ฆาตกรรมที่มิสซิสซิปปี: การกลายเป็นทาส การกลายเป็นคนขาว และภาวะขาดอากาศในรัฐที่ท่วมท้นด้วยเสรีภาพ

กลางศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งรกรากในทวีปอเมริกาเพื่อล่าทองคำจากชาวพื้นเมืองคือชาวสเปน และเริ่มก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกเมื่อ ค.ศ. 1565 ก่อนที่ชาวอังกฤษจะเข้ามาตั้งอาณานิคมที่เมืองเจมส์ทาวน์เมื่อปี ค.ศ. 1607 แต่การอพยพของชาวยุโรปที่สำคัญและจำนวนมากคือผู้อพยพนิกาย Puritans เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1620 ที่เดินทางโดยเรือ Mayflower จากท่าเรือ Plymouth มาเทียบท่าที่อ่าวแมสซาชูเซตส์

กลุ่มผู้อพยพ Puritans ผู้ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของจอห์น คาลแวง นักสอนศาสนาชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 พวก Puritans หลบหนีการกวาดล้างถูกจับเผาทั้งเป็นจากนิกายอังกฤษ (Church of England) จากการปฏิรูปศาสนา (Reformation) ที่สำหรับ Puritans ไม่ได้ศรัทธาในรูปเคารพและพระเจ้าสำหรับพวกเขาคือการยึดตัวบทพระคำภีร์ และรู้สึกว่านิกายโรมันคาทอลิกคือความเสื่อมโทรมของศาสนา พระและบาทหลวงมีความเป็นอยู่อย่าง ฟุ่มเฟือย หรูหรา ทั้งยังเรียกเก็บภาษีบำรุงศาสนาสูงขึ้น 

พวกเขาถือตนเองว่าเป็นชนชาติที่ได้รับเลือกโดยพระเจ้า (Chosen people) มีหน้าที่กำจัดคนที่เห็นต่างหรือต่อต้านพระเจ้า (anti-christ)  มีเจตจำนงเป็นของตนเอง (self-determinism) หวังจะมาสร้างดินแดนใหม่แห่งนี้ตามเจตจำนงของพระเจ้าให้เป็นดินแดงแห่งความถูกต้องและความสุข (Millennium) John Winthrop หนึ่งในผู้นำการเดินทางออกสู่ทวีปอเมริกากล่าวไว้ว่า “เราจะเป็นดั่งนครบนภูเขา (Wee shall be as a City upon a Hill)” ที่แบบอย่างที่ดีให้คนทั้งโลกต้องจับจ้อง

พวกเขาถือตนเองว่าเป็นชนชาติที่ได้รับเลือกโดยพระเจ้า (Chosen people) มีหน้าที่กำจัดคนที่เห็นต่างหรือต่อต้านพระเจ้า (anti-christ)  มีเจตจำนงเป็นของตนเอง (self-determinism) หวังจะมาสร้างดินแดนใหม่แห่งนี้ตามเจตจำนงของพระเจ้าให้เป็นดินแดงแห่งความถูกต้องและความสุข (Millennium) John Winthrop หนึ่งในผู้นำการเดินทางออกสู่ทวีปอเมริกากล่าวไว้ว่า “เราจะเป็นดั่งนครบนภูเขา (Wee shall be as a City upon a Hill)” ที่แบบอย่างที่ดีให้คนทั้งโลกต้องจับจ้อง

พวกเขาเข้ามาตั้งชุมชนที่พักอาศัย เพาะปลูก และป้อมปราการหลบภัยจากชนพื้นเมืองและชาวต่างชาติ และสร้างเมืองในฐานะ “นครแห่งพระผู้เป็นเจ้า (a city of God)” ในปลายศตวรรษที่ 18 ผู้อพยพไม่ได้มาเพราะความเชื่อทางศาสนาเพียงอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงนักแสวงโชคและหาโอกาสในการทำธุรกิจด้วย รูปแบบการเมืองของพวก Puritans สนับสนุนให้เกิดการเมืองแบบตัวแทน (representative) แม้จะมีกฎหมายที่ควบคุมอาณานิคมยังต้องผ่านกฎหมายของอังกฤษ (Act of 1430) นี่จึงเท่ากับเป็นการส่งทอดมรดกการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชของอังกฤษมาสู่การเมืองอเมริกันยุคอาณานิคม ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งก็ยังจำกัดอยู่ในคนที่มีทรัพย์สินโดยสมบูรณ์ (freehold property) เช่นต้องมีเงินอย่างน้อย 50 ปอนด์ หรือมีที่ดินอย่างน้อย 100 เอเคอร์

