AUTHOR

มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์

Where Is the Friend’s Home? (Iran, 1987, Abbas Kiarostami)

ยุคหนึ่งหนังอิหร่าน มักมีลีลาการเดินเรื่องและวิธีนำเสนอเหมือนชวนคนดูร่วมเล่นเกมที่พบเห็นได้บ่อยเวลาจัดสัมมนาหรือทำกลุ่มสัมพันธ์ ที่มักเดินภายใต้โจทย์หรือกติกาบางอย่างซึ่งกว่าจะบรรลุเป้าหมาย มักมีการให้ผ่านด่านสิบแปดก่อน และโดยมากชอบใช้ตัวละครเด็ก

LA BOUM (Fr., 1980, Claude Pinoteu) สมการรักคาวหวาน

เมื่อถึงที่สุดแล้ว ความพยายามช่วยโรงสกาลาให้รอดจากการถูกทุบคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สุดท้ายก็คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการย้อนกลับไปหา content ที่เคยอยู่ในนั้น ว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นเหมือนสื่อกลางให้ที่ตรงนั้นเกิดความทรงจำร่วมกับคนทุกรุ่น ซึ่งก็คือประดาหนังที่เคยผ่านจอฉายของโรงในละแวกนี้ อันที่จริงหนัง La Boum (1980, โคล้ด ปีโนโต) ก็ไม่เคยฉายสกาลา แต่ไปเข้าโรงสยาม ซึ่งกว่าจะได้ฉายจริงก็ล่วงเข้าปีพ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) โดยในช่วงเดียวกันที่ฝรั่งเศสเขาดูภาคสองไปเรียบร้อยแล้ว...

วิมานดารา (2517/1974, ชุติมา สุวรรณรัตน์) : ‘Nobody Some Day’

เนื่องในโอกาสที่ วิมานดารา ได้รับเลือกเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภาพยนตร์ของชาติประจำปีนี้ มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ จึงขอชวนคุณผู้อ่านย้อนกลับไปรำลึกถึงหนังเรื่องนี้อีกครั้ง

Remembering Varda : 2. To Doc., or Not to Doc.

หลังจากภาคแรกที่พูดถึงหนังเล่าเรื่องของเธอ ภาคสองนี้ มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ ขอชวนผู้อ่านระลึกชาติผลงานหนัง Agnès Varda อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการพาผู้อ่านทัวร์หนังสารคดี 3 เรื่องเธอและดูว่ามีอะไรและสิ่งนั้นซ่อนตัวอย่างเรียบง่ายและงดงามในหนังเหล่านี้ได้อย่างไร

Remembering Varda : 1. Pursuit of Unlimited Happiness

ขอชวนผู้อ่านระลึกชาติผลงานหนัง Agnès Varda อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการพาผู้อ่านทัวร์หนังจำนวน 7 เรื่องของเธอและดูว่ามีอะไรซ่อนตัวอย่างเรียบง่ายและงดงามในหนังเหล่านี้ได้อย่างไร

100 Times Reproduction of Democracy ‘แกง’ หม้อใหญ่

นี่คือบทความตอนสองที่กล่าวถึงหนังของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล ที่เคยออกฉายคู่กัน ที่ Bangkok Screening Room โดยชี้ให้เห็นถึงการก่อร่างใหม่จากสิ่งเดิม ทั้งจากต้นฉบับ ไปสู่งานสำเนา งานต่อยอดแตกขยายจนทำให้ต้นฉบับกลายเป็นสำเนา สำเนากลายเป็นต้นฉบับ

Forget Me Not ข้างหลัง-ของ-ข้างหลัง-ภาพ

บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์ 'ไม่รู้' แบบไร้เหตุผลรองรับใดๆ ทั้งสิ้นครับ ว่าทำไมเวลาเจองานรีเมคทีไร ใจผมมักนึกไปถึงหนังชื่อ The Last Remake of Beau Geste (1977, Marty Feldman) ก่อนเป็นอย่างแรก ซึ่งอย่างกับเป็นยันต์อาบวาจาสิทธิ์พระร่วงคอยสะกดไม่ให้มีใครเอาเรื่อง Beau Geste ที่ว่าเอากลับมาสร้างใหม่กันจริงๆ จนทุกวันนี้แทบไม่มีใครรู้จักหนังที่ชื่อ...

อนินทรีย์แดง (Red Aninsri, or Tiptoeing on the Still Trembling Berlin Wall) : The Next Voice You Hear

มีจุดเล็กๆ ที่แทบจะมิได้มีส่วนขับเคลื่อนหนังเท่าไหร่ อยู่ช่วงกลางๆ เรื่องที่ตัวเอก 'อังค์' เข้าไปตีสนิทกับนักเคลื่อนไหวผู้ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาล ในขณะนั้น 'อังค์' ได้แปลงโฉมตัวเองเป็นชายหนุ่ม (โดยใข้ชื่อ 'อิน') มีบทสนทนาบนเตียง (ซึ่งมีแค่นั้นจริงๆ ครับ) ที่สองคนเขาถกกันถึงสิ่งที่อเมริกาปฏับัติกับญี่ปุ่นด้วยการไม่จับองค์จักรพรรดิ แต่เก็บไว้ เพื่อไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นเป็นคอมมิวนิสต์ (ซึ่งอันนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลย) (เพราะเท่าที่เคยได้ยินมาคงมีแค่) หลังอเมริกาทิ้งบอมบ์ไปสองลูก...

