Interview

เจค วาชเทล ผู้กำกับจาก Karmalink (2021): ว่าด้วยความเป็นอเมริกันในกัมพูชา อดีตชาติ วัฏจักรแห่งการตายและการเกิด

ชายชาวอเมริกันผู้ร่ำเรียนด้านการทำงานของระบบประสาท มาทำหนังที่สำรวจความเป็นไปของมนุษย์ผ่านแนวคิดแบบพุทธ ทั้งเรื่องราวทั้งหมดยังเกิดขึ้นในพนมเปญ ฟังแล้วคล้ายว่าจะไม่มีอะไรเชื่อมโยงกัน แต่นั่นล่ะคือสิ่งที่ "เจค วาชเทล" กอรปสร้างขึ้นมาเป็นตัวหนังที่สุดแสนน่าสนใจเรื่องนี้

จากจุดเริ่มต้น…ถึง ‘ปรากฏการณ์’ ในชีวิตคนทำหนังของ “ต้น โก๋แก่”

ใน ‘Resemblance ปรากฏการณ์’ ต้น - จุมภฏ รวยเจริญทรัพย์ ผู้บริหาร 'โก๋แก่' ลุกขึ้นสร้างผลงานการกำกับเดี่ยวเต็มตัวครั้งแรก และมันยังคงอัดแน่นด้วยคอนเซปต์ความเป็นตัวของเขา - ที่แรง โป๊ ตรงไปตรงมา ท้าทายให้ผู้ชมได้มาลองพิสูจน์!

‘หน่าฮ่าน เดอะซีรีส์’ หรือว่าทำซีรีส์วัยรุ่นยุคนี้..ต้องทะลุเพดาน !? (แบบแตะการเมืองนิดๆ)

ผลงานซีรีส์เรื่องแรกของ อ้วน - นคร โพธิ์ไพโรจน์ และ ตั๊ก - ฉันทนา ทิพย์ประชาติ อย่าง ‘หน่าฮ่าน เดอะซีรีส์’ ซึ่งถูกต่อยอดจากเวอร์ชั่นภาพยนตร์ ‘หน่าฮ่าน’ เมื่อปี 2019 แสดงให้เราเห็นกลุ่มแก๊งวัยรุ่นอีสานที่หลงใหลในการเต้นหน้าเวทีหมอลำ กลับมาโลดแล่นมีชีวิตอีกครั้ง

‘โปรดิวเซอร์คือสะพานระหว่างความฝันและความจริง’ สนทนากับ ดีอานา บุสตามานเต หัวหน้าทีมโปรดิวเซอร์แห่ง Memoria (2021)

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2017 อภิชาติพงศ์ได้เจอบุสตามันเตเป็นครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์การ์ตาเฮนา เธอเปรยถึงโคลอมเบีย บ้านเกิดของเธอให้อภิชาติพงศ์ฟังคร่าวๆ ว่าช่างเป็นสถานที่ซึ่ง "เพี้ยนประหลาด"

จักรวาล นิลธำรงค์ : ‘เวลา’ ที่อาจไม่ได้เป็นเส้นตรง และตัวเราในตอนนี้กับอดีตอาจเป็นคนละคนกัน ?

หนังยาวเรื่องที่สองของเขา ‘เวลา’ Anatomy of Time เล่าเรื่องราวของ "แหม่ม" (เทวีรัตน์ ลีลานุช) หญิงชราวัย 70 ปี ที่ต้องดูแลสามีป่วยติดเตียงผู้เหลือเวลาในชีวิตไม่มากแล้ว และการรำลึกถึงความทรงจำในวัยสาวของเธอ กับเสนาธิการทหารคนหนึ่ง ในฉากหลังยุคการเมืองคุกรุ่น พ.ศ. 2524

‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ บทบันทึกความรื่นรมย์ที่สูญหายของ เป็นเอก รัตนเรือง

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564 เป็นวันครบรอบ 20 ปี หนัง ‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ …เป็นเอก รัตนเรือง พูดคุยผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเชียงใหม่ เพื่อทักทายกับผู้ชมในโรงหนัง