แม้จะมีการเลือกตั้ง แต่การตัดสินใจก็ยังขึ้นกับเขตอาณานิคม ประชาชนอาณานิคมรู้สึกว่าถูกประเทศแม่เอาเปรียบผ่านพระราชบัญญัติทาวน์เซนด์ (Townsend Acts) ไม่มีสิทธิคัดค้าน ภาษีก็ต้องจ่ายแต่แทบไม่ได้รับผลประโยชน์ ความไม่พอใจของประชาชนนำไปสู่การประท้วงที่เมืองบอสตันและการสั่งหารหมู่ ปี ค.ศ. 1770 ตามมาด้วยการปลอมตัวเป็นอินเดียนแดงแล้วไปขโมยใบชาไปโยนทิ้งแม่น้ำ ในปี ค.ศ. 1773 จนในท้ายที่สุดก็เกิดสงครามกองทหารอาณานิคมกับทหารอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1775 

กองทัพอังกฤษพ่ายแพ้เพราะขาดงบประมาณและในช่วงนั้นก็กำลังทำสงครามในยุโรป โทมัส เจฟเฟอรสันเขียนประกาศอิสรภาพว่า “อาณานิคมทั้งหลายเป็นอิสระและเป็นเอกราช (Free and independent states)” ในปี ค.ศ. 1776 และมีรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1787 เพื่อบรรลุถึง “ความปลอดภัยในชีวิต เสรีภาพ และการเสาะแสวงหาความสุข” พวกเขาพยายามสร้างสาธารณรัฐที่ดีงาม ดังที่โธมัส เพน เขียนไว้ใน Common Sense (1776) โจมตีระบอบกษัตริย์ว่าฉ้อฉลและทุจริต อันถือเป็นการละเมิดเสรีภาพทางโลกและศาสนา

ด้วยเจตจำนงอันหนักแน่นของพวกเขาที่ยึดมั่นในเสรีภาพและถือว่าเป็นอิสระจากระบอบกษัตริย์ที่ล้าหลังคร่ำครึ ชนชาติอเมริกันแองโกลแซกซอน (Anglo-Saxons) จึงเกิดสำนึกว่าตนเป็นชาติที่พิเศษและเหนือกว่าชาติอื่นๆ (American Exceptionalism) โลกเก่าสำหรับชาวแองโกลแซกซอนจึงเป็นพวกประเทศที่ปกครองแบบศักดินาและชนชั้น อันแตกต่างจากชาวแองโกลแซกซอนซึ่งสำนึกตนเองว่าเป็นโลกใหม่ที่สามารถตัดสายสะดือจากแม่ได้เด็ดขาดแล้ว ชาวแองโกลแซกที่มีระบบเน้นเหตุผล (Rationality) เสรีภาพ และความเสมอภาค

ด้วยเจตจำนงอันหนักแน่นของพวกเขาที่ยึดมั่นในเสรีภาพและถือว่าเป็นอิสระจากระบอบกษัตริย์ที่ล้าหลังคร่ำครึ ชนชาติอเมริกันแองโกลแซกซอน (Anglo-Saxons) จึงเกิดสำนึกว่าตนเป็นชาติที่พิเศษและเหนือกว่าชาติอื่นๆ (American Exceptionalism) โลกเก่าสำหรับชาวแองโกลแซกซอนจึงเป็นพวกประเทศที่ปกครองแบบศักดินาและชนชั้น อันแตกต่างจากชาวแองโกลแซกซอนซึ่งสำนึกตนเองว่าเป็นโลกใหม่ที่สามารถตัดสายสะดือจากแม่ได้เด็ดขาดแล้ว ชาวแองโกลแซกที่มีระบบเน้นเหตุผล (Rationality) เสรีภาพ และความเสมอภาค

