เทศกาลหนัง South by Southwest (SXSW) ประจำปี 2022 ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส เพิ่งจบลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นอีกปีที่คึกคัก เต็มไปด้วยหนังสารคดีนักดนตรี และหนังเดบิวต์ของผู้กำกับหน้าใหม่นับไม่ถ้วน ปีนี้มีหนังเรื่องเด่นอย่าง I Love My Dad ว่าด้วยพ่อที่ปลอมตัวเป็นสาวสวยมาสานสัมพันธ์กับลูกชายในโซเชียลมีเดียที่คว้ารางวัลชนะเลิศสาขาหนังเล่าเรื่อง และ Look at Me: XXXTENTACION สารคดีเล่าเรื่องราวชีวิตของแรปเปอร์หนุ่มผู้ถูกยิงเสียชีวิตในวัย 20 เมื่อไม่กี่ปีก่อน แต่ก็ยังมีอีกหลายเรื่องที่เราหวังว่าจะได้ดูในเร็ววัน และเหล่านี้คือ 4 เรื่องที่เราอยากพูดถึง
มอร์ริสา มอลท์ซ (Morissa Maltz) ผู้ที่เพิ่งกำกับหนังยาวเป็นครั้งแรก และลิลี่ แกลดสโตน (Lily Gladstone) นักแสดงนำผู้เคยปรากฏตัวอย่างน่าจดจำใน Certain Women ของเคลลี ไรชาร์ดท์ ร่วมกันถ่ายทอดความรู้สึกของปัจเจกชนอเมริกัน—และยิ่งไปกว่านั้นคืออเมริกันชนเผ่า—ที่กำลังพยายามก้าวข้ามความสูญเสียหลากหลายรูปแบบ ผ่านการนำเสนอในทิศทางเดียวกับ Nomadland (2020, Chloé Zhao) และ Songs My Brothers Taught Me (2015, Chloé Zhao) หรือกระทั่ง The Tree of Life (2011, Terrence Malick) แต่คนดูกลุ่มแรกของ The Unknown Country ดูจะรักหนังเรื่องนี้มากกว่า ท่อนหนึ่งของบทวิจารณ์จาก IndieWire กล่าวว่า “The Unknown Country มีความเป็นมนุษย์มากกว่าหนังส่วนใหญ่ในช่วงหลังของมาลิค และอาจจะบอกเล่าอย่างจริงใจกว่า Nomadland เสียด้วยซ้ำ เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะลิลี่ แกลดสโตนไม่ได้เป็นหน้าตาของฮอลลีวู้ดมากเท่าฟรานเชส แม็คดอร์มานด์”
X
การกลับมาของคนทำหนังผีเรโทร ไท เวสต์ (Ti West) แห่ง The House of the Devil (2009) และ The Innkeepers (2011) ใน X เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น เมื่อเป็นการกลับมาในรอบ 10 กว่าปี และเป็นการจับมือกับค่ายหนัง A24 ที่กำลังมาแรง โดยในเรื่องนี้ เวสต์จับเอาหนังสแลชเชอร์และหนังโป๊มาชนกันในบ้านไร่เท็กซัสปี 1979 ที่มีเจ้าของเป็นสามีภรรยามีอายุ แต่เมื่อกองถ่ายหนังโป๊ที่มีผู้กำกับและคนเขียนบทเป็นคู่รักพร้อมนักแสดงและทีมงานได้เข้าไปพัก แอบถ่ายทำหนังโป๊ฮาร์ดคอร์ในบ้าน และถูกเจ้าของบ้านจับได้ ความสยดสยองแบบสโลวเบิร์นก็เกิดขึ้น
นอกจากการเอาหนังสอง genre มาแพ็ครวมกัน และคารวะหนังอเมริกันอินดี้ช่วงปลาย 70s อย่าง The Texas Chainsaw Massacre (1974, Tobe Hooper) ด้วยการทำให้มันกลับมาโลดแล่นและ ‘แมส’ อีกครั้ง อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราอยากดู X คือการปรากฏตัวของ มีอา ก็อธ (Mia Goth) ที่เริ่มเป็นที่รู้จักจากหนังเฮี้ยนๆ อย่าง Susperia (2018, Luca Guadagnino), A Cure for Wellness (2016, Gore Verbinski) และหนังเดบิวต์ของเธอ Nymphomaniac: Vol. II (2013, Lars Von Trier) ใน X ก็อธเล่นสองบทควบ หนึ่งในนั้นคือบทหญิงแก่เจ้าของบ้าน เพื่อถ่ายทอดความ ‘หลอน’ ของการแก่ตัวลงและสูญเสียเสน่ห์ทางเพศ เวสต์ให้สัมภาษณ์ว่า เขามีหนังใหม่อีกเรื่องที่ถ่ายทำคู่กับ X ไปแล้วเรียบร้อยเพื่อเล่าปูมหลังของหญิงแก่ปริศนา รวมถึงแย้มว่าอาจมีเรื่องที่สามตามมาอีก “ผมรู้สึกตลอดมาว่าถ้าคุณจะทำหนังสแลชเชอร์สักเรื่อง คุณต้องจัดภาคต่อออกมารัวๆ” เวสต์ว่าอย่างนั้น
แต่แนวคิดดังกล่าวก็ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วย หนึ่งในคนที่คัดค้านก็คือ เซอเกย์ ลอซนิทซา (Sergey Loznitsa) ผู้กำกับชาวยูเครนที่ถือว่าเป็นขาประจำเทศกาลหนังเมืองคานส์ (หนังของเขาเรื่อง Donbass ปี 2018 คว้ารางวัลกำกับยอดเยี่ยมสาย Un Certain Regard ส่วน A Gentle Creature ปี 2017, In the Fog ปี 2012 และ My Joy ปี 2010 ได้เข้าชิง Palme d’Or) โดยเขากล่าวว่า “เราต้องไม่ตัดสินคนจากพาสปอร์ต”
ท่าทีเช่นนี้น่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาว่า ก่อนหน้านี้ลอซนิทซาเป็นคนแรกด้วยซ้ำที่ออกมาถล่มแถลงการณ์ของ European Film Academy (EFA) ว่า “เป็นกลางเกินไป” เพราะ “ไม่ประณามรัสเซียมากพอเมื่อเทียบกับสิ่งที่รัสเซียกระทำ” รวมทั้งเขายังเป็นคนแรกๆ ที่กดดันฝั่งยุโรปให้สนับสนุนยูเครน
แต่เมื่อกระแสมาถึงขั้นแบนคนทำหนังรัสเซีย เขากลับเลือกจะแสดงจุดยืนต่อต้าน และประกาศตนเป็น “พลเมืองโลก” ซึ่งล่าสุด จุดยืนนี้ก็กลายเป็นเหตุให้เขาโดนขับออกจากสถาบันภาพยนตร์ยูเครน (Ukrainian Film Academy) เสียแล้ว
Ukrainian Film Academy แถลงเมื่อ 18 มีนาคมที่ผ่านมาโดยอธิบายเหตุผลของการไล่ลอซนิทซาออกว่า “…ประเทศต่างๆ ในยุโรปและโลกทั้งใบควรได้เห็นภาพที่ครบถ้วนและชัดเจนว่า ประเทศผู้บุกรุกกำลังทำอะไรในยูเครน ฉะนั้น ชาวยูเครนทุกคนควรจะต้องทำตัวเป็นผู้แทนของประเทศเรา …เซอร์เกย์ ลอซนิทซาย้ำซ้ำๆ ว่าเขานับตนเองเป็นพลเมืองโลก แต่ในช่วงเวลาที่ยูเครนกำลังต่อสู้อย่างสุดแรงเพื่อรักษาเอกราชไว้ วิธีคิดและการแสดงออกของคนยูเครนควรยึดถืออัตลักษณ์ของชาติเป็นสำคัญ ไม่อาจประนีประนอมหรือแสดงออกอย่างครึ่งๆ กลางๆ ได้ในกรณีนี้”
การกระตุ้นความทรงจำผ่านเสียง เรือกระทบคลื่น ผีดิบ การรัวกลองในพิธีกรรมและเสียงระเบิด ใน I Walked with a Zombie (1943)