พร้อมแบกวงการหนังไทย และคริปโตโมเดล ของแกะดำ ‘เนรมิตรหนัง’

เนรมิตรหนัง ฟิล์ม คือค่ายที่ปูพรมซื้อสื่อโฆษณาทั่วประเทศให้หนังเรื่องแรก ‘4Kings อาชีวะยุค 90’ ทั้งบิลบอร์ด รถเมล์ รถไฟฟ้า ยันกะป๊อสองแถว

สมเกียรติ์ วิทุรานิช : 12 ปี October Sonata Conservative ที่ไม่เคยเปลี่ยนหลักการ

12 ปีที่ผ่านมา แทบทุกเดือนตุลาคม October Sonata ยังคงได้รับการพูดถึงอยู่เสมอ ในฐานะบทบันทึกหลักฐานชิ้นสำคัญบนหน้าประวิติศาสตร์การเมืองไทย ที่นำเสนอในรูปของหนังรัก

หากสารคดียังไร้กติกา ก็ไม่ต้องหาขอบเขตใน ‘ร่างทรง’

ในรอบ Q&A ของ ‘ร่างทรง’ ที่ Doc Club & Pub. เมื่อวันที่ 30 ต.ค. มีผู้ชมคนหนึ่งเผยความรู้สึกกับผู้กำกับ บรรจง ปิสัญธนะกูล ว่าเขาอยู่ในฝั่งไม่ชอบวิธีการใช้ Mockumentary กับหนังเรื่องนี้นัก...ซึ่งเราเพิ่งคุยกันเรื่องนี้ไม่กี่นาทีก่อนเข้าไปพบปะผู้ชม เนื่องจากกำลังเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกออนไลน์ระดับดุเดือด

ทำไมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศจึงให้ความสนใจภาพยนตร์ฟอร์มเล็กจากประเทศโลกที่สามอย่างภาพยนตร์ไทย?

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นักทำหนังไทยหลายคนมีโอกาสพาหนังของตนออกไปโลดแล่นที่เทศกาลหนังต่างแดนแล้วคว้ารางวัลกลับบ้านเกิดให้ชื่นมื่นอยู่ไม่น้อย ข่าวดีเหล่านี้สร้างความคึกคักให้แก่วงการภาพยนตร์ไทย

นนทวัฒน์ นำเบญจพล : ‘ดินแดง’ ม็อบเติบโต สังคมถดถอย

ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ เอื้อให้นักทำสารคดีไทยออกสำรวจได้หลากหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือ นนทวัฒน์ นำเบญจพล ผู้สวมปลอกแขนสื่อมวลชน คว้ากล้อง และตะลุยเข้าไปกลางสมรภูมิแยกดินแดง จนเกิดเป็นโปรเจกต์สารคดี Sound of ‘Din’ Daeng

‘พฤติการณ์ที่ตาย’ ใครว่าซีรีส์ไทยวิจารณ์อำนาจรัฐไม่ได้

ทีวีธันเดอร์ เป็นบริษัทที่ผ่านงานละครทางฟรีทีวีมาอย่างยาวนาน และน่าจะบอกเล่าได้ว่าอะไรคือปัจจัยที่ทำให้สื่อบันเทิงส่วนใหญ่ไม่สามารถแตะต้องประเด็นทางสังคมอันท้าทายเช่นนี้ เรามาพูดคุยกับ จารุพร กำธรนพคุณ ผู้อำนวยการสร้าง ‘พฤติการณ์ที่ตาย’ และ Chief Content Officer ของทีวีธันเดอร์

เอม-ภูมิภัทร ถาวรศิริ : บทบาทของการถูกกดขี่ที่มีอยู่ในเราทุกคน

สิ่งที่ทำให้ตอน 'รับน้อง' ในซีรีส์ 'เด็กใหม่ 2' (2021) ถูกหยิบขึ้นมาพูดถึงอย่างหนาหูไม่ใช่แค่ประเด็นความฉาวหรือความรุนแรงของมันเท่านั้น แต่มันยังรวมถึงการแสดงของ เอม-ภูมิภัทร ถาวรศิริ ที่ผลักตัวละครของเคให้ไปสู่ขอบเขตของความคลุ้มคลั่งในท้ายที่สุด