แม้จะยึดถือในเสรีภาพดังคำกล่าวของโธมัส เพน แต่ในทางปฏิบัติแล้วชาวแองโกลแซกซอนกลับสวนทางกับคุณค่าที่พวกเขายึดถือ เพราะเสรีภาพกลับถูกยึดไว้แต่เพียงคนไม่กี่คน ผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นชายผิวขาวที่ร่ำรวย (propertied white males) ชาวอเมริกันพื้นเมืองไม่สามารถสร้างผลผลิตทางการเกษตรได้เท่ากับคนแอฟริกันที่คนผิวขาวลักพาตัวพวกเขาจากทวีฟแอฟริกามาเป็นทาสภายในนามของพระเจ้า การค้าขายแรงงานทาสคนแอฟริกันจึงเฟื่องฟูอย่างมากตั้งแต่ ค.ศ. 1502-1870 ทำให้ชาวผิวขาวสร้างรายได้มหาศาลจากการค้ากาแฟ ฝ้าย น้ำตาล ข้าว เหมืองแร่ และยาสูบ ประมาณการว่ามีการค้าทาสกว่า 15 ล้านคนบริเวณสามเหลี่ยมค้าทาส (Triangular trade) แม้แต่เจฟเฟอร์สันผู้ร่างประกาศอิสรภาพก็ยังมีทาสไว้รับใช้จนเขาเสียชีวิต

จากอุดมคติว่าสาธารณรัฐที่ดีงาม (Republicanism) โธมัส เพนเคยกล่าวว่าการเปิดประเทศไปค้าขายภายนอกจะทำให้ลุ่มหลงกับเงินตรา ความร่ำรวย ซึ่งไปไม่ได้กับรัฐมหาชนและจะทำลายจิตวิญญาณของความเป็นสหรัฐฯ แต่เมื่อแรงงานทาสสร้างผลผลิตจนล้นเกินก็จำเป็นต้องขยับขยายการค้าออกไปยังยุโรปแผ่นดินแม่ โธมัส เพนกลับมากล่าวทีหลังว่า “การค้าจะทำให้จิตใจมนุษย์อ่อนโยนและเข้าอารยธรรมอื่นๆมากขึ้น” นี่จึงเป็นจุดที่สร้างความเชื่อมั่นในหมู่ผู้ก่อตั้งรัฐในฐานะประเทศทุนนิยมอเมริกัน (capitalist America) เพนได้บอกว่าชาวโลกจำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของอเมริกัน 

ขนาดของสหรัฐเติบโตขึ้นอย่างมาก ในทศวรรษที่ 1820 จาก 13 รัฐดั้งเดิม เป็น 24 รัฐ มีประชากรเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 22 ปี แต่เบื้องหลังการเจริญเติบโตเหล่านี้ก็แลกมาด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนพื้นเมือง พวกเขาส่วนหนึ่งต้องอพยพไปอยู่แดนไกล โดยคนขาวอ้างว่าแผ่ขยายดินแดนเพื่อปกป้องและเผยแพร่สิทธิเสรีภาพ James Madison ผู้สืบทอดอำนาจจากเจฟเฟอร์สันก็ยังรวบอำนาจไว้ที่ฝ่ายบริหารแม้ปากของเขาจะรังเกียจและหวาดกลัวการยึดอำนาจไว้แต่เพียงผู้เดียวก็ตาม ระบบการปกครองรัฐแบบเจฟเฟอร์สัน-แมดิสันนี้นำไปสู่การสร้าง “กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า (economic and comercial group)” ของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งและยืนยงคงกระพันมาอย่างยาวนาน กลุ่มนี้เองมีอิทธิพลต่อทิศทางนโยบายการต่างประเทศของจักวรรดิอเมริกันในเวลาต่อมา

ช่วงศตวรรษที่ 19 การขยายตัวของทุนนิยมและยึดครองดินแดนทางตะวันตกมากขึ้น นายทุนทางภาคเหนือต้องการแรงงานอิสระเพื่อเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม ขัดแย้งกับนายทาสทางใต้ที่ยังต้องการทาสเอาไว้ทำเศรษฐกิจแบบการเกษตร ช่วงทศวรรษที่ 1869 จึงเกิดการต่อสู้ทางความคิดระหว่างรัฐทาส (slave states) กับรัฐที่ส่งเสริมระบบทุนเสรีนิยม (free states) การชนะเลือกตั้งของลินคอล์นใน ค.ศ. 1860 นำไปสู่การต่อต้านจากรัฐทางใต้ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนไปเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา (Confedrate States of America) 

