AUTHOR

กฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ

ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่แถบอีสานใต้ งานอดิเรกคือเขียนถึงงานศิลปะและภาพยนตร์

ตื่นเพื่อที่จะฝัน: การตั้งคำถามท้องฟ้าและปมอิดิปัสใน Bodo (1993) และ รักที่ขอนแก่น (2015)

ถ้าหาก “รักที่ขอนแก่น” มีท่าทีของการพยายามทำลายอำนาจเผด็จการทหารและชายเป็นใหญ่ Bodo ก็เช่นกัน ผ่านตัวละครเพศชายจำนวนมากที่ไม่เป็นการเป็นงาน เพราะไม่มีการสู้รบจริงๆ กองทัพจึงเป็นการป้องกันศึกภายในมากกว่าศึกภายนอก

ท่วงท่าของความทรงจำ: การปรับและรับรู้สมดุลของแรงสั่นสะเทือนจากโคลอมเบียถึงไทยใน Memoria (2)

การรับรู้ความรู้สึกและเชื่อมโยงกับความทรงจำกลายเป็นสิ่งสำคัญ เสียงใน Memoria กระตุ้นความทรงจำผ่านการสั่นไหวของกระดูกสามชิ้นในหูชั้นในและส่งกระแสประสาทควบคู่กับการรับรู้ความสมดุลของตำแหน่งของศีรษะผ่านเส้นประสาทคู่ที่ 8 ขึ้นไปที่สมองส่วนธาลามัสที่เป็นจุดทางผ่านของผัสสะ ก่อนจะวิ่งไปแปลผลที่สมองส่วนหน้าและด้านข้าง 

ท่วงท่าของความทรงจำ: การปรับและรับรู้สมดุลของแรงสั่นสะเทือนจากโคลอมเบียถึงไทยใน Memoria (1)

Memoria ทำให้เราสัมผัสถึงการสั่นไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวทั้งพื้นพิภพของภาพยนตร์ การยักย้ายปรากฎเป็นการเปิดออกที่เชื่อมโยงไปถึงเวลาหรือชีวิต มากกว่าเนื้อหาและพื้นที่ที่หยุดนิ่ง การสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องทำให้ภาพยนตร์มีชีวิตเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา

จากค็อกเทลถึงเหล้าขาว ผู้หญิงและปมที่ไม่ได้รอคอยผู้ชายกลับไปแก้ไข ใน One for the Road

ผู้เขียนพบว่ามีคนเทียบ One for the Road กับ Happy Old Year เยอะพอสมควร แต่ด้วยความที่ผู้เขียนเพิ่งได้ดู Drive My Car ก็อดคิดเทียบกันไม่ได้ ในแง่ที่ว่ามันเป็นโร้ดมูฟวี่ และเป็นเรื่องของการกลับไปเผชิญหน้าอดีตอันขมขื่นของผู้ชายที่ไม่เอาไหน

ปลดแอกอาณานิคมสยามและแรงปรารถนา ใน มะลิลา

ในทางศาสนาพุทธ ความปรารถนาเป็นใจกลางของความทุกข์และการยึดติดผ่านแนวคิดปฏิจจสมุปบาท สำหรับชาวพุทธแล้วระหว่างความปรารถนาและการยึดติดจำเป็นที่จะต้องแยกขาดออกจากกัน พระและผู้ปฏิบัติธรรมจะแยกระหว่างความปรารถนา การยึดติด และความทุกข์ ออกจากกันได้ ด้วยการเผชิญหน้ากับซากศพ นั่นคือ อสุภกรรมฐาน เพื่อให้ค้นพบภาพลวงตาของความปรารถนาและความไร้ประโยชน์ของการยึดติดผ่านการใช้เรือนร่างเพศหญิง