ณฐพล บุญประกอบ ‘เอหิปัสสิโก’ เรื่องของคนสองฝั่งที่มีรัฐเป็นกรรมการ

หลังจากแจ้งเกิดในวงกว้างด้วย '2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว' (2018) ณฐพล บุญประกอบ ก็หวนกลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวการเฝ้ามองและสำรวจความเป็นไปในวัดพระธรรมกายใน 'เอหิปัสสิโก' (Come and See) สารคดีที่บันทึกคำถามและแสวงหาคำตอบความขัดแย้งระหว่างความเชื่อและรัฐ

‘พญาโศกพิโยคค่ำ’ การบันทึกภาวะจิตใจอันแตกสลาย ของ ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์

‘พญาโศกพิโยคค่ำ’ คือหนังขาว-ดำที่เล่าเรื่องราวของครอบครัวหนึ่ง ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ ไล่เรียงมาตั้งแต่ 14 ตุลา 2516 จนมาถึงช่วงเหตุรัฐประหารปี 2549 ผ่านตัวละครหญิงสาว 3 รุ่น

“หนังดูที่ไหนก็ได้” 4 พื้นที่ดูหนังที่ได้มากกว่าการดูหนัง

เราไปทำความรู้จักกับสถานที่ฉายหนังเหล่านี้ที่เหมาะกับประโยค “หนังดูที่ไหนก็ได้” กัน

“แรงงานข้ามชาติ” ในหนังไทย เป็นผีตลอดไป ถ้าไม่ตาย…ก็ไม่ได้ยิน

ซึ่งเมื่อหันกลับมาสำรวจชีวิตของแรงงานข้ามชาติในหนังไทยแล้ว จริงอยู่ที่มีแง่มุมน่ารักๆ ปรากฏใน ‘รักภาษาอะไร’ และการสะท้อนความเป็นอยู่อย่างเข้มข้นใน ‘กระเบนราหู’ แต่นอกเหนือจากนั้น แรงงานข้ามชาติกลับมีบทบาทอยู่ในหนังผีแทบทั้งสิ้น ‘โควิด 19’ ในแรงงานข้ามชาติ และ แรงงานข้ามชาติใน ‘หนังผีไทย’ บางทีอาจมีอะไรบางอย่างที่ซ้อนทับกันอยู่…

ให้มันจบที่รุ่นเรา : การเมือง ประชาธิปไตย และคนรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (ตอนที่ 2)

(อ่านตอนแรกได้ที่นี่) เกม เบ็นโล คุณสองคนเพิ่งเริ่มทำงาน พวกคุณช่วยเล่าปัญหาของบัณฑิตสายภาพยนตร์ให้พวกเราฟังได้ไหม เบ็นโล : เราเพิ่งเจอสเตตัสของรุ่นพี่มหาลัย เราเองก็เจอเรื่องนี้เหมือนกันว่า ‘เราทำยังไงเราถึงจะเปลี่ยนมันได้วะเรื่องการเขียนบทไม่เซ็นสัญญา’ เขียนๆ ไปยังไม่รู้เลยค่าตอบแทนได้ตอนหนึ่งเท่าไหร่ แล้วเราก็เพิ่งนึกออกว่ามีสมาคมนักเขียนบทละครโทรทัศน์อยู่ ก็เลยไปดูเพจเขา สิ่งที่เขาทำคือจัดประกวดนักเขียนบทหน้าใหม่ซึ่งเรารู้สึกว่าประเทศเรามีการประกวดทำหนังสั้น ประกวดเขียนบทอะไรอย่างนี้เยอะนะ อยากจะหาดาวรุ่งพุ่งแรงหน้าใหม่ แต่คำถามมึงจะประกวดไปทำไมวะในเมื่อคนหน้าใหม่เข้ามาแม่งก็อยู่ไม่ได้ เรารู้สึกว่าการทำงานกับความเข้าใจของคนข้างนอกก็เรื่องหนึ่งแหละแต่ถ้าคนข้างในยังไม่เห็นค่าความเป็นมนุษย์ของแรงงานจบใหม่ (จิ๊ปาก) มันยากมากเลยเพราะคุณจะทำเหมือนฆ่าตัดตอนด้วยตัวคุณเอง...

