สัปดาห์แรกของหนังไทย ‘รักหนูมั้ย’ จากผู้สร้าง ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ยังตามหลัง The Witches อยู่เกือบเท่าตัว ส่วนการเข้าฉายครั้งแรกในเมืองไทยของ In the Mood for Love หนังทำเงินเกินล้านแล้วจ้า
จนเมื่อลูกคลอดออกมา จนเมื่อตรวจ DNA รู้ว่าใครคือพ่อที่แท้แล้วก็ตาม มันก็ยังไม่ได้ง่ายขึ้น ถึงที่สุดทั้งห้าก็ลองใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เริ่มจากการไม่มีทางเลือกกระเสือกกระสนไปตามศีลธรรมในจิตใจไปสู่การเลือกที่จะสร้างทางใหม่ๆ ด้วยตัวเอง
พล็อตเรื่องน่าตื่นเต้นยิ่ง มันพร้อมจะกลายเป็นนิทานสาธก หนังสั่งสอนศีลธรรมสาวรักสนุก หรือเด็กหนุ่มๆ ไม่คิดหน้าคิดหลัง ในอีกทางมันก็สามารถเป็นพล็อตอบอุ่นหัวใจของสามหนุ่มที่เปลี่ยนไปเพราะต้องมาดูแลทารก แบบที่หลายๆ คนอาจคุ้นเคยจากหนังอย่าง Three Men and A Baby ในอีกทางหนึ่งสุดท้ายมันอาจเป็นพล็อตสำหรับหนังรัก เมื่อเด็กที่เกิดมาทำให้เด็กสาวต้องเลือกว่าใครกันแน่ที่เธอจะรักสร้างครอบครัวไปด้วยกัน
— เหล่านี้คือบางบรรยากาศสุดหวามไหวที่สร้างความตราตรึงใจให้แก่ผู้ชมตลอดมาใน In the Mood for Love (2000) ผลงานขึ้นหิ้งของ หว่องกาไว ผู้กำกับภาพยนตร์ระดับโลกชาวฮ่องกงที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการบอกเล่าสภาวะอารมณ์เปลี่ยวเหงาของผู้คนผ่านงานภาพที่โดดเด่น ทั้งจากแสงเงา สีสัน และการเคลื่อนกล้อง
และก็เป็นร้านบะหมี่เกี๊ยวริมทางนี่เอง ที่มีส่วนช่วยให้ ‘เขา’ -โจวมู่หวัน (รับบทโดย เหลียงเฉาเหว่ย)- และ ‘เธอ’ -โซวไหล่เจิน (จางหม่านอวี้)- ใน In the Mood for Love ได้มีโอกาสพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน
หากแต่ใน In the Mood for Love นี้ เขาได้พยายามใช้อาหารมาเป็น ‘ตัวดำเนินเรื่องหลัก’ ตั้งแต่แรกเริ่ม
ก่อนหน้านี้ หว่องกาไวเคยถึงขั้นตั้งชื่อโปรเจ็กต์นี้ว่า Story about Food (บางแหล่งก็ระบุว่า A Story of Food หรือ Three Stories about Food) ซึ่งประกอบขึ้นจากเรื่องเล่า 3 เรื่องโดยมีอาหารเป็นตัวเชื่อมโยง เพราะเขาตั้งใจจะทำหนังที่แสดงถึงวัฒนธรรมการกินอันเปี่ยมเอกลักษณ์ของฮ่องกง ทั้งในร้านริมทาง ในภัตตาคาร และในมื้อค่ำรูปแบบต่างๆ โดยถึงขั้นเตรียมจ้างแม่ครัวเก่าแก่มาช่วยรังสรรค์เมนูอาหารเซี่ยงไฮ้ให้ออกมาใกล้เคียงมากที่สุดกับเมนูของจริงในยุค 60 -อันเป็นยุคที่บะหมี่เกี๊ยวริมถนนกำลังเป็นที่นิยม- เลยทีเดียว