Artist, Title and Production Date: Unknown Gift from Jonathan Demme to Apichatpong Weerasethakul, 2012 A Minor History, Part II: Beautiful Things by Apichatpong Weerasethakul, 100 Tonson Foundation, Bangkok, 2022, photo by Atelier 247
นอกจากกระแสประสาทวิ่งไปที่สมองส่วนหน้าจะทำให้เกิดประสบการณ์ทางเสียงแล้ว กระแสประสาทยังวิ่งผ่านสมองส่วนลิมบิกอื่นๆ เช่น amygdala ที่ทำให้เราอ่อนไหวกับเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงร้องไห้ หรือคำพูด และยังเกี่ยวข้องกับการหลบหนีเมื่อเราได้ยินเสียงที่น่ากลัว เช่น ระเบิด ส่วนสมอง hippocampus ในลิมบิกก็ช่วยเพิ่มมิติการรับรู้เวลาของเสียงและตรวจสอบเสียงใหม่ๆ การฟังเสียงรบกวน (noise) ช่วยเพิ่มการเชื่อมโยงเส้นประสาทใน hippocampus ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้เสียงและความทรงจำKari Suzanne Kraus. (2012). Neuronal connectivity and interactions between the auditory and limbic systems. Effects of noise and tinnitus
แม้ว่าเสียงที่ดังขึ้นเมื่อเจสสิกาแตะตัวแอร์นันในวัยกลางคน จะสะทกสะท้อนกับฉากที่เจสสิกาแตะแขนแอร์นันในวัยหนุ่มเมื่อเธอค้นพบเสียงที่ใกล้เคียงกับเสียงระเบิดในหัว เสียงที่เธอบรรยายว่าคล้ายกับ “ลูกบอลคอนกรีตขนาดใหญ่กระแทกอ่างโลหะที่ล้อมรอบด้วยน้ำทะเล แล้วมันก็หดตัวเล็กลง” เสียงระเบิดที่เธอค้นหาจนพบว่าเสียงเธอได้ยินในเวลาต่อมาเป็นเสียงอื่นๆ อีกมหาศาลเกินกว่าที่เธอและผู้ฟังจะรับรู้ได้อย่างสมบูรณ์ (ผู้ชมไม่น่าจะทราบแน่ๆ ว่า มีการใส่เสียงแรกของโลกที่ถูกบันทึกเมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1860 โดย Edouard-Leon Scott de Martinville ซึ่งเขาบรรยายว่าเยื่อกั้นที่ใช้อัดเสียงคล้ายกับเยื่อแก้วหู)
นอกจากนี้ยังมีเสียงคลื่นในมหาสมุทรและเรือ ซึ่งนอกจากจะชวนให้นึกถึง Luminous People (2007) ยังชวนให้นึกถึงเสียงของเรือเดินสมุทรในตอนต้นของ I Walked with a Zombie (1943) โดย Jacques Tourneur ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกๆ ที่ท้าทายการนำเสนอภาพแทนของคนผิวสีในอุตสาหกรรมภาพยนตร์อเมริกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้อภิชาติพงศ์เปลี่ยนชื่อตัวแสดงหลังจากเอริกาเป็นเจสสิกา ฮอลแลนด์ในช่วงพัฒนาบทภาพยนตร์ Memoria
I Walked with a Zombie เป็นเรื่องราวของเบ็ตซี่ พยาบาลชาวแคนาดาที่ได้รับการติดต่อจาก พอล ฮอลแลนด์ เจ้าของไร่อ้อยบนเกาะ Saint Sebastian ในหมู่เกาะแคริเบียน เบ็ตซี่รับหน้าที่ในการดูแล เจสสิกา ฮอลแลนด์ ภรรยาของพอล ที่ล้มป่วยด้วยโรคปริศนา หมอแมกซ์เวลบอกว่าไขสันหลังของเธอถูกทำลายอย่างรุนแรงจนทำให้เธอไม่สามารถดูแลตัวเองได้
I Walked with a Zombie ทำให้เราเห็นอีกโลกหนึ่งที่อุดมไปด้วยความไม่เป็นเหตุเป็นผล Tourneur สนใจว่าวิทยาศาสตร์อาจไม่ได้ให้คำตอบทั้งหมด เขาจึงสร้างโลกที่ไม่มีใครเข้าใจได้ทั้งหมดผ่านภาพยนตร์ที่มีความกำกวมและเรื่องราวที่ไม่มีตอนจบสมบูรณ์ Gwenda Young อาจารย์ด้านภาพยนตร์ University College Dublin บอกว่า I Walked with a Zombie คล้ายกับการตรึกตรองหรือนั่งสมาธิขบคิดการต่อรองทางอำนาจระหว่างคนขาวและคนผิวสีในสังคมหลังอาณานิคมซึ่งสอดคล้องกับในช่วงทศวรรษ 1940 ที่เกิดการถกเถียงในประเด็นเชื้อชาติอย่างมากในอเมริกา I Walked with a Zombie อาจเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่องแรกๆ ที่เฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลายของคนผิวสี และนำเสนอภาพของความเชื่อชนเผ่าด้วยความเคารพGwenda Young. (1998). The Cinema of Difference: Jacques Tourneur, Race and “I Walked with a Zombie” (1943)
A Minor History, Part II: Beautiful Things by Apichatpong Weerasethakul, 100 Tonson Foundation, Bangkok, 2022, photo by Atelier 247
จากดอกบัวของขรัวอินโข่งที่เหมือนเป็นการเฉลิมฉลองมิตรภาพระหว่างอังกฤษและสยามผ่านสนธิสัญญาเบาริ่งซึ่งนำความมั่งคั่งอย่างมหาศาลสู่ราชวงศ์และเป็นการนำสยามเข้าสู่ระบบทุนนิยมโลกผ่านการล่าอาณานิคมภายใน ในนิทรรศการภาคสองของ A Minor History ยังมีผลงานชื่อ Thep Nelumbo Nucifera ของ Methagod ซึ่งพูดถึงบัวที่โผล่จากเหง้าใต้ดิน หลังจากแตกอยู่ในสภาวะพักตัวและสามารถให้กำเนิดต้นอ่อนใหม่ได้ งานชิ้นนี้ความอมตะและการฟื้นตัวของขบวนการเคลื่อนไหวของเยาวชนของประเทศไทยในช่วง ค.ศ.2020-2021
วงกลมสีขาวยังอาจพบในตอนท้ายเมื่อยานอวกาศของมนุษย์ต่างดาวพ่นคล้ายการถึงจุดสุดยอดก่อนจะทะยานหายไปในกลีบเมฆ ยาวอวกาศอาจหน้าตาคล้ายมะละกอ กริช หรือองคชาติ การปรากฎของยานอวกาศในตอนท้ายเสมือนการเผชิญหน้ากับเอเลี่ยนที่ถือเป็นทั้งภัยคุกคามและความหวังเหมือนในนิยายกึ่งวิทยาศาสตร์ การประจันหน้ากับเอเลี่ยนนี่เองที่เป็นทั้งการบุกรุกที่กำลังมาถึง การยึดครอง หรือควบคุม เป็นความหวังของการผจญภัย การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือการแลกเปลี่ยน เช่น ภาพยนตร์ในทศวรรษ 1980 เรื่อง E.T. ของ Steven Spielberg ที่ทำให้เราครุ่นคิดว่าการเจอกับเอเลี่ยนเป็นสมดุลที่ไม่แน่นอนระหว่างความแปลกและความคุ้นเคย การเผชิญหน้ากับเอเลี่ยนเต็มไปด้วยความรู้สึกระแวง สงสัย ตื่นเต้น ตื่นกลัว และความสุขสันต์Mimi Thi Nguyen. Thuy Linh Nguyen Tu. (2007). Alien Encounters: Popular Culture in Asian America.