ให้มันจบที่รุ่นเรา : การเมือง ประชาธิปไตย และคนรุ่นใหม่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (ตอนที่ 1)

ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองอันร้อนระอุในเวลานี้ เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่มีข่าวชุมนุมประท้วงรัฐบาลเราเห็นคนหนุ่มสาวจำนวนมากออกมาอยู่บนท้องถนน นักวิชาการรัฐศาสตร์อย่าง ผศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล เคยกล่าวเปรียบเปรยเด็กเหล่านี้ว่าพวกเขาเป็น “Angry Generation” 3 ทุ่มตรงคืนหนึ่งของคืนวันอาทิตย์ เป็นค่ำคืนอันเงียบงันสุดแสนจะธรรมดา พวกเราทั้งสี่คนนัดคุยกันผ่านโปรแกรมวิดีโอคอลตามชื่อหัวข้อบทความนี้ แคปเปอร์ (บุญฤทธิ์ เวียงนนท์) เกม (ธฤษณุ มงคลศิริ) และ เบ็นโล...

School Town King ก่อนเยาวชนคลองเตยจะปลดแอก

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. มีความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับผลการจัดเรตหนัง School Town King ‘แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน’ โดยเฉพาะข้อความที่บอกว่า “17 ธันวาคมนี้ (ถ้าได้ฉาย) ในโรงภาพยนตร์” โดยในเพจระบุว่าผลการจัดเรตจะออกในวันพุธที่ 1...

ชีวิตหลังถูกถอดตำแหน่ง ส.ส. ของ กอล์ฟ ธัญญ์วาริน

12 ปี ของการใช้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.255110 ปี จากวันที่ Insects in the Backyard โดนแบน และสู้จนสุดกระบวนการที่ศาลปกครองเกือบ 1 เดือน นับจากวันที่ ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ถูกตัดสิทธิการเป็น ส.ส. ธัญญ์วารินมีส่วนร่วมขับเคลื่อนอย่างเต็มตัวในทุกรอยต่อทางกฏหมายของหนังไทย...

‘รักหนูมั้ย’ ความทะเยอทะยานของอีสานคนนอก ภูวเนตร สีชมพู

‘ฝรั่ง’ คนนี้ เราคุ้นตาจากหนัง ‘ไทบ้าน เดอะซีรีส์’ ชื่อของเขาคือ ภูวเนตร สีชมพู หนุ่มยโสธร ผู้ซึ่งเว่าอีสานได้คล่องกว่าภาษาอังกฤษเสียอีก  ซึ่งด้วยรูปลักษณ์เช่นนี้ได้กันเขาออกจากสังคมอีสานแม้ว่าเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับมันมากแค่ไหนก็ตาม จนกระทั่งวันที่เขาทำหนังเรื่องแรก ก็ยังเป็นหนัง ‘นอกจักรวาลไทบ้าน’ เรื่องแรกของ ‘เซิ้ง’ อีกด้วย  ภูวเนตรเข้าใจดีของการเป็นคนนอก ซึ่งนั่นทำให้เขาได้ถอยออกมามองภาพกว้างของที่ที่เขาอยู่ นั่นทำให้ ‘รักหนูมั้ย’...