จนสุดท้ายลินคอล์นก็ประกาศเลิกทาสใน ค.ศ. 1863 หลังจากสงครามกลางเมืองช่วง 1861-1865 ซึ่งคนแอฟริกันถูกให้คำสัญญาว่าถ้ามาช่วยรบรัฐทางใต้ พวกเขาจะได้เป็นทาสที่เป็นอิสระ (free slaves) ในขณะที่รัฐตอนเหนือก็ไม่ได้เห็นใจทาส เพียงแต่มองว่าทาสที่ติดที่ดินไม่เอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งกำลังมาแทนที่เกษตรกรรม

จนสุดท้ายลินคอล์นก็ประกาศเลิกทาสใน ค.ศ. 1863 หลังจากสงครามกลางเมืองช่วง 1861-1865 ซึ่งคนแอฟริกันถูกให้คำสัญญาว่าถ้ามาช่วยรบรัฐทางใต้ พวกเขาจะได้เป็นทาสที่เป็นอิสระ (free slaves) ในขณะที่รัฐตอนเหนือก็ไม่ได้เห็นใจทาส เพียงแต่มองว่าทาสที่ติดที่ดินไม่เอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมซึ่งกำลังมาแทนที่เกษตรกรรม

หลังสงครามกลางเมือง สมาชิกผู้แทนฯ กลุ่มรีพับลิกันได้ผลักดันรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองขึ้น (Civil Rights Act of 1866) ทำให้ผู้ที่เกิดบนแผ่นดินอเมริกาเป็นพลเมืองเต็มขึ้น แม้จะต้องมีการแก้ไขตัวบทอีกหลายครั้งตามมาเพื่อให้ครอบคลุมพลเมืองมากที่สุด รวมไปถึงการแก้ตัวบท 15 ทำให้พลเมืองมีสิทธิเลือกตั้ง ใน ค.ศ. 1870 ในแต่ทางปฏิบัติแล้วคนผิวดำก็ยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งเพราะถูกจำกัดด้วยข้ออ้างว่า เคยเป็นทาสมาก่อน ฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี บรรพบุรุษต้องมีสิทธิเลือกตั้งก่อนสงครามกลางเมือง หรือไม่ผ่านการทดสอบการรู้หนังสือ (Literacy Test) โดยเฉพาะรัฐฝ่ายใต้พยายามออกกฎที่จำกัดคนผิวสี เช่น เกณฑ์ภาษีรายหัว (Poll Taxes) และกฎหมายแบ่งแยกเชื้อชาติสีผิว (Segregation law) 

ฝ่ายใต้ไม่พอใจกฎหมายที่เป็นผลผลิตของพวกรีพับริกันนิยมเสรีของฝ่ายเหนือที่พยายามมารับรองสิทธิคนดำนำไปสู่การเคลื่อนไหวกลุ่ม Ku Klux Klan ที่เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1866 โดยพลเมืองผิวขาวนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ เพื่อเชิดชูชนชาติผิวขาว (white supremacy) ต่อต้านศาสนาอื่นๆ สร้างความหวาดกลัวผ่านการวางเพลิงและฆาตกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนผิวดำ โดยเฉพาะหลังการประนีประนอมระหว่างรัฐฝ่ายเหนือและใต้ (Compromise of 1877) ยิ่งนำไปสู่ “ยุคมืด” ของคนผิวดำและสิทธิพลเมืองสหรัฐฯ แม้จะมีความพยายามของขบวนการสตรีนิยมเรียกร้องสิทธิสตรีในปลายศตวรรษที่ 18 แต่กว่าจะสำเร็จก็ผ่านไป 42 ปี คือเมื่อ ค.ศ. 1920 ผู้หญิงถึงมีสิทธิเลือกตั้ง เช่นเดียวกับกลุ่มคนพื้นเมืองที่ถูกละเลยและไม่ได้เป็นพลเมืองมาตลอดเพราะไม่ได้เสียภาษีจึงไม่มีสิทธิเลือกตั้ง กว่าจะถือว่าเป็นพลเมืองก็ ค.ศ. 1924 