การปรากฎของยานอวกาศยังชวนให้เราคิดถึงการนำเสนอเอเลี่ยนในวัฒนธรรมประชานิยมที่แยกไม่ขาดจากการวาดภาพตามหลักทัศนียภาพที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงความจริงซึ่งมีภววิทยาที่หลากหลายบนมิติทับซ้อน ตรงกับที่ Sara Ahmed (2000) นักวิชาการด้านเควียร์ศึกษา เสนอว่า “สิ่งที่พ้นเกินขีดจำกัด” มักจะกลายเป็นทาสของการสร้างภาพแทน สิ่งที่พ้นเกินภาพแทนก็มักจะถูกนำเสนออย่างล้นเกินในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอเลี่ยนและมนุษย์ เช่น เราจะแยกระหว่างมนุษย์กับเอเลี่ยนได้อย่างไร เอเลี่ยนจึงมิใช่แค่สิ่งที่เราไม่สามารถระบุได้ แต่ยังเป็นสิ่งที่เราได้ระบุไปแล้วว่าเป็น “เอเลี่ยน” เอเลี่ยนเป็นรูปรวมของสิ่งที่พ้นเกินมนุษย์ เอเลี่ยนกลายเป็นสิ่งไสยศาสตร์หรือสิ่งที่เรามีอารมณ์ทางเพศด้วย มันกลายเป็นสิ่งนามธรรมจากความสัมพันธ์ที่อนุญาตให้มันปรากฎในปัจจุบัน และปรากฎอีกครั้งไม่ว่าเราจะมองไปที่ใดก็ตาม กล่าวคือเมื่อเราเห็นเอเลี่ยนแล้ว เราจะเห็นเอเลี่ยนไปในทุกที่Sara Ahmed. (2000). Strange encounters: embodied others in post-coloniality.
Ahmed (2000) ยังบอกอีกว่า การต้อนรับขับสู้ (hospitality) เอเลี่ยนอาจทำให้เรากลายเป็นมนุษย์ และอาจทำให้เรากลายเป็นเอเลี่ยน เพื่อจะได้เข้าสู่โลกของเอเลี่ยนที่ไม่คุ้นเคยสำหรับมนุษย์ นี่อาจเป็นการทำความเข้าใจภาพยนตร์ Close Encounters of the Third Kind (1977) ซึ่งการแปลรหัสภาษาเอเลี่ยนอย่างเรียบง่ายด้วยทำนองของดนตรี ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างมนุษย์และเอเลี่ยน ในรูปแบบของการค้าขายชิ้นส่วนของเรือนร่างมนุษย์ที่ถูกขโมยไปเพื่อที่จะได้เข้าสู่โลกของเอเลี่ยน ความเสี่ยงของความสัมพันธ์ที่รวนเรไม่แน่นอนเช่นนี้ คือไม่ว่าเอเลี่ยนจะถูกนำเสนอว่าเป็นสิ่งแย่หรือดี พ้นหรืออยู่ภายในมนุษย์ แต่ความสัมพันธ์มันสร้างหรือให้ความหมายของขอบเขตของสิ่งที่เราอยู่ในความใกล้เคียงอย่างมาก อยู่ในความใกล้ชิดของความสัมพันธ์ระหว่างเมือกของเอเลี่ยนและผิวหนังมนุษย์10
วงกลมเป็นการเคลื่อนผ่านไปมาระหว่างที่มืดและสว่าง ราวกับไฟที่ดับลงในส่วนพิพิธภัณฑ์ขณะที่เจสสิกาเดินชม พิพิธภัณฑ์ที่มีภาพของชายหนุ่มและมัดกล้ามของเขากับป้ายคำว่า “สวนสาธารณะ” การดับของไฟในส่วนชายหนุ่ม เผยให้เห็นอีกภาพซึ่งเป็นแสงไฟที่ส่องลงจากท้องฟ้ามาที่คนข้างล่าง ราวกับการจ้องมองจากพระเจ้าที่กำลังพิพากษา เช่นเดียวกับแสงไฟที่ส่องขึ้นฉายท้องพระโรงที่ว่างเปล่าพร้อมกับเสียงวัตถุกระแทกใน A Minor History ภาคหนึ่ง ไฟดับเป็นการเผยให้เห็นความจริงอีกหลากหลาย ที่ถูกปิดบังด้วยความจริงที่แสร้งว่ายิ่งใหญ่กว่าความจริงอื่นๆ
นี่คือไอเดียตั้งต้นของ Apollo 10 ½: A Space Age Childhood หนังโรโตสโคปผสมโมชั่นแคปเจอร์เรื่องล่าสุดของริชาร์ด ลิงค์เลเตอร์ โปรดิวซ์โดยเน็ตฟลิกซ์ และเพิ่งฉายรอบแรกในเทศกาล SXSW Film Festival เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา ตอบโจทย์คนที่คิดถึงงานโรโตสโคปสไตล์เขาแบบใน Waking Life (2001) และ A Scanner Darkly (2006) หรือประทับใจความนอสตัลเจียอุ่น ๆ ของ Boyhood (2014) มาก่อนแล้ว
“Boyhood เป็นหนังที่เกี่ยวกับส่วนเสี้ยวของชีวิต Apollo ก็เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็เกี่ยวกับสิ่งที่น่าจะยิ่งใหญ่และสลักสำคัญที่สุดที่มนุษย์เคยทำสำเร็จด้วย” ลิงค์เลเตอร์เล่าถึงที่มาของหนัง
ยันเต้นลีลาศจนเป็นแชมป์รายการ Dancing with the Stars เวอร์ชั่นยูเครน (ดูที่นี่)
แต่ถ้าวาสยาเป็นคนถ่อมตัวไร้ความทะเยอะทะยาน ก็ต้องบอกว่าเซเลนสกี้คือตรงกันข้าม เซเลนสกี้คิดการใหญ่ ตั้งบริษัท Kvartal 95 ชื่อเดียวกันกับกลุ่ม ทำทั้งรายการทีวี ซีรีส์และหนังตลกขนาดยาว (เรื่องหนึ่ง Jean Claude Van Damme มารับเล่นบทตัวประกอบให้ฟรีๆ) เพิ่มจากที่แสดงสดอยู่เดิม โดยเซเลนสกี้เคยแจ้งไว้ว่าตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อ “ทำให้โลกนี้ดีขึ้น มีเมตตาและมีความสุขมากขึ้นด้วยของถนัดของพวกเรา นั่นคือความตลกและความคิดสร้างสรรค์”https://web.archive.org/web/20190331072916/http://kvartal95.com/en/about/ เทียบเป็นไทยน่าจะใกล้เคียงกับบริษัทสื่อทีวีเจ้าหนึ่งที่ก่อตั้งโดยบริษัทขึ้นต้นด้วย W เจ้าของช่องทีวีชื่อดัง
Kvartal 95 และเซเลนสกี้เองเริ่มพัฒนาจากกลุ่มตลกธรรมดา ไปสู่กลุ่มตลกที่นำเสนอความเป็นยูเครนอย่างเข้มข้น จนผลิตซีรีส์ Servant of the People เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ระบบการเมืองยูเครนอย่างเข้มข้นจนนำเซเลนสกี้เข้าสู่โลกการเมืองของจริงในที่สุด
