหนังจากพิษของโควิด 19 ทันทีที่ข่าวลือแพร่สะพัดออกไป หุ้นของ AMC ที่ตกต่ำเรี่ยดินตลอดสองเดือนที่ผ่านมาก็พุ่งทะยานราวพลุไฟฉลองวันชาติเลยทีเดียว อันที่จริง การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะเข้าเทคโอเวอร์กิจการของบริษัทที่กำลังเข้าสู่ภาวะล้มละลาย มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าบริษัทที่เข้าเทคโอเวอร์ ไม่มีบริษัทลูกที่เป็นผู้ประกอบการสตรีมมิ่งที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอเมริกา อย่าง...

Business Update : อัพเดทสถานการณ์โรงหนัง และความเศร้าของคานส์

กลับมาอีกครั้งกับ Business Update นะครับ สำหรับอาทิตย์ที่ผ่านมา สถานการณ์โรคโควิดในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย เช่นเดียวกับกิจกรรมทางด้านธุรกิจภาพยนตร์ที่เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง พอจะสรุปความเคลื่อนไหวได้ดังนี้ โรงหนังในจีนได้ฤกษ์กลับมาให้บริการ หลังจากถูกสั่งปิดมาตั้งแต่เดือนมกราคม และมีโอกาสเปิดให้บริการแบบสั้น ๆ ก่อนถูกสั่งปิดอีกครั้งในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเดือนเมษายน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่โรงหนังในประเทศจีนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเสียที โดยทางการจีนได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (8 พ.ค.) ว่าจะอนุญาตให้โรงเปิด หากปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด อันได้แก่ 1....

Business Update : ค่ายหนังเปิดวอร์! / หายนะบ็อกซ์ออฟฟิศ! / หลังโควิดเราจะทำหนังกันอย่างไร?

กลับมาพบกันอีกครั้งกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวในโลกธุรกิจภาพยนตร์ สัปดาห์นี้ผู้เขียนมีประเด็นที่น่าสนใจสามประเด็นเห็นสมควรนำมารายงาน ได้แก่ หายนะของบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก หลังจากโควิด 19 ระบาดในหลายประเทศอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนมกราคม ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องออกมาตรการล็อคดาวน์หยุดกิจกรรมทุกประเภทโดยที่หลายฝ่ายไม่ทันตั้งตัว แน่นอนว่า ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มคนจำนวนมากกลายเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธุรกิจโรงหนังก็รวมอยู่ในนั้นด้วย และผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ยอดรายได้จากการขายตั๋วที่หดตัวอย่างที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน เริ่มต้นที่ประเทศจีนซึ่งยอดรวมบ็อกซ์ออฟิศตลอดทั้งปี 2019 มีจำนวน 9.2 พันล้านเหรียญ มาปีนี้สำนักงานภาพยนตร์แห่งชาติ (National...

“New Norm” ของธุรกิจหนังหลังวิกฤติ

นาทีนี้คงไม่มีคำไหนอินเทรนด์เท่ากับคำว่า “New norm” หรือ “New Normal” อีกแล้ว ความหมายแบบตรงตัวของมันก็คือ ความปกติหรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะมาแทนบรรทัดฐานเดิม วิกฤติการณ์โควิด 19 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ดันคงอยู่อ้อยอิ่งยาวนาน ได้ทำให้พฤติกรรมเดิม ๆ หลายอย่างเปลี่ยนไป และสร้างพฤติกรรมใหม่ที่จะกลายเป็นความคุ้นชินโดยธรรมชาติในเวลาไม่ช้า ธุรกิจหนังเองก็กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งอาจทำให้รูปแบบเดิมๆ...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 2) : รู้จัก “สายหนังเมืองไทย”

หลังจากได้รู้จักที่มาของ “สายหนัง” ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก และระบบการแบ่งสายจัดจำหน่ายหนังในอินเดียไปแล้ว (ตอน 1) คราวนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องสายหนังของเมืองไทย (อย่างย่อๆ) ดูบ้างครับ สายหนังเมืองไทย: นิยามและขอบเขต พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์ จากม.สุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายคำว่า “สายหนัง” ไว้ว่า คืกลุ่มนักธุรกิจที่ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหลักในกรุงเทพฯ ไปจัดจำหน่ายในภูมิภาคของตนเอง โดยระยะแรกเหตุผลที่จำเป็นต้องพึ่งสายหนังก็เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ผลิตหนังตระเวนนำฟิล์มไปฉายด้วยตัวเองได้ จึงติดต่อพ่อค้าคนกลางที่มีความชำนาญในภูมิภาคต่าง...