Last and First Men : แล้วเรา ก็ตามหากันจน(ไม่)เจอ

ไม่ผิดครับ ถ้าเรายังไม่เกิดในช่วงเวลาที่หนัง L'Année Dernière à Marienbad (อาแลง เรอเนส์, 1961) มาฉายตามโรง (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เคยมาเข้าอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นที่อื่นบ้างล่ะ), ไม่ใช่เรื่องน่าน้อยใจว่าทำไมเราเพิ่งเคยดูหนัง La Jetée (คริส มาร์กเกอร์, 1962)...

She Dies Tomorrow

นี่ก็เป็นตุเป็นตะ ซะ แต่ก็ต้องนับว่าเป็นการฉีกรูปแบบการจัดรอบสื่อเท่าที่เคยมีมาในดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ (ซึ่งจริงๆแล้วน่าจะใช้คำว่าอีเวนท์น่าจะเหมาะกว่า) เริ่มจากสถานที่จัดฉายซึ่งก็ไม่ใช่โรงหนังด้วยครับ แต่เป็นคาเฟ่แบบเข้าไปแล้วกะจะให้รำลึกถึงวันตาย พอเข้างานปุ๊บ ทางเจ้าภาพทักทายก่อนประโยคแรก 'คุณเอมี่ไม่ได้มาด้วยนะครับ' (แหงเน่าะ เอ-ม่ง, เอ-มี่มีตัวตนอยู่จริงที่ไหน, ถ้าหมายถึงตัวดารา คือคุณ Kate Lyn Sheil นักแดง เค้าคงมาอยู่หร่อก) ประเดี๋ยวก็มีเลี้ยงอาหารประจำตามงานศพ...

Gandhi ประวัติศาสตร์ของ(อินเดีย)เขา ปัจจุบันของเรา

มีผลงานหนังของ Sir Richard Attenborough อยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ผูกติดกับตัวละครคนหนึ่งคนใด แต่ใช้ตัวเหตุการณ์มาทำหน้าที่เล่าเรื่อง อย่าง Oh!, What a Lovely War (1969, สงครามหฤหรรษ์) ก็เป็นบรรยากาศกว้างๆ ที่นู่นบ้าง, ที่นี่บ้างแบบตลกหกฉาก และยิ่งพอมาถึง A Bridge...

A Moment of Romance (天若有情, Hong Kong)

ค.ศ. 1982 รัฐบาลอังกฤษภายใต้นาง Margaret Thatcher ได้ปฏิเสธการต่อสัญญาเช่าเขตฮ่องกง (Hong Kong Territory) ก่อนครบสัญญาอายุเก้าสิบเก้าปีในปี 1997 (หรืออีกสิบห้าปีหลังจากนั้น) ผลจากการตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษ สร้างความไม่เชื่อมั่นในอนาคตของเขตปกครองฮ่องกง ทันทีที่ถูกเปลี่ยนมือตกเป็นของจีนแผ่นดินใหญ่ สร้างความหวาดวิตกต่อนักลงทุน+เจ้าของเงินและธุรกิจ (โดยเฉพาะชาติตะวันตก) ส่งผลให้เกิดการขนย้ายถ่ายโอนเงินทุนออกนอกประเทศเป็นว่าเล่น โดยเฉพาะทุนที่ต่างชาติถือครองสินทรัพย์ ซึ่งกระจายตัวไปหลายส่วนทั่วโลก  จนกระทั่งถึงวันส่งมอบเอกราชจากอังกฤษให้กับจีนแผ่นดินใหญ่ในค่ำคืนวันที่...

Antebellum อิสรภาพที่มิได้กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ

หนังบางเรื่องถูกสร้างให้ดูซ้ำ (นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ) แต่ก็มีบางเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อให้ดูหนเดียวพอ เพราะหลังจากนั้นมันจะวนเวียนตามหลอนหลอก เพื่อไม่ให้ลืม และแม้แต่ในเรื่องเรื่องเดียวกันนี้เองก็เถอะ ที่มีการสวิงตัวของความรู้สึก ให้เหวี่ยงไปมาได้หลายรูปแบบ (ซึ่งรวมการเข้าถึงตัวหนัง) ที่เปลี่ยนจากเฉยเป็นชอบๆ เป็นยี้ๆ แล้วสุดท้ายก็ต้องกลับมาทบทวนกับมันอย่างระมัดระวังและรอบคอบอีกครั้งหนึ่งว่าเราหลงลืมหรือมองข้ามอะไรไปบ้างรึเปล่าซึ่ง Antebellum (2020, Gerard Bush and Christopher Renz) ก็คือหนึ่งในนั้น การจะเขียนรีวิวและทำความเข้าใจหนังอย่าง...

CINEMA NOSTALGIA : EMMANUELLE

หนังอีโรติคเรื่องนี้ถ่ายในเมืองไทย แต่กลับไม่ได้รับการจดจำในฐานะ "หนังถ่ายในเมืองไทย" อย่างน่าเสียดาย ...มโนธรรม เทียมเทียบรัตน์พาเราย้อนรำลึกถึง Emmanuelle