การชำระแค้นของริดเดลอร์ (และบรรดาสาวกฟอลโลเวอร์) จึงอาจมองเทียบเคียงได้กับการเอาคืนของโจ๊กเกอร์ เพราะในแง่หนึ่งพวกเขาล้วนถูกเอาเปรียบหรือหมางเมินโดยสังคม ถูกทำให้เป็นลูซเซอร์ไร้อำนาจ แต่หากเทียบเคียงตัวหนังทั้งสองเรื่อง The Batman อาจจะเอาตัวรอดไปได้ดีกว่าตรงที่มันไม่ได้ล่วงเข้าในปริมณฑลของการ ‘เห็นควรด้วย’ กับอาชญากรรมหรือการก่อการร้ายเท่ากับ Joker (อันที่จริง เราอาจไม่ได้แม้กระทั่งเห็นควรด้วยกับการกระทำของแบทแมนด้วยซ้ำ) และเราในฐานะคนดูรู้สึกได้ถึงความเลวร้ายที่คุกคามและน่าหวาดสะพรึงมากกว่าเมื่อหนังพาคนดูไปถึงจุดของการ ‘ชำระล้าง’ ก็อตแธม พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ ในขณะที่ Joker แสดงให้เห็นการโต้ตอบอย่างเคืองแค้นและตรงไปตรงมาชนิดตาต่อตาฟันต่อฟัน The Batman พาเราจมไปในก้อนขมุกขมัวของการแก้แค้นและความอยุติธรรมที่ยากต่อการสะสางหรือแม้แต่จะสาธยาย
รีฟส์นำเสนอหนังมนุษย์ค้างคาวในแบบฉบับของตนได้น่าสนใจไม่น้อย การวางตัวให้คลับคล้ายคลับคลากับหนังสืบสวน-ฆาตกรต่อเนื่องไม่เพียงเป็นสุนทรียะที่หยิบยืมมาให้หนังดูหม่นขึ้นมาเฉยๆ แต่มาพร้อมกับความหนักแน่นในน้ำเสียงของการเล่า ความหนักหน่วงของประเด็นที่หนังใส่เข้ามา การกำกับภาพที่เล่นกับแสง-สีได้อย่างสวยงามขึงขังของเกรก เฟรเซอร์ (ที่ปีนี้ได้เข้าชิงออสการ์จากผลงานใน Dune: Part One ด้วย) และสกอร์อันแสนพรั่นพรึงของไมเคิล จิอัคคีโน (ที่ปีก่อนทำสกอร์ให้หนังซูเปอร์ฮีโร่จากอีกค่ายอย่าง Spider-man: No Way Home) เหนือสิ่งอื่นใด The Batman ยังเพิ่มรสชาติแปลกใหม่ให้กับตระกูลหนังซูเปอร์ฮีโร่ที่หลังๆ แข่งกันผลิตแต่ความซ้ำซากออกมานำเสนอในหีบห่อใหม่สุดไฉไลจนผ่านพ้นจุดที่ ‘เกินพอ’ ไปนานโข
กลุ่ม FARC ยึดครองพื้นที่กว่า 1 ในสามของประเทศโคลอมเบีย มีกองกำลังกว่า 10,000 คน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มกองกำลัง National Liberation Army (NLA) ที่ได้แรงบันดาลใจจากการปฏิวัติในคิวบา กลุ่ม NLA หารายได้จากการค้ายาเสพติดเช่นเดียวกัน และมีเป้าหมายในการโจมตีสถานที่ราชการและบริษัทน้ำมันของเอกชนมากกว่าการปะทะกับกองกำลังรัฐบาล1
ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในประเทศโคลอมเบียที่สำคัญคือประเทศสหรัฐอเมริกา1 โดยจุดเริ่มต้นของการเข้ามาของสหรัฐฯ อาจย้อนกลับไปตั้งแต่หลังการปลดแอกจากอาณานิคมของประเทศโคลอมเบีย โดยหลังสิ้นสุด “สงครามหนึ่งพันวัน (1899-1903)” และสงครามกลางเมืองกว่าแปดครั้ง สหรัฐฯก็สนับสนุนให้ปานามาแยกตัวออกจากโคลอมเบีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการสร้างคลองปานามาขึ้น จนกระทั่งช่วงสงครามเย็น ในสมัยประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน (1945-1953) นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ สนับสนุนรัฐบาลโคลอมเบียในการต่อสู้กลุ่มฝ่ายซ้ายที่เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมGRACE LEE. (2017). Imperialism by Another Name: The US “War on Drugs” in Colombia
ดอกกล้วยไม้พบได้ในภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ มาตั้งแต่ Mysterious Object at Noon (2000) หากถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อราและกล้วยไม้คล้ายกับความสัมพันธ์ระหว่างครูดอกฟ้ากับเด็กชายพิการ ครูดอกฟ้าผู้เอารูปถ่ายจากโลกภายนอกมากให้เด็กชายคนนั้นดู หรืออาจจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหมอเตยกับหนุ่ม ชายเจ้าของฟาร์มกล้วยไม้ ผู้ไปขอกล้วยไม้ที่หายากในโรงพยาบาลที่หมอเตยทำงาน หลังจากที่หมอเตยไปเจอหนุ่ม ผู้ไปออกร้านขายกล้วยไม้เรืองแสงที่ตลาดนัด ใน Syndromes and a Century (2006) หรืออาจจะเป็นสวนกล้วยไม้ริมบึงแก่นนคร ที่อิฐในร่างของร่างทรงเก่งพาป้าเจนเที่ยวชมพระราชวังในอีกมิติ “นี่ไง กล้วยไม้ต้นของป้า เห็นมั้ย ชื่อเก่าป้า เจนจิรา พงศ์พัส มันออกดอกไง ก็เลยเอาถุงมาคลุมไว้ กันแมลงมาตอมอ่ะ โห จะตายไม่ตายแหล่อยู่แล้ว ไม่เจอกันตั้งนาน ให้เธอเลยช่อนั้นอ่ะ” ป้าเจนบอกกับเก่ง “เปิดให้มันหายใจซะป้า” อิฐในร่างเก่งบอกกับป้าเจน ใน Cemetery of Splendor (2015)
ความสัมพันธ์ระหว่างกล้วยไม้กับรา ตัวต่อ ผึ้ง หรือแมลง อาจะพบได้ใน Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives (2010) เมื่อป้าเจนเผลอเหยียบเหล่าแมลงที่เข้ามาในบ้านสวนของลุงบุญมี ก่อนที่โต้งจะถามว่าป้าเจนตั้งใจเหยียบพวกแมลง หรือพวกผีเสื้อเหล่านั้นหรือไม่ หรือมันอาจเป็นหนอนที่เจาะหน่วยมะขามในสวนของลุงบุญมี หรืออาจะเป็นผึ้งที่ลุงบุญมีเลี้ยงในสวนมะขาม ผึ้งที่สร้างน้ำผึ้งรสมะขามผสมรสข้าวโพด
ความสัมพันธ์ทางผัสสารมณ์ระหว่างกล้วยไม้กับแมลงคือความรัก หากมิได้ถูกอธิบายแบบธรรมชาตินิยมว่าเป็นเรื่องของการอยู่รอดหรือการแข่งขัน Deleuze และ Guattari บอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างดอกไม้กับแมลงไม่ได้เป็นเพียงว่ากล้วยไม้ผลิตน้ำหวานให้แมลง และแมลงก็แค่ช่วยในการสืบพันธ์ให้กับดอกไม้ หากแต่ว่าเป็นระบบนิเวศน์ที่ยังมีส่วนใดส่วนหนึ่งของมนุษย์ในระบบนั้นด้วยJudith Wambacq. Sjoerd van Tuinen. (2017). Interiority in Sloterdijk and Deleuze.