ต่อต้านด้วยการร่อนเร่: อารมณ์ รา มันฝรั่ง และเพศภาวะใน Vagabond

อานเญส วาร์ดาเขียนบันทึกถึงตัวเองไม่กี่วันก่อนถ่ายทำ Vagabond ว่า “สิ่งที่ต้องการคือประสบการณ์ ภาพ หรือสิ่งที่คาดไม่ถึง มากกว่าจะเน้นที่เรื่องราวหรือการขุดคุ้ยทางจิตวิทยา”

แช่แข็งความฝัน ฝากไว้ที่อนาคต: สภาวะคู่ตรงข้ามใน Hope Frozen

“...แต่ว่าเราที่เป็นคนผลิตคอนเทนต์ก็คิดว่า ควรจะผลิตเนื้อหาแบบอื่นด้วยไหม คือพอเราไปคุยกับเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ พอบอกว่า เมืองไทย เขาก็จะนึกถึง ‘ชายหาดที่สวย’ ‘สิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้น’ แล้วก็ ‘ความยากจน’ ทำให้เขาดูเราเหมือนเราด้อยกว่า ไม่เท่าเทียมกัน ก็เลยอยากจะผลิตอะไรให้เขาเห็นด้วยว่า ‘เมืองไทยก็มีนักวิทยาศาสตร์’ ‘เมืองไทยก็มีคน upper middle class’...

ขอเวลาอีกไม่นาน: สื่อและเวลาในสถานะผู้กระทำที่ถูกยืดยาวออกไปไม่รู้จบ

“ขอเวลาอีกไม่นาน” นิทรรศการศิลปะของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 9 สิงหาคม 2563 ที่ BANGKOK CITYCITY GALLERY มีผลงานหลักคือวิดีโอที่ถูกฉายบนจอ 4 จอในห้องแสดงหลัก ภาพและคำบรรยายในวิดีโอถูกทำขึ้นจากการตัดนำเอาภาพจากหนังสือพิมพ์และข้อความมาผสมปนกัน...

หนทางสู่บ้านของต๊ะ : การกลับไปหาเครือข่ายที่โยงใยระหว่างมนุษย์และนอกเหนือจากมนุษย์

ในนิทรรศการศิลปะจัดวางนี้ นนทวัฒน์ นำเบญจพล พาเราติดตามการเดินทางกลับบ้านของชายหนุ่มชาวไทใหญ่ผู้มาทำงานที่เมืองไทยกว่า 6 ปี สะท้อนและต่อต้านการแตกสลายของความเป็นชุมชนโดยทุนนิยม ภายใต้การสอดแนมโดยรัฐประชาชาติ

ฆาตกรรมที่มิสซิสซิปปี: การกลายเป็นทาส การกลายเป็นคนขาว และภาวะขาดอากาศในรัฐที่ท่วมท้นด้วยเสรีภาพ

กลางศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งรกรากในทวีปอเมริกาเพื่อล่าทองคำจากชาวพื้นเมืองคือชาวสเปน และเริ่มก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกเมื่อ ค.ศ. 1565 ก่อนที่ชาวอังกฤษจะเข้ามาตั้งอาณานิคมที่เมืองเจมส์ทาวน์เมื่อปี ค.ศ. 1607 แต่การอพยพของชาวยุโรปที่สำคัญและจำนวนมากคือผู้อพยพนิกาย Puritans เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1620 ที่เดินทางโดยเรือ Mayflower จากท่าเรือ...

ส่วนน้อยสละเพื่อส่วนใหญ่: วาทกรรมความสุขของผู้ปกครอง ปัญญาชนผู้หวังดี ความทุกข์ของชาวอีสานและทองปานผู้หายสาบสูญ