หนึ่งในฉากจำของ In the Mood for Love ที่แม้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาหาร แต่ก็มักถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง คือฉากที่ตัวละครโจวมู่หวันยืนกระซิบกระซาบกับกำแพงมี ‘รู’ ในนครวัดที่กัมพูชา แล้วใช้ก้อนดินก้อนหญ้าอุดปิดมันเอาไว้ -เพราะเขาเคยได้ยินมาว่ามันเป็นวิธีการที่จะช่วยเก็บกัก ‘ความลับ’ เอาไว้ได้ตลอดกาล- ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยวเหงาขั้นสุดของตัวละครนี้ ในฐานะของชายหนุ่มหัวใจแหลกสลายที่ต้องทนเก็บงำความสัมพันธ์ลับๆ ระหว่างเขากับโซวไหล่เจินเอาไว้ แล้วปล่อยให้มันค่อยๆ ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา
จุดเริ่มต้นของ On the Rocks มาจากเรื่องเมาท์สุดฮาของเพื่อนเธอเอง เมื่อวันหนึ่งนางเกิดสงสัยว่าสามีแอบไปมีกิ๊ก เลยร่วมหัวกับพ่อสะกดรอยตามสืบ แต่รายละเอียดอื่นๆ นั้น ก็ยังเป็นการบันทึกโมงยามของความเป็นแม่ที่คอปโปลาพบเจอมา
ใครเคร่งศีลธรรมและความถูกต้องทางการเมืองอาจต้องทำใจก่อนกดดูหนังของบารอน โคเฮน เพราะเขาใช้วิธีที่แสนจะไม่ PC เพื่อตรวจสอบศีลธรรมของคนดูนั่นเอง ซึ่งมันจะคล้ายกับการทำงานของกลุ่ม Jackass นั่นคือสวมบทบาทเป็นตัวละครแล้วกระโจนเข้าไปป่วนสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็น Ali G Indahouse ที่เขารับบทแร็พเปอร์ชาวอังกฤษ, Bruno ในบทแฟชั่นนิสต้าชาวออสเตรีย, The Dictator ผู้นำเผด็จการในโลกเสรี และ Borat นักข่าวคาซัคสถานที่มาทำข่าวในอเมริกา
Borat Subsequent Movie Film: Delivery of Prodigious Bribe to American Regime for Make Benefit Once Glorious Nation of Kazakhstan คือหนังภาคต่อซึ่งเว้นช่วงไปถึง 14 ปี ที่ถ่ายทำภายในช่วงโควิดและออกฉายให้ได้ก่อนการเลือกตั้งอเมริกาจะมาถึง (หนังฉายอยู่ที่ Amazon Prime) โดยเขาให้เหตุผลว่า “เราอยากให้หนังช่วยย้ำเตือนความคิดของผู้มีสิทธิโหวตที่เป็นผู้หญิงทุกคน ไม่ส่าคุณจะเลือกใครก็ตาม แต่จงรู้ไว้ว่าการตัดสินใจของคุณมันสำคัญต่อคุณค่าทางเพศของคุณแค่ไหน”
Cosmoball หนังแฟนตาซีจากรัสเซีย เปิดตัววันแรกขึ้นอันดับ 1 แต่แผ่วปลาย ทำให้ ‘หลวงพี่กะอีปอบ’ แซงกลับขึ้นมาอยู่อันดับ 1 ได้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ส่วน In the Mood for Love ก็สามารถทำเงินทั้งสัปดาห์ได้ถึงกว่า 8 แสนบาท
รายได้หนังประจำสัปดาห์ 29 ต.ค. – 4 พ.ย. 63
หลวงพี่กะอีปอบ – 2.68 (8.68) ล้านบาท
Cosmoball – 2.33 ล้านบาท
Pinocchio – 1.34 (4.21) ล้านบาท
The Craft Legacy – 1.32 ล้านบาท
Impetigore – 1.26 ล้านบาท
In the Mood for Love – 0.84 ล้านบาท
เฮ้ย! ลูกเพ่ นี่ลูกพ่อ – 0.65 (8.47) ล้านบาท
Honest Theft – 0.63 (7.27) ล้านบาท
Relic – 0.55 (2.04) ล้านบาท
Fate/Stay Night: Heaven’s Feel III – 0.30 (2.12) ล้านบาท
เบน แบรดลีย์ บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ The Washington Post ได้กล่าวไว้ในวันที่คนทำสื่อรอบตัวเขาต่างสงสัยในหน้าที่ของตัวเอง