การสั่นไหวคือการกลับไปกลับมา การเคลื่อนไหว การหดและการขยาย เสียงคือการสั่นไหวและมีศักยภาพในการสร้างความสัมพันธ์เชิงผัสสารมณ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งที่นอกเหนือจากมนุษย์Joanna Łapińska. (2020). Vibrations of Worldly Matter. ASMR as Contemporary Musique Concrèteการสั่นไหวใน Memoria ไปไกลกว่ามนุษย์และความเป็นเหตุเป็นผล หูและดวงตาสร้างความสัมพันธ์ของเรากับเสียง ในขณะเดียวกันก็กำลังถูกประกอบสร้างจากผัสสะของเราที่ดำรงอยู่ในโลกเช่นกัน หูและดวงตาจึงเป็นเครื่องช่วยให้เสียงเคลื่อนผ่านเข้าปะทะกับร่างกายในฐานะแกนกลางของโลก นี่แสดงให้เห็นว่าการสั่นสะเทือน (ของสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสเราอย่างเปิดเผยและปราศจากอคติ) ได้สร้างผลกระทบกับผู้ฟังด้วยผัสสารมณ์ซึ่งมีก่อนตัวบุคคล นำไปสู่การเคลื่อนผ่านของเรือนร่างจากสภาวะหนึ่งสู่อีกสภาวะหนึ่ง เครือข่ายของการสื่อสารจึงเป็นเรื่องการเผชิญหน้าในแนวระนาบระหว่างสองเรือนร่างอันได้แก่ ร่างที่รู้สึกกับร่างผู้สร้างความรู้สึกDavid Trippett. (2018). Music and the Transhuman Ear: Ultrasonics, Material Bodies, and the Limits of Sensation
Memoria ทำให้เราสัมผัสถึงการสั่นไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวทั้งพื้นพิภพของภาพยนตร์ การยักย้ายปรากฎเป็นการเปิดออกที่เชื่อมโยงไปถึงเวลาหรือชีวิต มากกว่าเนื้อหาและพื้นที่ที่หยุดนิ่ง การสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องทำให้ภาพยนตร์มีชีวิตเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา ภาพกลายเป็นความทรงจำที่อยู่ร่วมกับปัจจุบัน และการดำรงอยู่ในความเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่องนี้ Memoria ทำให้เราได้พิจารณาพื้นที่ภายนอกและภายในที่ถูกเผยให้เห็นว่าเป็นเรื่องของพื้นที่ภายในที่ไม่ยึดติดกับเนื้อหาเฉพาะเจาะจง และเวลาก็ยึดกับสนามภายในซึ่งคลี่คลายในสภาวะการร่วมเวลาและความต่อเนื่องของอดีตและปัจจุบัน สนามภายในนี้เองที่เป็นพื้นที่ระหว่างอัตวิสัยและภววิสัย สนามภายในเป็นพื้นที่ที่ภาพในสถานะ “การกลายเป็นสิ่งอื่นๆ” ก่อรูปก่อร่างSimon, Emőke. (2013). (Re)framing Movement in Stan Brakhage’s Visions in Meditation N°1
เรื่องเล่าของเมืองและผู้คนตัวเล็กตัวน้อยถูกถ่ายทอดผ่านแอร์นันผู้สามารถจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้ มันอาจเป็นเรื่องของสารพิษในดินและแม่น้ำจากเหมืองในเมืองกว่า 20 แห่งHelena Durán. (2016). Pijao: the “slow” town that is endangered due to miningมันอาจเป็นไกลโฟเซตตกค้างจากโครงการฝนพิษด้วยการพ่นสารเคมีทางอากาศจากกองทัพเพื่อทำลายไร่โคคาของกองกำลังฝ่ายซ้ายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994-2015Kristina Lyons. (2018). Chemical warfare in Colombia, evidentiary ecologies and senti-actuando practices of justice. มันอาจเป็นความทรงจำของ Gustavo ชาวนาผู้เห็นผีโครงกระดูกในป่าแถวริมลำธารและผู้ได้เมียใหม่ในงานศพเมียของตนเอง มันอาจเป็นประวัติศาสตร์ของ Cinema Roman โรงหนังแห่งเดียวในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ที่ปิดกิจการในปี ค.ศ. 1999 Eduardo ผู้ได้มรดกเป็นคนสืบทอดโรงหนังแห่งนี้และมีน้องชายทำอาชีพนักสืบ หรือมันอาจเป็นความทรงจำที่เจ็บปวดของ Martha Morales ผู้มาอยู่เมืองนี้เพื่อขายตัวและค้ายา ลูกชายของเธอถูกกองโจรฆ่าเพราะบอกที่ซ่องสุมกับตำรวจ เธอเล่าให้อภิชาติพงศ์ถึงเหตุการณ์คืนที่เธอต้องซ่อนตัวใต้เตียงกับลูกสาวตั้งแต่สองทุ่มถึงแปดโมงเช้าเพื่อหลบกองโจรที่ใช้อาวุธระเบิดควันและปืน ปัจจุบันเธอทำอาชีพขอดเกล็ดปลาและมีงานอดิเรกคือการเย็บปักถักร้อย25
Lorem Ipsum คำที่ปรากฏอัตโนมัติในโปรแกรมดีไซน์เมื่อคุณคลิกเตรียมพิมพ์อะไรสักอย่าง กลายมาเป็นชื่อ “พื้นที่ฉายหนังอิสระ” แห่งหาดใหญ่อันเป็นสถานที่ที่ Film Club อยากขอแนะนำให้คุณได้รู้จักเป็นแห่งแรกสำหรับสกู๊ปนี้
อิรีนา ทซิลีก (Iryna Tsilyk) ผู้กำกับสารคดี The Earth Is Blue as an Orange (2020) ที่ได้รางวัลกำกับสารคดียอดเยี่ยมจากเทศกาลหนังซันแดนซ์ และคนทำหนังที่ติดแบล็กลิสต์ของรัสเซีย เลือกที่จะหนีออกมาจากยูเครนเพื่อสวัสดิภาพของลูกชายวัย 11 ปี โดยสามีที่เป็นนักเขียนได้ตัดสินใจออกไปเป็นกองกำลังตั้งแต่วันก่อนหน้า
“ฉันมีความรู้สึกว่าพวกเขาแค่อยากจะกำจัดคนยูเครนทุกคนออกไปจากโลกใบนี้” ดาร์ยา บาสเซล (Darya Bassel) คนจัดเทศกาลหนัง Docudays UA International Human Rights Documentary Film Festival ในยูเครนและโปรดิวเซอร์หนังกล่าว ดาร์ยาคือโปรดิวเซอร์ของ A House Made of Splinters (2022) สารคดีที่เพิ่งได้รางวัลกำกับสารคดียอดเยี่ยมที่ซันแดนซ์เมื่อมกราคมที่ผ่านมา เธอเลือกอยู่ต่อแต่ย้ายเมืองเพื่อจัดระบบช่วยเหลือและส่งเสื้อกันกระสุนไปจนถึงพาวเวอร์แบงค์ให้เพื่อนคนทำหนังและนักข่าวที่ยังอยู่ในเคียฟและฝั่งตะวันออกของประเทศเพื่อเก็บฟุตเทจ
บรรดาองค์กร หน่วยงาน และเทศกาลภาพยนตร์ในทวีปยุโรปยังคงเดินหน้ากดดันรัสเซียอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศเทศกาลหนังสตอกโฮล์ม, เทศกาลหนังกลาสโกว์ และงาน Series Mania ที่ Film Club ได้รายงานไปแล้วก่อนหน้านี้ ก็ถึงคิวของเทศกาลระดับท็อปทั้งคานส์, เวนิซ และ European Film Awards ที่ต่างออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนและมาตรการไปในทิศทางเดียวกัน
ในขณะที่เวนิซกล่าวเจาะจงว่า “ประตูของ La Bienne di Venezia ย่อมไม่ปิดตายสำหรับใครก็ตามที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก และลุกขึ้นต่อต้านความชั่วร้ายอันไม่อาจยอมรับได้ของการตัดสินใจโจมตีอธิปไตยของรัฐอื่น รวมถึงประชาชนที่ไร้หนทางสู้”