‘ลูกอีสาน’ ‘บ้านผีปอบ’ ในวันที่ไม่มีใครเป็นอื่นของ ธงชัย ประสงค์สันติ

ในความทรงจำของคนยุค 90 แบบผมนั้น นอกเหนือจากการเป็นหนึ่งในสมาชิก ‘สามโทน’ แล้ว ธงชัย ประสงค์สันติ ยังได้รับการจดจำในฐานะของนักแสดงตลกในหนังขายสายต่างจังหวัด โดยเฉพาะหนังชุด ‘บ้านผีปอบ’ ที่เขาวิ่งหนีผีอยู่หลายภาค แต่ความจริงที่ไม่ได้ปรากฏทางหน้าจอ คือช่วงชีวิตเริ่มต้นในวงการบันเทิงของธงชัย เคยผ่านการฝึกงานในกองถ่ายหนังเรื่องท้ายๆ ของ วิจิตร คุณาวุฒิ อย่าง ‘ลูกอีสาน’...

ความพยายามถมช่องว่างระหว่างรุ่นของ เสือ ยรรยง

เดิมที ‘เกมเมอร์ เกมแม่’ มีกำหนดเข้าฉายเดือน ก.พ. 63 ในวันนั้นจุดขายที่แข็งแรงที่สุดคงหนีไม่พ้นการในแข่งขันวงการอีสปอร์ต แต่การเลื่อนฉายหนีโควิด ทำให้สารของหนังร่วมสมัยยิ่งกว่าเดิม เพราะหัวใจของมันคือการหันหน้าเข้าหากันของคนสองรุ่น และนั่นเป็นสิ่งที่ผู้กำกับ เสือ-ยรรยง คุรุอังกูร ตั้งใจจะนำเสนอมาตั้งแต่ต้น เป็นสิ่งที่เขา ‘อิน’ ที่สุด จากคนเป็นพ่อที่แม้แต่เล่นเกมก็เล่นไม่เป็น กลายเป็นว่าหนังได้เข้าฉายในวันที่คนกำลังมองหาการเชื่อมต่อของคนต่างรุ่น ก็พอได้โจทย์ Mother Gamer มา เราก็มองว่าเป็นเรื่อง generation...

เปิดใจผู้กำกับ ‘ไบค์แมน’: หนังตลก การศึกษา ชาตินิยม

ตรงหน้านั้นคือหนังสือ ‘ลงเรือแป๊ะ’ ของ วิษณุ เครืองาม มันถูกคั่นไว้ที่ครึ่งเล่มเป็นสัญลักษณ์ว่าเจ้าของได้อ่านไว้ถึงหน้าไหน ซึ่งคนคนนั้นคือ พฤกษ์ เอมะรุจิ ผู้กำกับหนัง ‘ไบค์แมน’ ทั้งสองภาค  ‘ลงเรือแป๊ะ’ เป็นงานเขียนที่วิษณุบอกเล่าเรื่องราวอินไซด์การทำงานของ คสช. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยพฤกษ์ให้เหตุผลของการหยิบเล่มนี้มาอ่านเพราะอยากทำความรู้จักกับผู้เขียนให้มากขึ้น...

“พันธุ์หมาบ้า” ภาพสะท้อนการต่อสู้และหลีกหนีของคน GEN X (บันทึกการเสวนาก่อนฉายหนัง “พันธุ์หมาบ้า”)

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ก่อนการฉายหนัง “พันธุ์หมาบ้า” รอบพิเศษ ได้มีการเสวนาถึงอิทธิพลของวรรณกรรมต่อจิตวิญญาณของหนุ่มสาว Gen X ช่วงปลายยุค 80 ซึ่งด้วยความนิยมที่นิยาย “พันธุ์หมาบ้า” ของ ชาติ กอบจิตติ ได้รับ จึงน่าจะสะท้อนบรรยากาศในตอนนั้นได้ดี  ผู้เสวนาคือ โตมร...