ในฐานะหนังที่กำกับโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก The Post ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างหมดจดในการเล่าถึงวินาทีหยุดโลก ที่หนังสือพิมพ์ The Washington Post ตัดสินใจตีพิมพ์บันทึกลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ บันทึกนั้นได้เปิดเผยว่าปฏิบัติการในสงครามเวียดนามของสหรัฐนั้นเกิดขึ้นทั้งที่ผู้เกี่ยวข้องรู้อยู่แล้วว่ามันมีข้อผิดพลาด และแม้จะถูกขู่ฟ้อง The Washington Post ก็ตัดสินใจตีพิมพ์มันอยู่ดี
“การตัดสินใจของคุณ (ในยุทธการนั้น) ไม่สมบูรณ์” แคทเธอรีน เกรแฮม เจ้าของและฝ่ายบริหาร The Washington Post กล่าว “คุณเขียนไว้ในรายงานว่าอย่างนั้น” เธอพูดกับโรเบิร์ต แม็คนามารา อดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงทางการทหารของสหรัฐฯ ที่เป็นทั้งเพื่อนและคู่ค้าทางธุรกิจของเธอ
The Washington Post เป็นเพียงสื่อท้องถิ่นที่ไม่ได้น่าจับตาอะไร พวกเขาช้ากว่า The New York Times เสมอและมีทีท่าว่าจะช้าอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งวันหนึ่ง The New York Times ถูกเซ็นเซอร์และถูกฟ้องจากรัฐบาลสหรัฐฯ เนื่องจากตีพิมพ์เอกสารลับทางราชการ การจุดชนวนจึงเริ่มขึ้น และ The Washington Post ก็เริ่มคิดว่าพวกเขาต้องทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับข่าวนี้
The Post ได้ฉายให้เห็นภาพความกดดันที่สื่อต้องแบกรับ เมื่อต้องเลือกระหว่างการเข้าข้างรัฐบาลหรือตกเป็นผู้เสียเปรียบในเกมอำนาจ ที่มีชะตากรรมของประชาชนเป็นเดิมพัน หนังดำเนินไปในช่วงปี 1971 ที่หนังสือพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่มีอิทธิพลมากในการชี้นำทัศนคติของประชาชน และจรรยาบรรณสื่อก็ยังเข้มข้น ความเอาจริงเอาจังของคนทำสื่อในสมัยนั้นทำให้เราอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามถึงสื่อในปัจจุบัน ที่ถูกดิสรัปด้วยอินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมที่ชื่นชอบความเร็ว ประกอบกับการที่ใครจะเป็นสื่อก็ได้ ทำให้ขั้นตอนในการตรวจสอบความจริงถูกลดทอนลงเป็นอันมาก และสื่อบางเจ้าก็ถูกแทรกแซงจากนายทุนหรือแม้กระทั่งรัฐบาลให้นำเสนอข่าวตามที่ผู้มีอำนาจต้องการให้พูด
เราจะได้เห็นการผนึกกำลังของหนังสือพิมพ์ในยุคนั้น ที่ไม่ยอมแพ้ต่อคำสั่งของผู้มีอำนาจง่ายๆ ดังที่หนังทำให้เห็นว่า The Washington Post และ The New York Times ต่างเป็นคู่แข่งกันเสมอมา แต่เมื่อมาถึงเรื่องที่มีผลต่อความเป็นความตายของประชาชน พวกเขาต่างมีศัตรูร่วมเดียวกัน – ศัตรูร่วมของสื่อ ก็คือการปิดบังความจริง – และเราก็ได้เห็นการก่อกบฏของสื่อเจ้าอื่นๆ อีกมากมายที่ตามรอยทั้งสองหนังสือพิมพ์นี้ไปสืบข่าวเกี่ยวกับสงครามเวียดนามมาเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้