สำหรับสถาบันภาพยนตร์ยุโรปหรือ European Film Academy (EFA) ได้ออกแถลงการณ์ฉบับใหม่เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา โดยกล่าวประณามการทำสงคราม สนับสนุนข้อเรียกร้องของสถาบันภาพยนตร์ยูเครน (Ukrainian Film Academy) ที่ได้เรียกร้องต่อประชาคมภาพยนตร์ยุโรปให้ร่วมบอยคอตต์หนังรัสเซีย และแสดงตนเคียงข้างสมาชิกของ EFA ที่ตัดสินใจจับอาวุธขึ้นสู้กับกองทัพรัสเซียในบ้านเกิด
ในแถลงการณ์ฉบับนี้ EFA ได้ประกาศตัดสิทธิ์ภาพยนตร์สัญชาติรัสเซียออกจากการเข้าชิงรางวัล European Film Awards ประจำปี 2022 ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานภายในเดือนธันวาคม
3) เทศกาลหนังกลาสโกว์ (Glasgow Film Festival) ซึ่งจะมีช่วงวันที่ 2-13 มี.ค. นี้ ประกาศถอนชื่อหนังรัสเซียออกจากโปรแกรม 2 เรื่องคือ No Look Back ของ Kirill Sokolov และ The Execution ของ Lado Kvataniya
การเล่าข้ามด้วยน้ำหนักมือที่แม่นยำอย่างมหัศจรรย์ ค่อยๆ ดึงให้เราร่วมรู้สึก ค่อยๆ เปิดตาให้เราเริ่มมองเห็นการทำงานของ but… อันซับซ้อนสับสน ภายใต้เปลือกนอกของตัวละครซึ่งกำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะกลับสู่สภาวะ at home
[HONORABLE MENTION] in alphabetical order
– All the Dead Ones (2020, Caetano Gotardo & Marco Dutra, Brazil/France) – Brokeback Mountain (2005, Ang Lee, US/Canada) – The Death of Mr. Lazarescu (2005, Cristi Puiu, Romania) – The Edge of Daybreak | พญาโศกพิโยคค่ำ (2021, ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์) – episode 3-4 ของ I Promised You the Moon (2021, ทศพร เหรียญทอง) series – First Cow (2019, Kelly Reichardt, US) – Fifth Cinema (2018, Nguyễn Trinh Thi, Vietnam) mid-length – Future Lasts Forever (2011, Özcan Alper, Turkey/Germany/France) – Germany Year Zero (1948, Roberto Rossellini, Italy/France/Germany) – Good News, Comrades! (2021, Lars Karl Becker, Germany) short – Her Socialist Smile (2020, John Gianvito, US) – The Piano Teacher (2001, Michael Haneke, France/Austria/Germany) – The Power of the Dog (2021, Jane Campion, UK/Canada/Australia/New Zealand) – A Question of Silence (1982, Marleen Gorris, Netherlands) – Repentance (1984, Tenghiz Abuladze, Georgia) – Subarnarekha | The Golden Thread (1965, Ritwik Ghatak, India) – Something Useful (2017, Pelin Esmer, Turkey/France/Germany/Netherlands) – The Trouble with Being Born (2020, Sandra Wollner, Austria/Germany) – Woman in the Dunes (1964, Hiroshi Teshigahara, Japan) – Yuni (2021, Kamila Andini, Indonesia/France/Singapore/Australia)
มิสเตอร์อเมริกัน
kobayashi-san chi no maid dragon (Tatsuya Ishihara ,Yasuhiro Takemoto) (2021) (สองซีซั่น รวม 25 ตอนจบ)
ปีนี้เลือกยากมากว่าจะเอาเรื่องไหนดี เพราะ มีเรื่องที่น่าประทับใจและชอบหลายเรื่อง อาทิ Zombieland Saga Revenge ภาคต่อของซอมบี้ไอดอลที่สนุกเหมือนเคย, Super Cub อนิเมะโฆษณามอเตอร์ไซด์ที่สนุกอย่างน่าเหลือเชื่อจนอยากมีรถกับเขาบ้าง หรือกระทั่ง Violet Evergarden Movie ที่เป็นอนิเมชั่นที่บอกว่า ญี่ปุ่นไปไกลกว่าอนิเมะ Pixar หรือ Disney แล้ว แต่สุดท้ายก็มาจบที่แอนิเมชันแนวตลกครอบครัวแฟนตาซีจากค่ายเกียวอนิเรื่องนี้แทน
และหนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้คือบุสตามานเต ภายหลังจากเธอร่วมพูดคุยในหัวข้อ A World Apart, But Same Boat: Independent Film Industry in Thailand and Colombia ที่หอภาพยนตร์ฯ Film Club มีโอกาสได้สนทนาเป็นการส่วนตัวกับเธอ ถึงบทบาทของการเป็นโปรดิวเซอร์ ที่สำหรับเธอแล้ว คาบเกี่ยวระหว่างการเป็นเพื่อน เป็นแม่ และเป็นสะพานของโลกภาพยนตร์
ผู้เขียนสังเกตเห็นปฏิกิริยาของผู้รับชม One for the Road ของ นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผ่านทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก พบว่ามีคนเทียบ One for the Road กับ Happy Old Year (นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์, 2019) เยอะพอสมควร ทั้งการคืนของแฟนเก่า พ่อชอบดนตรี หรือคนรุ่นใหม่ที่ไปล่าฝันเมืองนอก แต่ด้วยความที่ผู้เขียนเพิ่งได้ดู Drive My Car (2021, ริวสุเกะ ฮามากุจิ) ก็อดคิดเทียบกันไม่ได้ ในแง่ที่ว่ามันเป็นโร้ดมูฟวี่ และเป็นเรื่องของการกลับไปเผชิญหน้าอดีตอันขมขื่นของผู้ชายที่ไม่เอาไหน นี่เองที่อาจทำให้เรานึกถึง Happy Old Year (2019) ไม่มาก เพราะตัวละครหลักเป็นผู้หญิง แต่ผู้กำกับเป็นผู้ชาย แต่ One for the Road กับ Drive My Car (2021) ผู้กำกับก็เป็นผู้ชาย แต่เล่าเรื่องของผู้ชายที่ไม่เอาไหน
แต่ความไม่เอาไหนก็ไม่ได้จำกัดไว้แต่เพศชาย เพราะความไม่เอาไหนใน One for the Road กลับขยายไปถึงความไม่เอาไหนของวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่อายุเข้าใกล้สามสิบทั้งชายหญิง อลิซที่กลับจากอเมริกามาเปิดร้านสอนเต้นที่ลูกค้าถูกกลืนด้วยผู้สูงอายุ ถ้าหากการเต้นเป็นเรื่องของคนมีเงินและเวลาว่าง แต่วัยรุ่นที่เป็นเป้าหมายหลักของร้านกลับไม่มีเงินและไม่มีเวลา หนูนาดูจะไปได้ดีที่สุด และอาจไม่ถูกจัดว่าเป็น “คนไม่เอาไหนในวัยสามสิบ” เธอไปได้ดีกับอาชีพนักแสดงตามความฝันที่เธอไปนิวยอร์ก