ทศวรรษที่ 1960 สงครามเย็นแผ่ขยายเข้าปกคลุมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทหารอเมริกันรวมถึงนักพัฒนาและนักสร้างเขื่อนจากอเมริกา หน่วยงานพัฒนาที่ดิน (BuRec) ทีมเดียวกับที่สร้างเขื่อนฮูเวอร์ การเข้ามาตั้งฐานทัพจำนวนมากในภาคอีสานพร้อมกับเขื่อนถูกสร้างเพื่อส่งกระแสไฟ อูจีน แบลค หัวหน้าทีมประสานงานให้กับสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำไทยเป็นพิเศษ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ให้ความสนพระทัยเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับจอมพลสฤษฎิ์ก็ให้ความร่วมมือกับโครงการสร้างเขื่อนของสหรัฐฯ มีการก่อตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นก็เกิดขึ้นเพราะจอมพลสฤษฎิ์ดำเนินตามนโยบายสหรัฐฯ รวมไปถึง ป๋วย อึ้งภากรณ์...

In Comparison

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นับเป็นรุ่งอรุณทางความคิดว่าด้วยทัศนานิยม (visualism) ในการสร้างองค์ความรู้อันได้แก่วิทยาศาสตร์และสาขาวิชาต่างๆ เพื่อการทำความเข้าใจสังคม งานศิลปะถูกแยกออกจากงานฝีมือ เพราะถือว่างานช่างเป็นของชนชั้นต่ำที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสุนทรียศาสตร์ และนี่ก็มาพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมที่เน้นการแสดงสินค้ากระตุ้นเร้าใจให้คนอยากจับจ่ายใช้สอย การควบคุมการมองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทการสร้างสถาบันและระเบียบวินัย (discipline) นับตั้งแต่โรงเรียน โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงองค์กรต่างๆ กฎระเบียบของการควบคุมผัสสะอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมองจึงถูกสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นห้ามกินอาหาร ห้ามสัมผัส ห้ามส่งเสียงดัง...

The Mudguard and A Lonely Monkey

ในบทความ กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่าน “จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ” โดย ชาตรี ประกิตนนทการ เสนอให้เห็นถึงกระบวนการสร้างรัฐ (state formation) ผ่านโครงการระยะยาวของชนชั้นนำสยามในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 ที่พยายามสำรวจและรวบรวมข้อมูลศิลปวัตถุ รวมถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดเครื่องมือของรัฐที่เป็นองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ชาตรีเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าจินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ ซึ่งกลุ่มสยามหนุ่มที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐ (state transformation) จากรัฐจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งในยุคสมัยของพระองค์มีการเปลี่ยนผ่านโลกทัศน์ที่มีต่อศิลปวัตถุ...

From Now On

วันที่ 20 มกราคม 2557 เกิดการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายจำนวนมากที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย พวกเขาพากันหยุดเรียนและเดินออกมารวมตัวกัน ที่บริเวณหน้าอาคาร พร้อมเป่านกหวีดเพื่อประท้วงขับไล่ นายเฉลิมศักดิ์ ภาระธัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และอาจารย์บางคน โดยอ้างว่าถูกบังคับไปร่วมรณรงค์เลือกตั้ง จนนำไปสู่กระแสติดแฮชแท็ก #shutdownAYW ในทวิตเตอร์ และมีการแชร์ภาพนักเรียนถือป้าย "บังคับกูมา" กลางงานรณรงค์ด้วย สาเหตุของการประท้วงเริ่มจากความไม่พอใจที่มีการจัดให้นักเรียนไปรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าเมื่อวันที่ 17 มกราคม...

สันติ – วีณา

* บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์ สันติ-วีณา ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดย รัตน์ เปสตันยี ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 ที่เคยถูกเล่าขานกันว่าเป็นภาพยนตร์ไทยดีที่สุดเรื่องหนึ่งและหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่มีฟิล์มเนกาทีฟหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย จนกระทั่งหอภาพยนตร์ได้ดำเนินโครงการตามหาชิ้นส่วนที่ตกหล่นอยู่ที่ประเทศอังกฤษ รัสเซียและจีน ประกอบร่างของภาพยนตร์นี้ขึ้นอีกครั้ง และได้ถูกฉายในสาย Cannes Classic ของเทศกาลภาพยนตร์คานส์ ครั้งที่ 69...