สื่อ (media) คือเครื่องมือหนึ่งของพื้นที่สาธารณะ (public sphere) ซึ่งใช้นำเสนอการถกเถียงประเด็นต่างๆ ในสังคม ในนิยามของเจอร์เกน ฮาร์เบอร์มาส นักปรัชญา พื้นที่สาธารณะคือการรวมตัวกันของปัจเจกเพื่อร่วมกันนิยาม ต่อรองความต้องการของสังคมกับความต้องการของรัฐSoules, Marshall. “Jürgen Habermas and the Public Sphere”. Media studies.ca. ในนิยามนี้ สื่อ ในฐานะพื้นที่สาธารณะ จึงมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชน เพื่อถ่วงดุลให้ได้สัดส่วนที่ดีกับรัฐ ฮาร์เบอร์มาสยังได้กล่าวไว้อีกว่า พื้นที่สาธารณะนั้นจำเป็นต้องมี “เครื่องมือบางอย่างสำหรับเผยแพร่ข้อมูลและส่งอิทธิพลต่อผู้รับข้อมูล” สื่อจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างและธำรงไว้ซึ่งพื้นที่สาธารณะ
หนึ่งในจรรยาบรรณสื่อที่สำคัญ ก็คือการไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่ควรนำเสนอ ซึ่งในกรณีของ The Washington Post หรือสื่อบางเจ้าที่กล้าพูดเรื่องที่เสี่ยงจะขัดใจผู้มีอำนาจในประเทศไทยนั้น ต้องใช้ความกล้าหาญทางจริยธรรมสูงมาก แต่การเสี่ยงเช่นนี้ย่อมได้ผลตอบแทนอย่างงดงามหากชัยชนะเป็นของสื่อ มันคือการยกระดับแบรนด์ของสื่อนั้นให้กลายเป็นกระบอกเสียงหลักที่สังคมวางใจ ดังที่ The Washington Post ได้กลายเป็นสื่อแนวหน้าของอเมริกามาจนถึงทุกวันนี้ ทัดเทียมกับอดีตเจ้าตลาดอย่าง The New York Times ในฐานะเพื่อนร่วมวิชาชีพ ทั้งสองควรจะร่วมกันเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จในการเปิดโปงรัฐบาลครั้งนี้ ซึ่งเป็นการยกมาตรฐานของวงการให้สูงขึ้นไปอีก เมื่อมองสื่อกระแสหลัก โดยเฉพาะสื่อทางทีวีของไทย ก็ทำให้น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย ว่าสื่อได้ทำหน้าที่ “ไม่ปิดบังอำพรางข่าว” ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง โดยเฉพาะในช่วงที่มีกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เพราะดูเหมือนว่าหน้าที่ในการเปิดเผยความจริงจะกลายเป็นของสื่อที่ไม่เป็นทางการนักบนอินเทอร์เน็ต หรือคลิปวิดีโอจากมือถือของปัจเจกเป็นส่วนใหญ่
จรรยาบรรณของสื่ออีกอย่างหนึ่งคือการนำเสนอข่าวและข้อมูลสำหรับทุกคน ทุกภาคส่วนในสังคม ไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ถึงแม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของรัฐบาล สื่อก็ต้องนำเสนอเพื่อไม่ให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนที่มีอำนาจเพียงเท่านั้น ในท้ายเรื่องของหนัง The Post ได้มีการปูไปยังคดีบุกปล้นวอเตอร์เกท ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ที่ The Washington Post เปิดโปง และนำไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีนิกสัน และการสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม เรียกได้ว่า เมื่อได้ทำเรื่องใหญ่ๆ แล้วครั้งหนึ่ง ก็อดไม่ได้ที่จะทำเรื่องแบบนี้อีกครั้ง และอีกครั้ง จนกว่าประชาชนจะเข้าถึงความจริงจนได้