การเว้าแหว่งและการเติมเต็มจึงดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติของทั้งชายและหญิง แต่จริงๆ แล้วมันถูกอธิบายได้ด้วยเรื่องของการขาดหรือไม่ เราขาดหรือเราถูกทำให้รู้สึกขาด ทั้งๆ ที่มันอาจเป็นเพียงเรื่องของการยึดติดและการพลัดพราก (attachment and detachment) มันเป็นเรื่องปกติหรือไม่ที่เราจะรู้สึกยึดติดในบางครั้งและเราก็รู้สึกว่าพลัดพรากในบางคราว
เพราะหากมองว่ามันเป็นเรื่องของการอิจฉาองคชาติ (penis envy) ผู้หญิงที่รู้สึกว่าองคชาติขาดหายไปและต้องตามหา เหมือนเป็นกระดูกซี่โครงของอดัม หรือเพศชายที่ต้องสร้างอัตลักษณ์ของตนเองตามพ่อราวกับเป็นปมตั้งแต่สามขวบ การอิจฉาองคชาติจึงเป็นเหมือนบาปที่ทุกคนต้องรู้สึก เป็นบาปของมนุษย์ที่ต้องสารภาพและจำนน แต่มันใช่หรือไม่เมื่อใน One for the Road ผู้หญิงกลับเป็นองค์ประธานผู้กุมอำนาจไว้ไม่น้อย
แล้วถ้าเราเทียบ One for the Road กับ Drive My Car ทำไมเราจึงอาจจะชอบ Drive My Car มากกว่า เพราะรถอันเป็นพื้นที่ส่วนตัวของคาฟูกุค่อยๆ กลายเป็นพื้นที่ส่วนรวม เป็นความทรงจำร่วมของการเปิดบาดแผลและเยียวยา เมื่อเขากล้าเผชิญหน้ากับความจริง พร้อมๆ กับมิซากิ หญิงที่เลี้ยงชีพด้วยการขับรถ เราอาจชอบเพราะ Drive My Car มันไม่หมกมุ่นกับเพศชาย พื้นที่รถไม่ได้ถูกครอบครองด้วยเพศชาย? ต่างจากใน Drive My Car ที่รถเป็นพื้นที่ต่อรองทางชนชั้นระหว่างเจ้านายและลูกจ้าง ระหว่างชายและหญิง ระหว่างความทรงจำของปัจเจกและความทรงจำร่วมของสังคมญี่ปุ่นร่วมสมัย
หรือเพราะเรื่องของ One for the Road มันหมกมุ่นกับภาพฝันคนรวยของบอส ในขณะที่ Drive My Car พาเราไปเผชิญกับชีวิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชีวิตแบบคาฟุกุ ข้อถกเถียงนี้ก็ถูกจะตกไปเมื่อพบว่าใน One for the Road ก็มีตัวละครจากชนชั้นอื่นๆ ได้แก่ พริม หญิงสาวที่เกิดจากความสัมพันธ์ข้ามเชื้อชาติในเมืองพัทยา นี่ก็ทำให้เราได้เห็นชีวิตอื่นๆ ที่นอกจากบอส แต่แน่นอนว่าโร้ดมูฟวี่ใน One for the Road ก็คงไม่ใช่แบบที่เราจะพบใน Mysterious Object at Noon (2000) ที่มันแทบจะเป็นนิทานและสารคดีจากชนชั้นแบบพริมหรือยิ่งกว่าพริม
เมื่อการเดินทางของเรื่องเล่าผ่านรถใน One for the Road และ Drive My Car ดูจะเป็นการเดินทางที่ถีบคนดูอย่างเราออกไป ทั้งรถเก่าคลาสสิคและชีวิตที่ร่ำรวยแบบไม่รู้จะใช้เงินอย่างไรหมด ทั้งเพลงฝรั่งและการชงเหล้า ทั้งมุราคามิและนิยายรัสเซีย ผลไม้ปริศนาใน Mysterious Object at Noon กลับเป็นพาหนะที่พาเราไปยังเรื่องราวที่ดึงดูดเราให้ติดตามมากกว่า หรือเป็นเพราะเรากระหายเรื่องเล่าที่เหมือนกับชีวิตของเราในชีวิตประจำวัน ชีวิตที่ลำบากและไม่สมบูรณ์ ชีวิตที่ไม่ลงเอยอย่างงดงามด้วยการเป็นเจ้าของบาร์ที่ปลดหนี้ได้ ชีวิตที่ไม่อาจก้าวข้ามอดีตได้อย่างหมดจด ชีวิตที่ไม่อาจสะสางแก้ทุกปมได้ก่อนจากไปในระยะสุดท้ายของชีวิต
คำถามคือว่า เราไม่อินกับ One for the Road เพราะค๊อกเทล เพลงฝรั่ง รถหรู และวรรณกรรมต่างประเทศเพราะมันเป็นรสนิยมแบบชนชั้นกลางระดับสูงจริงๆ หรือไม่ จากบาร์ใน Drive My Car ที่เป็นพื้นที่เปิดใจระหว่างคาฟุกุกับโคจิ ไปจนถึงบาร์ใน One for the Road ที่เปิดพื้นที่ระหว่างบอส อู๊ด พริม ตั๊ก และคนอื่นๆ เช่นเดียวกับรถ Saab 900 สีแดงไปจนถึง BMW 2000C/CS ที่เป็นทั้งพาหนะและพื้นที่แลกเปลี่ยนเรื่องราว จะเห็นได้ว่าชื่อเรื่อง One for the Road หรือ “สักแก้วก่อนเดินทางต่อ” ที่อาจหมิ่นเหม่ต่อคำสอนที่ว่า “ไม่ดื่มก่อนขับ” และอาจเป็นชื่อบาร์ในฝันของพริม การดื่มเหล้าที่ถูกบรรจงชงและตั้งชื่อในเรื่องไม่อาจสรุปได้อย่างง่ายๆ ว่าค็อกเทลเป็นเรื่องของชนชั้นกลางใช้เพื่อการมีสุนทรีย์กับชีวิต หรือกระทำการโรแมนติกเพื่อหลงลืมความลำบากของชนชั้นแรงงาน เพราะการดื่มค็อกเทลก็มีบทบาทคล้ายกับวงเหล้าไทบ้าน บาร์เป็นพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรื่องราว เยียวยาบาดแผล และเผชิญหน้ากับความจริงพอๆ กับวงเหล้าขาว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าภายใต้รัฐไทย การเข้าถึงค็อกเทลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เมื่อเทียบกับเหล้าขาวหากคุณไม่มีเงินพอ
(เซอร์จิโอ เลโอเนปฏิเสธโปรเจกต์นี้ในตอนแรกเพราะรู้สึกว่าพล็อตเชิดชูมาเฟียไม่เห็นน่าสนใจ แต่ต่อมาเขาก็เสียใจมากและไปทำหนังเจ้าพ่อของตัวเองบ้างคือ Once Upon a Time in America ปี 1984)
พวกเขาอยากได้โรเบิร์ต เรดฟอร์ด หรือไม่ก็ไรอัน โอนีล มาเล่นเป็นไมเคิล คอร์เลโอเน แต่คอปโปลาดึงดันว่าต้องเป็นปาชิโนเท่านั้น และมันก็กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดของหนัง (ปาชิโนได้ค่าตัวจากบทนี้แค่ 35,000 เหรียญ -เท่ากับเจมส์ คานและไดแอน คีตัน- แต่หลังจากนั้นเขาไปโด่งดังสุดๆ จาก Scarecrow กับ Serpico และเมื่อได้รับการทาบทามให้กลับมาเล่น The Godfather: Part II เขาเลยขึ้นค่าตัวเป็น 6 แสนถ้วน)
6) พาราเมาท์ไม่ชอบที่หนัง “มืดเกินไป”
หลังจากได้เห็นฟุตเตจ ผู้บริหารค่ายก็บ่นอุบว่าหนังมืดเหลือเกินและพยายามแนะนำให้จัดแสงมากกว่านี้ แต่ กอร์ดอน วิลลิส ผู้กำกับภาพยืนยันว่าแสงเงาแบบนี้แหละเหมาะสมกับการถ่ายทอดเรื่องราวธุรกิจมีเงื่อนงำของครอบครัวคอร์เลโอเนมากที่สุด (วิลลิสเป็นผู้กำกับภาพที่ได้รับฉายาว่า “The Prince of Darkness”)
ความจริงแล้วเดอ นีโรมาแคสต์ในบทซอนนี่ แต่เป็นคอปโปลาอีกนั่นแหละที่เล็งเห็นว่าบุคลิกของเดอ นีโรดูเหี้ยมโหดรุนแรงเกินบทนี้ไปเยอะ และตัดสินใจเลือกเขามารับบทวีโต คอร์เลโอเนใน The Godfather: Part II แทน ซึ่งก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องน่าคารวะจริงๆ และเดอ นีโรชนะออสการ์ไปจากบทนี้