ยุคมืดของคนผิวดำหลัง ค.ศ. 1877 โดยเฉพาะในรัฐทางใต้และตะวันออกที่สมาชิกผู้แทนฯ กลุ่มเดโมแครตขึ้นมีอำนาจ เต็มไปด้วยแนวคิดการแบ่งแยกผ่านระบบ Jim Crow หรืออีกาดำ ถ้าคนดำฝ่าฝืนจะถูกจับหรือสังหาร การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองกลับมาอีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากคนผิวดำเข้าร่วมรบสงคราม และต้องการมีสิทธิเลือกตั้ง ผ่านการตั้งสมาคมโดย W. E. B. Du Bois ที่มีสมาชิกกว่าห้าแสนคน จนถึงทศวรรษ 1950 ก็เกิดการร้องเรียนไปยังศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯจำนวนมาก โดยประเด็นสำคัญคือการโจมตีแนวคิดแบ่งแยกแต่เสมอภาค (seperate but equal) ซึ่งเป็นการกระทำที่ย้อนแย้ง เพราะถึงแม้ว่ามีการแยกโรงเรียนคนดำและคนขาว แต่โรงเรียนของคนผิวดำก็มีคุณภาพต่ำกว่ามาก

การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างเข้มข้นในปี ค.ศ. 1955-56 หลังจากโรซา ปาร์ค ช่างตัดเสื้อผิวดำถูกจับเพราะไม่ยอมยกที่นั่งให้คนขาว เป็นชนวนให้เกิดการลุกต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติทั่วประเทศและมีคนถูกจับจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ Martin Luther King, Jr. ที่ใช้แนวทางสันติวิธีแบบคริสตศาสนาและมองว่าคนขาวและคนดำอยู่ร่วมกันได้ เน้นแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ตรงข้ามกับ Malcolm X ในทศวรรษที่ 1960 ที่เน้นความรุนแรงและประกาศชัดเจนว่าคนดำเป็นศัตรูกับคนผิวขาว มีการเรียกร้องสิทธิมากขึ้นในภาคใต้ พร้อมๆกับการประท้วงสงครามเวียดนาม แสดงออกผ่านกลุ่มนักศึกษาและ Freedom ride ซึ่งตระเวนขึ้นรถจากเหนือลงใต้เพื่อแสดงถึงเสรีภาพ

Lyndon B. Johnson ผลักดันรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองสำเร็จในปี ค.ศ. 1964 รวมไปถึงการสิทธิเลือกตั้งปี ค.ศ. 1965 (Voting Rights Act) ที่ให้พลเมืองทุกคนมีสิทธิเลือกตั้งโดยไม่ต้องทดสอบการรู้หนังสือและไม่ต้องคำนึงถึงภาษีรายหัว (Poll taxes) และครอบคลุมตั้งแต่คนอายุ 18 ปีขึ้นไป เมื่อปี ค.ศ. 1970 หลังการเรียกร้องของทหารที่ไปสงครามเวียดนาม พวกเขาถูกเกณฑ์ไปตั้งแต่อายุ 18 ปี แต่กลับไม่มีสิทธิเลือกตั้ง

Murder in Mississippi (1965) หนังทุนต่ำเล่าเรื่องราวฆาตกรรมคนเห็นต่างโดยชาวผิวขาวคลั่งเชื้อชาติ กำกับโดย Joseph W. Mawra ผู้มีพื้นเพจากเมืองควีนส์ นิวยอร์ค เขาโด่งดังจากการทำหนัง Exploitation ซึ่งเป็นตระกูลหนังทุนต่ำที่เสนอความรุนแรง หรือเพศวิตถาร เพื่อทำตลาดในคนหมู่มาก นิยมผลิตขึ้นช่วงทศวรรษที่ 1960 เนื้อหาหนังมักท้าทายศีลธรรมอันดีงามของกลุ่มคริสตศาสนิกชน ในทางหนึ่ง หนัง Exploitation ก็เป็นการระบายความอัดอั้น หรือสร้างภาพฝันของผู้คนที่เติบโตมาในรัฐทุนนิยมที่สิ้นหวัง นอกจากนี้ยังมีประเภทย่อยของหนัง Exploitation ได้แก่ Blaxploitation ซึ่งมักเป็นหนังที่มีผู้แสดงหลักเป็นคนผิวดำ และสร้างมาเพื่อให้คนผิวดำดู มักมีเนื้อหาพูดถึงตัวละครคนผิวดำที่เอาชนะอำนาจอยุติธรรมของรัฐหรือตำรวจได้ 