ชัยชนะของ The Washington Post (รวมถึง The New York Times ซึ่งได้เข้าร่วมการพิจารณาคดีเคียงข้างกัน) จึงเป็นสิ่งพิสูจน์อย่างหนึ่งถึงความแข็งแกร่งของสังคมเสรี ที่ให้ค่าแก่การ “พูด” และ “เปิดเผย” สิ่งที่สังคมควรรู้ ด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม และการยึดมั่นในจรรยาบรรณสื่อ อันที่จริงแล้ว ควรต้องให้เครดิตแก่กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐฯ ด้วย ที่ศาลมีมติโหวต 6 ต่อ 3 ให้หนังสือพิมพ์ทั้งสองหัวกลายเป็นผู้ชนะในคดีที่มีเดิมพันสูง และมีรัฐบาลเป็นผู้ฟ้องเช่นนี้
ความน่าสนใจของ Hope Frozen: A Quest to Live คือการพาเราไปพบเรื่องราวของครอบครัวชีวิตชนชั้นกลางระดับสูงที่มีทางเลือกในการอำลาสมาชิกในครอบครัวด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย มีเวลาเพียงน้อยนิดในสารคดีที่ถ่ายภาพอื่นนอกเหนือจากชีวิตของเนาวรัตน์พงษ์และภาพธรรมชาติที่ใช้ในการประกอบเรื่องเล่า ได้แก่ภาพการจราจรติดขัดบนท้องถนน ชีวิตคนที่ต้องดิ้นรนบนถนนที่แออัด เมทริกซ์เดินข้ามสะพานลอยเพื่อไปห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ภาพเพียงไม่ถึงหนึ่งนาทีในสารคดีนั้นตอกย้ำโอกาสที่แตกต่างกันมากเหลือเกินในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงเช่นรัฐไทย
Abou Farman อาจารย์สาขาสาขามานุษยวิทยา ที่ New School for Social Research มองว่าไครโอนิกส์ หรือการแช่แข็งบุคคลอยู่ระหว่างความจริงและเสมือน ระหว่างการมีขีดจำกัดและไม่มีขอบเขต ระหว่างความตายที่ยึดโยงกับโลกและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีล้ำยุค ซึ่งแสดงถึงว่ามนุษย์และเวลาไม่เคยยึดโยงกับสภาวะที่อยู่ภายใน (immanent) โดยเฉพาะสังคมโลกวิสัยที่พยายามหลบหนีไปสู่อนาคตของความไม่รู้ ไครโอนิกส์ได้ลดรูปเรือนร่างของมนุษย์ให้จำกัดเพื่อที่จะหลบหนีสู่ภาวะไร้ขีดจำกัดในเชิงโลกวิสัย
Palliative medicine จึงเป็นการตระหนักรู้ว่าการคิดแบบวิทยาศาสตร์เป็นการเปิดเผยและทำให้สิ่งต่างชัดเจนแจ่มแจ้ง นั้นเป็นทั้งการปกปิดไปพร้อมๆกัน Palliative medicine พยายามที่ไม่ปกปิดหรือซ่อนสิ่งต่างๆ หากแต่เผยให้เห็นถึงสิ่งที่ถูกปกปิด และตระหนักความสำคัญของการนิยามด้วยการวินิจฉัยโรคและควบคุมอาการ แต่ก็เน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่จะปกปิดความทุกข์ของบุคคล โดยกล่าวให้ง่าย Palliative medicine ก็คือการปล่อยให้สิ่งที่ควบคุมไม่ได้เป็นอย่างที่มันเป็น โดยการตระหนักได้ว่ามันไม่อาจควบคุมได้