ว่างเว้นจากการทำหนังมาถึง 6 ปี มาจนปีนี้นี่แหละที่ ปาร์กชานวุก ผู้กำกับหนังเกาหลีใต้ลือลั่นอย่าง Oldboy กับ The Handmaiden จะกลับมาพบชาวโลกด้วยหนังดราม่าลึกลับเรื่อง Decision to Leave …แต่ก่อนหน้านั้น มาแก้คิดถึงด้วยหนังสั้น 21 นาทีที่เขาทำร่วมกับ Apple และถ่ายด้วย iPhone 13 Pro ทั้งเรื่องกันก่อน
หนังสั้นที่ว่านี้มีชื่อว่า Life is But a Dream นำแสดงโดย ยูแฮจิน, คิมอ๊กบิน (ซึ่งเคยร่วมงานกับปาร์กใน Thirst) และพัคจงมิน ถ่ายภาพโดยคิมอูฮย็อง (The Little Drummer Girl) และทำดนตรีประกอบโดยจางย็องคยู (Train to Busan, The Good the Bad the Weird) เล่าเรื่องแนวแฟนตาซีกำลังภายในสุดจะเฮี้ยนของสัปเหร่อคนหนึ่งที่ต้องการไม้มาสร้างโลงศพให้คนในหมู่บ้าน พร้อม ๆ กับขุดซากหลุมร้างเก่า ๆ โดยนึกไม่ถึงว่ามันจะกลายเป็นการไปปลุกผีนักดาบโบราณให้ฟื้นตื่นขึ้นมาแล้วไล่ล่าตามหาโลงศพของตนเองคืน
พล็อตแบบนี้และหนังแนวนี้เป็นอะไรที่ใช้ทุนสร้างมหาศาลและแบกรับความกดดันสูงแน่นอนหากทำเป็นหนังขนาดยาวในปัจจุบัน นั่นเป็นเหตุผลที่เมื่อได้รับการชักชวนจาก Apple ให้มาทำหนังสั้นโชว์ศักยภาพ Cinematic mode ของ iPhone 13 ปาร์กชานวุกจึงเลือกมันมาทำเพราะเป็นโอกาสให้ได้เล่นสนุกอย่างมีอิสระเต็มที่ หลังจากเคยได้ลองและติดใจมาแล้วตอนทำ Night Fishing หนังสั้น 33 นาทีที่ถ่ายด้วย iPhone 4 ทั้งเรื่องเมื่อปี 2011
1) The Power of the Dog สร้างสถิติเข้าชิงออสการ์ปีนี้สูงสุดคือ 12 สาขา ตามมาติดๆ ด้วย Dune ชิง 10 สาขา และ West Side Story กับ Belfast เข้าชิงเรื่องละ 7 สาขา โดยทั้ง 4 เรื่องนี้ติดสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทั้งหมด
2) เจน แคมเปียน (ผู้กำกับ The Power of the Dog) สร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เข้าชิงออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมมากกว่า 1 ครั้ง (เรื่องแรกของเธอคือ The Piano ปี 1993) นอกจากนั้นปีนี้เธอยังได้ชิงสาขาเขียนบทดัดแปลงด้วย
3) เคนเนธ บรานาห์ สร้างประวัติศาสตร์เป็นคนแรกที่ได้ชิงออสการ์รวมทั้งหมด 7 รางวัล…ใน 7 สาขาไม่ซ้ำกันเลย!!! โดยเขาเคยชิงสาขานักแสดงนำและผู้กำกับจาก Henry V, ชิงสาขาหนังสั้นจาก Swan Song, สาขานักแสดงสมทบจาก My Week With Marilyn, สาขาเขียนบทดัดแปลงจาก Hamlet และปีนี้เขาชิงทั้งสาขากำกับ โปรดิวซ์ เขียนบทออริจินัล จาก Belfast
5) ไม่เท่านั้น สปีลเบิร์กยังสร้างสถิติใหม่เอี่ยมด้วย ความที่เขาเป็นโปรดิวเซอร์ของ West Side Story และหนังได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ส่งผลให้เขาเป็นโปรดิวเซอร์ที่มีหนังเข้าชิงสาขานี้มาแล้วทั้งหมดถึง 11 เรื่อง อันนับเป็นสถิติสูงสุดของรางวัลออสการ์
6) และที่เราต้องร้องแสดงความยินดีให้ดัง ๆ ก็คือ ริวสุเกะ ฮามากุชิ ที่พา Drive My Car มาสร้างประวัติศาสตร์เป็นหนังญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กับยังได้ชิงอีก 3 สาขาใหญ่คือภาพยนตร์ต่างประเทศ, เขียนบทดัดแปลง และผู้กำกับยอดเยี่ยม ขณะที่ตัวฮามากุชินับเป็นผู้กำกับชาวญี่ปุ่นคนที่ 3 ที่ได้ชิงสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม (ถัดจาก ฮิโรชิ ทาชิกะฮาระ จาก Woman in the Dunes ปี 1964 และ อากิระ คุโรซาวะ จาก Ran ปี 1985)
7) นอกจากนั้น Drive My Car ยังนับเป็นหนังเรื่องที่ 6 เท่านั้นที่ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากนักวิจารณ์สำนักใหญ่ ๆ อย่างสมาคมนักวิจารณ์แอลเอ, นักวิจารณ์นิวยอร์ก และ National Society of Film Critics ก่อนจะมาเข้าชิงออสการ์ปิดท้าย (โดย 5 เรื่องก่อนหน้านี้ที่ทำได้แบบนี้ก็คือ Goodfellas, Schindler’s List, L.A. Confidential, The Hurt Locker และ The Social Network)
9) มาดูฝั่งนักแสดงบ้าง : ทรอย คอตเซอร์ เป็นนักแสดงผู้พิการทางหูคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ที่ได้เข้าชิงจากบทตัวละครที่พิการทางหูเช่นกัน โดยคนแรกก็คือ มาร์ลี แมตลิน จาก Children of a Lesser God (ซึ่งชนะออสการ์ไปด้วย)
10) อาเรียนา เดอโบส ผู้รับบทแอนิตาใน West Side Story ฉบับสปีลเบิร์กได้เข้าชิงสาขานักแสดงสมทบ ต้องถือว่าแอนิตาเป็นบทที่ขลังจริง ๆ เพราะย้อนไปในหนังเวอร์ชั่นปี 1961 นักแสดงที่รับบทนี้คือ ริตา โมเรโน ก็เคยชนะออสการ์มาแล้ว (โดยเป็นนักแสดงละตินคนแรกที่ได้ออสการ์) ดังนั้นหากเดอโบสชนะ เธอกับโมเรโนก็จะกลายเป็น “คู่ดาราที่คว้าออสการ์จากบทเดียวกัน” ถัดจากคู่ มาร์ลอน แบรนโด – โรเบิร์ต เดอ นีโร (บทวีโต คอร์เลโอเน ใน The Godfather และ The Godfather Part II), และ ฮีธ เล็ดเจอร์ – วาคีน ฟินิกซ์ (บทโจ๊กเกอร์ ใน The Dark Knight และ Joker) โดยเดอโบสกับโมเรโนก็จะเป็นคู่ดาราหญิงคู่แรกด้วยที่ทำได้แบบนี้
12) ไม่เท่านั้น คู่รักในชีวิตจริงอย่าง เคอร์สเทน ดันสต์ กับ เจสซี เพลมอนส์ ก็ควงแขนเข้าชิงออสการ์พร้อมกันเช่นกัน และจากหนังเรื่องเดียวกันคือ The Power of the Dog
13) ในสาขาเพลงประกอบยอดเยี่ยม ปีนี้มีศิลปินดังที่เพิ่งได้ชิงออสการ์เป็นครั้งแรก 2 คน คือ บิลลี ไอลิช จากเพลง No Time to Die (เรื่อง No Time to Die) และ บียอนเซ่ จากเพลง Be Alive (เรื่อง King Richard ซึ่งตัวหนังได้เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย)
14) ในบรรดาสาขาทั้งหมด ผู้กำกับภาพยอดเยี่ยมเป็นสาขาเดียวที่ไม่เคยมีผู้หญิงชนะมาก่อนเลย ปีนี้เราจึงอยากลุ้นให้ เอรี เวกเนอร์ จาก The Power of the Dog สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้สำเร็จ
ทั้งคู่พบกันได้เพราะใช้บริการเอเจนต์จัดหางานรายเดียวกัน ก่อนจะพบว่าตลกหญิงบูมเมอร์จอมเย่อหยิ่งกับนักเขียน Gen Z จอมโอหังนั้นอาจมีอะไรคล้ายกันมากกว่าที่คิด นี่คือเรื่องราวของ Hacks ซีรีส์ตลกที่ว่าด้วยการปะทะกันของยุคสมัยที่น่าสนใจที่สุดของปี 2021 ที่ผ่านมา