Joseph W. Mawra ใช้เวลาเพียง 2 ปีในการสร้างหนัง Exploitation ถึงสี่เรื่องที่เขาตั้งชื่อว่า “Olga” แสดงโดย Audrey Campbell เล่าถึงหัวหน้าวงการอาชญากรรมซาดิสม์ เขาใช้เวลาในการถ่ายแต่ละเรื่องประมาณ 3-4 วันเท่านั้น หลังจากที่ Mawra ต้องไปขึ้นศาลเพราะเนื้อหาอนาจารใน Olga’s House of Shame (1964) เขาหันไปทำหนังที่เนื้อรุนแรงลดลง หนึ่งในนั้นคือ Murder in Mississippi (1965) ที่ Nicolas Winding Refn ตั้งโครงการบูรณะภาพยนต์ที่เขาเรียกหนังกลุ่มนี้ว่าเป็น “ทางด่วนทางวัฒนธรรมลามกอนาจาร” และจากโครงการนี้เองที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ของ Mawra ที่ไม่มีคนพูดถึงได้กลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง

Murder in Mississippi (1965) สร้างจากเรื่องจริงของเหตุฆาตกรรมที่มิสซิสซิปปีในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1964 นักศึกษาอาสาสมัครเดินทางจากรัฐทางเหนือมารัฐทางใต้เพื่อรณรงค์ให้คนผิวดำมาเลือกตั้ง ด้วยการรวมตัวกันจัดตั้งองค์ชุมชนรากหญ้า ให้ความรู้เรื่องการสมัครเลือกตั้ง มีการรายงานว่ามีอาสาสมัครเข้ามาที่มิสซิสซิปปีในหน้าร้อนกว่าสามหมื่นคนซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่ม Ku Klux Klan อย่างมาก 

เหยื่อของเหตุนี้ได้แก่ชายผิวดำ James Chaney (เสียชีวิตตอนอายุ 21 ปี) Andrew Goodman (เสียชีวิตตอนอายุ 20 ปี) และ Michael Schwerner (เสียชีวิตตอนอายุ 24 ปี) ทั้งสามคนเป็นสมาชิกของกลุ่ม Congress of Racial Equality (CORE) ตั้งใจที่จะมาก่อตั้งโรงเรียนแห่งเสรีภาพ (Freedom School) เพื่อให้ความรู้แก่คนผิวดำที่เมืองเนโชบา คันทรี เพื่อให้คนผิวดำผ่านการสอบวัดความรู้หนังสือที่รัฐมิสซิสซิปปีกำหนด

ชายทั้งสามคนเดินทางจากเมืองเมอริเดียนมาเมืองลองเดลเพื่อคุยกับคณะกรรมการโบสถ์ของคนผิวดำที่ถูกกลุ่ม Ku Klux Klan เผา ต่อมาชายทั้งสามคนถูกจับด้วยข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนดและถูกขัง หลังจากที่ถูกปล่อยตัวออกมาก็ถูกตำรวจตามและถูกลักพาตัวก่อนจะถูกยิงเสียชีวิตและเอาไปฝัง รถของพวกเขาถูกเผาและมีคนไปพบในบึงสามวันหลังจากการหายตัวไป การสืบคดีทำโดย FBI และค้นพบว่าสมาชิกกลุ่ม Ku Klux Klan ซึ่งทำงานในสำนักงานนายอำเภอและสถานีตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้ กว่าจะพบร่างของพวกเขาใช้เวลากว่าสองเดือน

การฆาตกรรมนักเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งสามคนสร้างความโกรธแค้นให้กับคนจำนวนมากจนนำไปสู่การผ่าน รัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองสำเร็จในปี ค.ศ. 1964 แม้ศาลของรัฐจะปฏิเสธการตัดสินคดี ในท้ายที่สุดปี ค.ศ. 1967 รัฐบาลกลางได้ตัดสินผู้มีความผิดที่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดีนี้ถึง 18 คนซึ่งได้ละเมิดรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง 

ด้วยกระบวนการสร้างหนังที่ใช้ทุนต่ำของ Mawra ทำให้ Murder in Mississippi (1965) ได้บันทึกสภาพสังคมเพียงหนึ่งปีหลังเหตุฆาตกรรมที่มิสซิสซิปปี หนังเปิดเรื่องด้วย Free Ride ของกลุ่มนักศึกษาที่ขับจากเหนือลงใต้อันแสดงถึงความเป็นเสรีชน ด้วยความที่หนังบันทึกความสดใหม่ของห้วงอารมณ์ ความหวาดกลัวของคนผิวสีที่ไม่กล้าออกมาใช้สิทธิในขณะนั้น คนผิวสีไม่กล้าแสดงตำแหน่งแห่งที่ของตนในสังคมที่ได้ขึ้นชื่อว่าเสรี 