Mary-Jo DelVecchio Good นักมานุษยวิทยาการแพทย์ที่ Harvard Medical School เรียกสิ่งนี้ว่า “biotechnical embrace” หรือการโอบรัดโดยไบโอเทคที่ร้อยประสบการณ์ของผู้ป่วยและเศรษฐศาสตร์การเมืองทางการแพทย์ด้วยมิติทางจินตนาการและอารมณ์ความรู้สึก จินตนาการทางการแพทย์นี่เองที่เร่งพลังของธุรกิจการแพทย์ที่หมุนวนผ่านวัฒนธรรมป๊อป แพทย์และคนไข้ต่างถูกครอบงำด้วยระบอบความจริงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงรวมถึงญาติก็มีความรู้สึกไวต่อความหวังที่ถูกสร้างโดยอำนาจทางวัฒนธรรมของจินตนาการทางการแพทย์
Palliative medicine ที่เราให้เห็นในสารคดีที่ชัดเจนอาจเป็นช่วงเวลาท้ายของไอนส์ที่เสียชีวิตท่ามกลางกำลังใจจากเครือญาติที่พร้อมใจกันสวดมนต์ตามความเชื่อทางศาสนา ช่วงเวลาที่ไอนส์ไม่ต้องทรมานจากเทคโนโลยียื้อชีวิตอีกต่อไป แต่ Palliative medicine เองก็อาจรวมไปถึงการจัดการกับความรู้สึกของพ่อ แม่และพี่ชายของไอนส์ด้วยเช่นกัน กล่าวคือการเตรียมตัวพร้อมรับกับความตายที่กำลังมาถึงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในทางหนึ่ง Palliative medicine ก็เป็นการเลือกปิดฉากชีวิตโดยไม่ทรมาน แต่ในขณะเดียวก็กลบทับความเหลื่อมล้ำของการรักษาด้วยภาพฝันของแพทย์ในฐานะเทพเจ้าผู้ดลบันดาลความสุขให้คนไข้และญาติในวาระสุดท้าย เพราะสำหรับครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์ Palliative medicine ในช่วงท้ายคือการยอมรับต่อความตายที่วิทยาศาสตร์ไม่อาจต่อกรได้สำเร็จ แต่สำหรับครอบครัวคนจนส่วนใหญ่ของประเทศที่ถือสิทธิบัตรทอง Palliative medicine ก็อาจจะเป็นการหลุดพ้นออกจากความทุกข์ยาก การไม่ต้องเป็นภาระทางการเงินให้ลูกหลาน ไปจนถึงการท้อใจในชะตากรรมชีวิต และเลือกจบชีวิตลงเสียดีกว่าอยู่ไปโดยที่รู้สึกไร้ค่าหรือเป็นภาระของลูกหลาน
ดังนั้นแล้ว Palliative medicine ก็อาจเป็นการเน้นย้ำสถานะของแพทย์ที่สูงส่ง ผู้สามารถเลือก “ใช้” เทคโนโลยีมาอำนวยความสุขให้ผู้ป่วยไปถึงปรโลก นี่จึงตอกย้ำว่า Palliative medicine ก็ยังหมกมุ่นและหนีไม่พ้นกับการแยกสถานะมนุษย์กับเทคโนโลยี และยังมองว่าเทคโนโลยี รวมถึงยาเป็นวัตถุที่แพทย์สามารถหยิบฉวยมาใช้อย่างไรก็ได้ กล่าวคือมนุษย์เป็นนายเหนือเทคโนโลยี
พร้อมๆ กัน Palliative medicine ก็โหมเร้าความโรแมนติกของช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต มากกว่าที่จะเผยให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำภายในความเจ็บป่วยและการรักษา เช่น ครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์ ผู้เป็นชนชั้นกลางระดับสูง สามารถส่งลูกเรียนโรงเรียน King’s College International School Bangkok ที่ค่าเล่าเรียน เริ่มต้นที่ 500,000-1,000,000 บาท ครอบครัวเนาวรัตน์พงษ์ผู้มีฐานะสามารถเลือก การรักษาได้หลากหลายแม้จะรู้ว่าโรคของไอนส์โอกาสหายน้อยมากแต่ก็มีทุนมากพอในการสู้กับโรค รวมถึง Palliative medicine ในช่วงสุดท้ายก็เป็นทางเลือกสุดท้ายมากกว่าจะเป็นทางเลือกแรก