นนทรีย์ นิมิบุตร กราฟลงของหนังไทย ทำให้โปรดิวเซอร์ทำงานหนักขึ้น

พ.ศ. 2540 หนัง ‘2499 อันธพาลครองเมือง’ ทำรายได้ไปราว 50 ล้านบาท พร้อมกอบกู้วิกฤตศรัทธาหนังไทยจากคนดูได้สำเร็จ เกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองการผลิตหนังไทยนับจากนั้นให้ใส่ใจและพิถีพิถันกับงานสร้างมากขึ้น  พ.ศ. 2563 หนัง ‘คืนยุติ-ธรรม’ ซึ่งนนทรีย์เป็นโปรดิวเซอร์ได้เข้าฉาย เป็นเวลา 20 ปีแล้วที่เขาอยู่ในวงการหนังไทยทั้งในฐานะผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ และตลอดระยะเวลานั้นเขาก็ร่วมเป็นสักขีพยานกับสายธารความนิยมหนังไทยอันผันผวนเรื่อยมา  เราคุยกันว่าหนังไทยนั้นมีวัฏจักรของมัน เมื่อถึงวันที่มันได้รับความนิยมมากเข้า...

‘พันธุ์หมาบ้า’ ลูกบ้าครั้งเดียวในชีวิตของ สหรัฐ วิไลเนตร

นับตั้งแต่ถูกรวมเป็นเล่มครั้งแรกเมื่อ มกราคม 2531 หลังตีพิมพ์ในนิตยสาร ลลนา รายปักษ์มายาวนานร่วม 2 ปี หนึ่งในผลงานที่โด่งดังที่สุดของนักเขียน 2 รางวัลซีไรต์ ชาติ กอบจิตติ อย่าง 'พันธุ์หมาบ้า' ก็ยังได้รับการพูดถึงจากรุ่นสู่รุ่น  'พันธุ์หมาบ้า' ว่าด้วยเรื่องราวของ อ็อตโต้ ทัย...

ทิศทางที่เปลี่ยนไปจากผู้บริหารหน้าใหม่ของ M39

ก้าวแรกของสตูดิโอ M39 มันเคยเป็นหนึ่งในความหวังสำคัญของวงการหนังไทย จนเมื่อตลาดหนังไทยมีการเปลี่ยนแปลง ผู้เล่นเก๋าเกมอย่าง M39 ก็มีการปรับโครงสร้างการบริหาร โดยผู้ที่มากุมบังเหียนยุคใหม่ของ M39 คือ ปัญชลีย์ นิธิจิระโรจน์ ซึ่งเปิดตัวด้วย ‘มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ’ ที่ทำรายได้ทั่วประเทศไปราว 60 ล้านบาทเลยทีเดียว  ปัญชลีย์และ M39...

เมื่อการ ‘บันดาลโทสะ’ คลี่คลายเป็น ‘คืนยุติ-ธรรม’

วิธีตอบคำถามของ โน้ต-กัณฑ์ปวิตร ภูวดลวิศิษฏ์ สะท้อนความไม่มั่นใจสักเท่าไหร่ จนแทบไม่น่าเชื่อว่างานกำกับชิ้นล่าสุดของเขาคือ ‘คืนยุติ-ธรรม’ อันว่าด้วยคนตัวเล็กๆ ที่ลุกขึ้นมาทวงคืนความไม่ยุติธรรมในหนึ่งคืนด้วยความโกรธแค้นล้วนๆ  ยิ่งเราย้อนกลับไปมองงานเรื่องก่อนหน้าของเขา ‘นมัสเตอินเดีย ส่งเกรียนไปเรียนพุทธ’ (2555) หนังโร้ดมูฟวี่อารมณ์ดีที่ว่าด้วยวัยรุ่นไทยกับการออกผจญภัยในอินเดียพร้อมศึกษาพระพุทธศาสนาไปในตัว มันช่างคนละทิศละทางกับหนังเรื่องล่าสุดนี้เหลือเกิน  ตัวตน ผลงาน และความมั่นใจ ของกัณฑ์ปวิตร กำลังย้ำเตือนเราว่าไม่ควรตัดสินทุกอย่างเพียงฉากหน้าเท่านั้น เช่นกัน บุคลิกของเขาทำให้เราเผลอตัดสินไปแล้วว่ากัณฑ์ปวิตรไม่น่าจะนำเสนอความรุนแรงได้...