หัวหน้ากลุ่มอาสาสมัครชี้แจงกับนักศึกษาว่าการทำงานในพื้นที่ของคนขาวคลั่งเชื้อชาติ พวกเขาต้องทำตั่วให้ต่ำที่สุด พูด “ครับ” “ค่ะ” ทุกครั้ง หากเขาด่าคุณว่า “ไอ้มืด” ก็ไม่ต้องไปสนใจ “เรามาที่นี่เพื่อช่วยให้คนได้เลือกตั้ง ไม่ได้มาสละชีพเพื่ออุดมการณ์” “และจำไว้เสมอ ยิ้มสู้เข้าไว้”

หัวหน้ากลุ่มอาสาสมัครชี้แจงกับนักศึกษาว่าการทำงานในพื้นที่ของคนขาวคลั่งเชื้อชาติ พวกเขาต้องทำตั่วให้ต่ำที่สุด พูด “ครับ” “ค่ะ” ทุกครั้ง หากเขาด่าคุณว่า “ไอ้มืด” ก็ไม่ต้องไปสนใจ “เรามาที่นี่เพื่อช่วยให้คนได้เลือกตั้ง ไม่ได้มาสละชีพเพื่ออุดมการณ์” “และจำไว้เสมอ ยิ้มสู้เข้าไว้”

แม้เนื้อเรื่องในฉบับของ Mawra จะถูกดัดแปลงจากเรื่องจริงไปเสียมาก แต่ก็ได้สร้างฉากที่มีเนื้อหาหมิ่นเหม่ศีลธรรมในชนิดที่ว่าคนขาวคลั่งเชื้อชาติศาสนาต้องทนดูไม่ได้แน่ๆ (หรือพวกเขาอาจจะพึงพอใจก็เป็นได้) เช่น กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐจับตัวนักศึกษาไปเรียกค่าไถ่และข่มขืน หรือฉากที่นักศึกษาผิวดำจูบกับนักศึกษาผิวขาว รวมไปถึงฉากที่สำคัญคือการตอน (castrated) คนผิวดำโดยกลุ่ม Ku Klux Klan ด้วยความเชื่อของคนผิวขาวว่าพวกเขากลัวพลังอำนาจของเพศชายของคนผิวดำ จึงใช้วิธีการตอนคนผิวดำมาตั้งแต่ยุคค้าทาสจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 

ความน่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือนายอำเภอได้กล่าวหาว่าหนึ่งในนักศึกษาเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมๆกับการเหยียดเชื้อชาติ นี่จึงเป็นผลผลิตของความเป็นอเมริกันของชนชาติอเมริกันแองโกลแซกซอนที่ยกย่องความเหนือกว่าชนชาติหรือความเชื่ออื่นๆ แม้สิทธิการเลือกตั้งของคนแอฟริกัน-อเมริกันจะใช้เวลากว่า 200 ปี แต่อาจกล่าวได้ว่าการต่อสู้ของคนผิวดำในปัจจุบันได้ผ่านพ้นยุคสมัยแห่งตัวบทกฎหมายแล้ว (Post-civil rights era)

ภายใต้สังคมเสรีที่ทุกคนต้องการเป็นอย่างคนขาว การเหยียดเชื้อชาติในปัจจุบันมีความซับซ้อนขึ้นไปอีก อย่างเช่นในกรณี George Floyd ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ไม่ได้มีเพียงแค่คนผิวขาว (Interminority racism) หนึ่งในตำรวจที่เกี่ยวข้องก็มีเชื้อสายม้ง หรือเจ้าของร้านที่แจ้งตำรวจจับ Floyd ก็มีเชื้อชาติอาหรับ 

ดังทฤษฎีของ Blalock และ Bonacich นักสังคมวิทยาในทศวรรษที่ 1960 ถูกนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์ของคนเอเชีย-อเมริกัน ว่าการเป็นคนกลาง (middle man theory) สามารถสร้างการยอมรับในสังคมคนขาวด้วยการเป็นผู้มีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจ เช่น เป็นเจ้าของร้านค้า ซึ่งนั่นทำให้คนเอเชีย-อเมริกันได้รับผลประโยชน์จากการอยู่ตรงกลางระหว่างคนผิวขาวและคนแอฟริกัน-อเมริกัน 