Astrid Schrader อาจารย์วิชาสังคมวิทยาและปรัชญา University of Exeter เสนอว่า ความหมายโดยกว้างของคำว่าการห่วงใย (care) ควรถูกทำความเข้าใจ ความหมายแรกคือ caring for หรือ “การสนใจแต่ตัวเอง” มักเป็นการห่วงใยที่มีเป้าหมายเพื่อที่ต้องการจะเข้าไปจัดการปรับปรุงสถานการณ์ของผู้อื่น ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นโมเดลในการบริการสุขภาพทั้งมนุษย์และนอกเหนือจากมนุษย์ในปัจจุบัน ผู้รับการดูแลมักจะถูกมองว่าไม่มีความสามารถ อ่อนแอ หรือไม่มีอำนาจในการตัดสินใจของตนเอง “การสนใจแต่ตนเอง” ก็คือการกังวลว่าจะมีสิ่งใดมากระทบหรือเปลี่ยนแปลงขอบเขตของ “ผู้ห่วงใย”
ส่วน caring about หรือ “สนใจในบางสิ่ง” มักเป็นการเปลี่ยนแปลงขีดจำกัดของบางสิ่งที่ทำให้ถูกละทิ้งหรือไม่ได้รับการห่วงใย ในระบบขององค์กรหรือสถาบันมักเป็นแบบ caring for นั่นแปลว่า “การห่วงใย” ไม่จำเป็นว่าจะหมายถึงการรับรู้ถึงความรู้สึกหรือเห็นอกเห็นใจ caring about ไม่ได้จำเป็นที่จะตั้งเป็นประเด็นจากความต้องการ และไม่จำเป้นที่จะต้องแปรเปลี่ยนความต้องการนั้นให้การเป็นการกระทำอะไรบางอย่าง
จึงอาจกล่าวได้ว่าไครโอนิกส์ การทำกองทุนทางการแพทย์ การแพทย์แบบประคับประคอง และวิทยาศาสตร์ที่มีรากฐานอันเหนียวแน่นกับศาสนา ล้วนแต่เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่ทุนนิยมและรัฐสร้างขึ้น ในท้ายที่สุดสารคดี Hope Frozen: A Quest to Live จึงชวนเรากลับไปตั้งคำถามถึงการห่วงใย (care) ที่การแพทย์สมัยใหม่และวิทยาศาสตร์สถาปนาความหมายบดบังมิติเชิงชุมชนนิยมในความหมายที่การห่วงใยมีความหมายคับแคบเช่นในปัจจุบัน
อ้างอิง
Tiffany Romain (2010). Extreme Life Extension: Investing in Cryonics for the Long, Long Term. MEDICAL ANTHROPOLOGY, 29(2): 194–215
Mary-Jo DelVecchio (2007). The Medical Imaginary and the Biotechnical Embrace: Subjective Experiences of Clinical Scientists and Patients. Subjectivity: Ethnographic Investigations
Eric L. Krakauer (2007). “To Be Freed from the Infirmity of (the) Age” Subjectivity, Life-Sustaining Treatment, and Palliative Medicine. Subjectivity: Ethnographic Investigations
Franziska von Verschuer (2019). Freezing lives, preserving humanism: cryonics and
นับเป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะเบือนสายตาออกไปจากข่าวสารการชุมนุมช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การหันเหความสนใจของเราออกไปบ้างเพื่อพักผ่อนฟื้นฟูสภาพจิตใจก็นับเป็นสิ่งที่จำเป็น ถือว่าโชคเข้าข้างเราอยู่บ้างที่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจและเข้ากันกับสถานการณ์บ้านเมืองให้หาดูในระบบสตรีมมิ่ง ทั้งหนังแห่งการประท้วงอย่าง The Trial of The Chicago 7 และสารคดีชุดใหม่ของ Vox สำนักคอนเทนต์หัวก้าวหน้าที่เราจะหยิบยกมาพูดถึงกันในครั้งนี้
