อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงกับจุดเปลี่ยนที่ท้าทาย หลังจากกฎหมายความมั่นคงมีผลบังคับใช้

หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ฮ่องกงที่ดำเนินมากกว่าหนึ่งศตวรรษ อุตสาหกรรมหนังต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญมาหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ฮ่องกงกลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนังที่พูดภาษาจีนแทนเซี่ยงไฮ้ (ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางในทศวรรษ 1930) ผลิตหนังพูดภาษาจีนกลางและกวางตุ้งออกฉายในประเทศและส่งออกไปยังภูมิภาคใกล้เคียงอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก1 https://www.scmp.com/magazines/style/celebrity/article/3081457/how-did-hong-kong-film-industry-get-so-big-and-why-did-it

จนมาถึงทศวรรษ 1970 ที่อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงเติบโตมากขึ้น ผลิตหนังแนวศิลปะป้องกันตัวอันกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับความนิยมไม่เพียงเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วยชื่อของ บรู๊ซ ลี และ เฉินหลง จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของหนังกังฟูจากฮ่องกงที่หลายคนคุ้นเคยดี

ก้าวสู่ทศวรรษ 1980 หนังฮ่องกงยกระดับตัวเองกลายเป็นอุตสาหกรรมหนังใหญ่อันดับสามของโลก รองจากฮอลลีวูดและอินเดีย จากจำนวนหนังที่ผลิตกว่า 200 เรื่องต่อปี (โดยเฉพาะช่วงต้น 1990 มีจำนวนสูงถึง 400 เรื่องต่อปี!!)  ความหลากหลายของเนื้อหา และศักยภาพในการครองส่วนแบ่งทางการตลาดในหลายประเทศ2 https://www.scmp.com/business/article/2104540/its-fade-out-hong-kongs-film-industry-china-moves-spotlight

จนกระทั่งถึงกลางทศวรรษ 1990 อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงก็เข้าสู่ภาวะถดถอยจากการเข้ามายึดครองตลาดของฮอลลีวูด ความเสื่อมความนิยมของผู้ชม วิกฤตทางการเงินในช่วงปลายทศวรรษ และความกังวลต่อการกลับคืนสู่ประเทศจีนในปี 1997 ก่อนจะก็กลับมาตั้งหลักได้ในทศวรรษ 2000 พร้อมกับสูตรใหม่ทางธุรกิจ นั่นคือการร่วมทุนกับแหล่งทุนในประเทศจีนแล้วสร้างหนังที่ตอบสนองตลาดทั้งฮ่องกงและจีน ขณะที่หนังอิสระซึ่งเน้นกลุ่มผู้ชมฮ่องกงโดยเฉพาะก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมท้องถิ่น3 https://www.scmp.com/magazines/post-magazine/arts-music/article/3024826/hong-kong-cinema-not-dead-recent-chinese-box

อย่างไรก็ตาม มาถึงปี 2020 อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงก็กำลังจะพบกับจุดเปลี่ยนครั้งใหม่ ซึ่งเกิดจากแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่ดำเนินมากว่าหนึ่งปี เมื่อรัฐบาลจีนประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงเมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อันมีเนื้อหาระบุว่า ความผิดที่เข้าข่าย “การคุกคามความมั่นคงของฮ่องกง” (ซึ่งเป็นของจีน) นั้นประกอบด้วย การแบ่งแยกดินแดน การล้มล้างอำนาจของรัฐบาลกลาง การก่อการร้าย และการสมรู้ร่วมคิดกับกองกำลังต่างชาติ หรือกองกำลังจากภายนอก4 https://www.bbc.com/thai/international-53223146

ผลจากการการประกาศใช้กฎหมายที่มีบทรุนแรงถึงขั้นจำคุก 5-10 ปีนี้ สร้างความกังวลใจแก่ประชาชนฮ่องกงทุกภาคส่วนมาก โดยเฉพาะต่อเรื่องสิทธิในการแสดงออกซึ่งเป็นสิ่งที่คนฮ่องกงเชิดชูตลอดมา

มาถึงปี 2020 อุตสาหกรรมหนังฮ่องกงกำลังจะพบกับจุดเปลี่ยนครั้งใหม่อันเกิดจากแรงกระเพื่อมทางการเมืองที่ดำเนินมากว่าหนึ่งปี เมื่อรัฐบาลจีนประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงซึ่งสร้างความกังวลใจแก่ประชาชนมาก โดยเฉพาะต่อเรื่องสิทธิในการแสดงออกซึ่งเป็นสิ่งที่คนฮ่องกงเชิดชูตลอดมา

ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยสอบถามมิตรสหายที่อยู่ในอุตสาหกรรมหนังฮ่องกง ถึงความเห็นต่อความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะแสดงทัศนะ เนื่องจากมองว่ากฎหมายดังกล่าวเพิ่งประกาศใช้ และเกรงว่าการให้ความเห็นอาจส่งผลต่อสวัสดิภาพของตนเอง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนได้รับความร่วมมือจากคนในวงการ 3 คน ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะต้องไม่เปิดเผยชื่อของพวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงขอแทนชื่อบุคคลเหล่านี้ว่า A B และ C

A เป็นผู้สร้างและผู้จัดจำหน่ายอิสระ, B เป็นผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ และ C เป็นผู้สร้างและจัดจำหน่ายหนังที่มีสายสัมพันธ์ทดีกับแหล่งทุนในประเทศจีน โดยผู้เขียนขอสรุปความเห็นของพวกเขาดังต่อไปนี้

ผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อ “เสรีภาพในการแสดงออก”

เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อกฎหมายฉบับนี้ ทั้ง A B และ C มีความเห็นเหมือนกันว่า กฎหมายฉบับนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮ่องกงอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น โดย A ซึ่งเป็นผู้สร้างและผู้จัดจำหน่ายหนังอิสระกล่าวว่า “กฎหมายความมั่นคงจะทำให้เนื้อหาของหนังที่วิพากษ์รัฐบาลไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม หรือแม้แต่แค่แตะเพียงผิวเผินไม่สามารถถูกสร้างได้ เพราะเสี่ยงต่อการถูกลงโทษและถูกแบน” สอดคล้องกับความเห็นของ B ผู้กำกับหนังอิสระที่มองว่า กฎหมายดังกล่าวจะจำกัดความคิดสร้างสรรค์ด้วยการบีบให้ผู้สร้างหนังต้องเซ็นเซอร์ตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงการปัญหากับรัฐบาล ซึ่งในระยะยาวจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อวัฒนธรรมภาพยนตร์ของฮ่องกง

ขณะที่ C ให้ความเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบเฉพาะแค่กลุ่มผู้สร้างหนังอิสระที่มักจะสร้างผลงานวิพากษ์สังคมและการเมืองเท่านั้น ความเข้มงวดของกฎหมายจะทำให้พวกเขาต้องระมัดระวังประเด็นในการนำเสนอมากขึ้น แต่สำหรับผู้สร้างหนังในกระแสหลักซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ กฎหมายความมั่นคงอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต แต่ไม่น่ามีผลต่อการทำงานเพราะพวกเขาต้องระมัดระวังการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายเซ็นเซอร์ในประเทศจีนอยู่แล้ว

C ให้ความเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบเฉพาะแค่กลุ่มผู้สร้างหนังอิสระที่มักจะสร้างผลงานวิพากษ์สังคมและการเมืองเท่านั้น ความเข้มงวดของกฎหมายจะทำให้พวกเขาต้องระมัดระวังประเด็นในการนำเสนอมากขึ้น แต่สำหรับผู้สร้างหนังในกระแสหลักซึ่งต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแผ่นดินใหญ่ กฎหมายความมั่นคงอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต แต่ไม่น่ามีผลต่อการทำงานเพราะพวกเขาต้องระมัดระวังการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายเซ็นเซอร์ในประเทศจีนอยู่แล้ว

การปรับตัว และอนาคตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮ่องกง

ในส่วนคำถามที่ว่า พวกเขาจะต้องปรับตัวกับกฎหมายฉบับใหม่อย่างไร A กล่าวว่า สำหรับระยะแรก เขายังคงเดินหน้าจัดจำหน่ายหนังที่พร้อมฉายแล้วต่อไป แต่ในระยะยาว เขาเชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวจะต้องส่งผลกระทบต่อโปรเจ็กต์ที่ยังไม่เข้าฉาย รวมถึงโปรเจ็กต์ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา และอาจจะต้องนำไปสู่การปรับกระบวนการคิดใหม่ อย่างไรก็ตาม A เสริมว่า แม้ในอนาคต การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อาจทำได้ยากขึ้น  แต่การปิดกั้นทางความคิดก็อาจก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่แห่งการสร้างสรรค์ (new wave of creativity) ก็เป็นได้

ขณะที่ B เชื่อว่า วิธีที่ดีที่สุดในการปรับตัวเข้ากับกฎหมายความมั่นคงก็คือการไม่ปรับตัวใด ๆ เธอเชื่อว่าเมื่อนักทำหนังถูกบีบคั้นมาก ๆ พวกเขาก็จะลุกขึ้นตอบโต้ ด้วยการหันไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนอื่นที่ไม่ใช่ทุนจากแผ่นดินใหญ่ แล้วผลิตผลงานที่เปี่ยมไปด้วยเสรีภาพแห่งการสร้างสรรค์

A เสริมว่า แม้ในอนาคต การสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ อาจทำได้ยากขึ้น แต่การปิดกั้นทางความคิดก็อาจก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่แห่งการสร้างสรรค์ (new wave of creativity) ก็เป็นได้

ส่วน C มองว่า อุตสาหกรรมหนังคงไม่ต้องปรับตัวอะไรหากรู้ว่าอะไรที่ควรทำ อะไรไม่ควรทำ ส่วนอนาคตของหนังฮ่องกงนั้น C มองว่าคงจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เพราะบุคลากรจำนวนไม่น้อยได้ย้ายเข้าไปทำงานบนแผ่นดินใหญ่อย่างต่อเนื่อง เหลือไว้แต่คนทำหนังที่ผลิตผลงานเพื่อตอบสนองผู้ชมฮ่องกงจริง ๆ

เมื่อพิจารณาจากความเห็นของทั้งสามคน แม้คำตอบจะเหมือนและแตกต่างกันในบางประเด็น  แต่โดยรวมแล้วทุกคนคงรู้สึกไม่ต่างกันว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่เคยยิ่งใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งในไม่ช้า

ภาณุ อารี
ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์ เนชั่นแนล นอกจากนี้ ยังเป็นนักทำหนังสารคดี เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาธุรกิจภาพยนตร์และวิชาผลิตภาพยนตร์สารคดี และเป็นนักเขียนในบางวาระ

RELATED ARTICLES