นี่เป็นการตกย้ำภาพจำของ model minority หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ก้าวขึ้นมามีฐานะทางสังคมของคนเอเชียได้เทียบเท่ากับคนขาว นั่นยังรวมไปถึงรายได้ที่ได้เท่าๆกับคนขาวและการถูกตัดสินทางคดีความที่ได้รับโทษเบากว่าคนผิวดำ มีการศึกษาในปี ค.ศ. 1994 โดย The National Conference of Christians and Jews สอบถามคนอเมริกันหลากหลายเชื้อชาติราว 3,000 คน พบว่าทั้งคนขาวและคนเอเชียต่างมีมุมมองเช่นเดียวกันว่า “คนผิวดำไม่มีทางเจริญหรือดีได้เท่าพวกเขาหรอก”

นี่เป็นการตกย้ำภาพจำของ model minority หรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ก้าวขึ้นมามีฐานะทางสังคมของคนเอเชียได้เทียบเท่ากับคนขาว นั่นยังรวมไปถึงรายได้ที่ได้เท่าๆกับคนขาวและการถูกตัดสินทางคดีความที่ได้รับโทษเบากว่าคนผิวดำ มีการศึกษาในปี ค.ศ. 1994 โดย The National Conference of Christians and Jews สอบถามคนอเมริกันหลากหลายเชื้อชาติราว 3,000 คน พบว่าทั้งคนขาวและคนเอเชียต่างมีมุมมองเช่นเดียวกันว่า “คนผิวดำไม่มีทางเจริญหรือดีได้เท่าพวกเขาหรอก”

การต่อสู้ยังไม่จบสิ้น ความเกลียดชังและการสร้างปีศาจในรัฐที่ใช้วาทกรรมของความเป็นเสรีประชาธิปไตยก็ยังดำเนินต่อไป แม้แต่กวีชาวไทยท่านหนึ่งก็ยังออกมาบอกว่า “เทพีเสรีภาพ” ยังคงรังแกคนทั้งโลก และกดขี่ทำให้คนเป็นทาส ซึ่งเป็นสำนึกของการรังเกียจทุนนิยมอเมริกันเป็นที่นิยมอย่างมากหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 และเข้มข้นขึ้นในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชิณวัตร พวกเขาหันมายกย่องเชิดชูระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง 

“อาการ” รังเกียจทุนนิยมอเมริกันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หากแต่ “อาการ” เหล่านั้นกลับมาพร้อมกับการสร้างความชอบธรรมให้เผด็จการในคราบระบบทุนนิยมเสรี และแม้ปากของกวีจะบอกรังเกียจแนวคิดค้าทาสแต่ตัวของเขาเองก็สนับสนุนการกำจัดคนเห็นต่างจากตน มิได้ต่างอะไรจากกลุ่ม Ku Klux Klan นี่จึงเป็นความย้อนแย้งที่น่าโศกเศร้าของรัฐไทยที่ถูกปกครองด้วยคน “บ้าอำนาจ” และพลเมืองที่ “เอออวยให้กับความอยุติธรรม” 

ทุนนิยมเสรีอเมริกันจึงเป็นแม่แบบที่รัฐไทยอยากจะไปให้ถึง จึงเป็นรัฐไทยที่อยากเป็นคนผิวขาวอเมริกัน พร้อมๆกัน รัฐไทยก็สร้างความพิเศษเหนือชนชาติและความเห็นต่างอื่นๆ (Thai Exceptionalism) แม้กวีจะบอกว่าเขาจงเกลียดจงชังขนาดไหนก็ตาม 


ดูภาพยนตร์ได้ที่นี่


อ้างอิง

ฐิติกร สังข์แก้ว. 2013. อ่านความเป็นพลเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา : บริบทเชิงนิติประวัติศาสตร์ และภาคปฏิบัติการทางการเมือง

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. 1984. กำเนิดและพัฒนาระบบทาสในอเมริกา

ย์ชนะ ประณมศรี. 2552. ความเป็นรัฐธรรมนูญอเมริกันและรูปแบบการปกครองแบบประธานาธิบดีที่ยั่งยืนมาจนทุกวันนี้

มิ่ง ปัญหา.ธาริตา อินทนาม. 2020.ไพ่สองเหรียญ การค้าทาส และวรรณกรรมของชาวแอฟริกันอเมริกัน

กฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ
ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่แถบอีสานใต้ งานอดิเรกคือเขียนถึงงานศิลปะและภาพยนตร์

LATEST REVIEWS