Business Update : คานส์+เวนิซ / โรงหนังไดรฟ์อิน / เวอร์ชวลซีเนม่า

ในรอบสัปดาห์มีความเคลื่อนไหวในธุรกิจภาพยนตร์โลกที่น่าสนใจหลายเหตุการณ์ ไล่เรียงดังนี้ คานส์จับมือเวนิซ : ความเป็นไปได้ที่ติดลบ แม้ เธียร์รี เฟรโมซ์ ผู้อำนวยการเทศกาลหนังเมืองคานส์จะประกาศว่า ปีนี้เทศกาลต้องเลื่อน (เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสห้ามจัดงานที่มีคนไปชุมนุมกันจนถึงเดือนกรกฎาคม) แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะยกเลิกการจัดไปเลย หรือจะแก้ปัญหาด้วยการจัดแบบ Virtual Festival (เทศกาลออนไลน์) เขาเพียงบอกว่า กำลังแสวงหา “ทางเลือก” เพื่อให้เทศกาลได้จัดต่อไป และหนึ่งในทางเลือกที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ การไปจัดร่วมกับเทศกาลหนังนานาชาติเวนิซเสียเลย! “ตอนที่เริ่มวิกฤตใหม่ๆ...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 1) …ไม่ใช่แค่ไทย อินเดียก็มี!

เคยไหมที่สงสัยว่าทำไมหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมมาฉายในจังหวัดของเราเสียที แล้วพอถามไปที่เจ้าของหนังบ้าง โรงหนังบ้าง คำตอบหนึ่งซึ่งอาจได้ยินบ่อยๆ และสร้างความฉงนมากๆ โดยเฉพาะถ้าเราไม่คุ้นเคยกับอุตสาหกรรมนี้ ก็คือ “สายหนังไม่อยากเอามาฉาย” ใครหรือคือ “สายหนัง” ที่ว่านั้น? นิยามสั้น ๆ ก็คงหมายถึง รูปแบบการจัดจำหน่ายหนังประเภทหนึ่งที่ “ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละภูมิภาค” มีบทบาทสำคัญในการพาหนังจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายส่วนกลาง ไปสู่ผู้ชมในพื้นที่ที่ตนเองดูแล แต่ก่อนจะไปพูดกันถึงสายหนังของเมืองไทย เรามารู้จักที่มาของ “ระบบสายหนัง”...

Business Update : นวัตกรรมใหม่ของคานส์ & อัพเดทมาตรการช่วยหนัง

เนื่องจากช่วงเวลานี้มีความเคลื่อนไหวมากมายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก เพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในการรับรู้ของผู้อ่าน คอลัมน์ Film Business จึงขอเพิ่มช่องทางที่ชื่อ Business Update เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวของธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอเชิญติดตาม ตลาดหนังเมืองคานส์กับนวัตกรรมใหม่ของตลาดภาพยนตร์ ขณะที่เทศกาลเมืองคานส์ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะจัดขึ้นเมื่อไร ในส่วนของตลาดภาพยนตร์ หรือ Marche du film ก็ประกาศแล้วว่า พวกเขามีแผนที่จะจัดตลาดหนังออนไลน์ หรือ เรียกว่า...

การดิ้นรนเฮือกสุดท้ายของคานส์ในปีแห่งภัยพิบัติ

Heading photo credit: wikimedia เมื่อวันจันทร์ที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสแถลงว่า จะขยายการล็อคดาวน์ประเทศไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม และหลังจากวันนั้นประชาชนน่าจะออกมาทำกิจกรรมได้บ้าง แน่นอน คำแถลงดังกล่าวไม่เป็นคุณต่อกิจกรรมและเทศกาลที่ต้องรวมคนจำนวนมาก เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสประกาศอย่างชัดเจนว่า เทศกาลต่างๆ จะจัดได้ก็ต่อเมื่อผ่านพ้นกลางเดือนกรกฎาคมไปแล้วเท่านั้น เท่ากับว่าความหวังของผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (ซึ่งตั้งใจจะจัดงานในช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อต้นกรกฎาคม) ต้องหมดลง และล่าสุด...

เมื่อประเทศทะเลาะกัน สะเทือนเลื่อนลั่นไปถึงวงการบันเทิง !

ขณะนี้กระแสที่มาแรงแซงทางโค้งอย่างไม่มีใครปฏิเสธคือ กรณีความขัดแย้งระหว่างแฟนคลับไทยและจีน ของกระแสซีรี่ส์วายเรื่องหนึ่ง ซึ่งเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าจะกลายเป็นสาระสำคัญ แต่บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งที่ดึงเอาเรื่องการเมือง การปกครองเข้ามาเกี่ยวข้อง เท่านั้นไม่พอ ยังดึงเอาปาร์ตี้ที่สามอย่างไต้หวันกับฮ่องกงซึ่งไม่พอใจจีนเป็นทุนเดิมเข้ามาร่วมวงด้วย หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจขยายวงไปเป็นข้อพิพาทในระดับที่สูงกว่า เช่น ซีรี่ส์เรื่องดังกล่าวอาจถูกแบนไม่ให้ฉายในจีนเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคงไม่ขยายความความขัดแย้งดังกล่าวไปมากกว่านี้ (ถ้าสนใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ดังกล่าว ขอแนะนำให้อ่าน poetry of bitch ครับ เขาสรุปลำดับเหตุการณ์ไว้ดีมาก) แต่อยากจะขอกล่าวถึง...