ในผลงานเขียนบทควบกำกับเรื่องล่าสุดนี้ของ แอรอน ซอร์คิน (แห่งซีรีส์ The West Wing และหนัง The Social Network) อัดแน่นไปด้วยบทพูดเดือดๆ ตามสไตล์ถนัดของเขา มันเดือดเสียจนหลายคนอาจนึกสงสัยว่าเขาเติมสีใส่ไข่จากเรื่องจริงเข้าไปเองมากเกินไปหรือเปล่า …แต่เปล่าเลย! เพราะเรื่องจริงของ “คดีชิคาโก 7” ก็เดือดดาลไม่น้อยไปกว่า หรืออาจจะมากกว่าภาพจำลองของซอร์คินด้วยซ้ำ!
The Trial of the Chicago 7 สร้างจากเรื่องจริงของแกนนำผู้จัดการเดินขบวนประท้วงสงครามเวียดนาม ที่นำพามวลชนร่วมหมื่นคนไปปักหลักในชิคาโก ระหว่างงานประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครตที่ International Amphitheatre เมื่อปลายเดือนสิงหาคมปี 1968 (เรียกย่อๆ ว่า Chicago DNC เป็นการประชุมเพื่อคัดเลือกตัวแทนพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน)
ทอม เฮย์เดน (เอ็ดดี เรดเมย์น) กับ เรนนี เดวิส (อเล็กซ์ ชาร์ป) สองผู้ก่อตั้งกลุ่มนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย (Students for a Democratic Society – SDS) และเป็นผู้รวบรวมองค์กรจากสถาบันการศึกษากว่า 150 องค์กรเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบและยุติสงคราม เฮย์เดนเป็นคนที่เชื่อมั่นในการต่อสู้ด้วยระบบและอย่างสันติ เขาจึงมักขัดแย้งทางความคิดกับฮอฟฟ์แมน
เดวิด เดลลิงเจอร์ (จอห์น คาร์รอลล์ ลินช์) ผู้จัดการกลุ่ม Mobilization Committee to End the War in Vietnam (MOBE) ซึ่งก่อตั้งขึ้นก่อนการประท้วงใหญ่หนึ่งปี
ในฉากไคลแม็กซ์ของหนัง The Trial of the Chicago 7 ผู้พิพากษาฮอฟฟ์แมนเสนอลดโทษให้ ทอม เฮย์เดน หากเขาแสดงความสำนึกผิด แต่นอกจากเฮย์เดนจะปฏิเสธแล้ว เขายังประท้วงด้วยการขานชื่อทหารนับพันคนที่เสียชีวิตในสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นฉากส่งท้ายหนังที่ทรงพลังอย่างยิ่ง
เรนนี เดวิส : เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิ Foundation for a New Humanity ในโคโลราโด ทำงานด้านแนวคิดในการสร้างวิถีชีวิตแบบใหม่ ปัจจุบันอายุ 80 ปี
เดวิด เดลลิงเจอร์ : หนึ่งในนักจัดการประท้วงสงครามมือฉมังแห่งยุค 1960 เป็นผู้เขียนหนังสือ Yale to Jail: The Life Story of a Moral Dissenter เขาเสียชีวิตในปี 2004 ขณะอายุ 88
จอห์น ฟรอยส์ : ปัจจุบันอายุ 81 ปี เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณที่ UCLA Fielding School of Public Health เชี่ยวชาญวิชาเคมี และเป็นผู้อำนวยการหน่วยงานบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
บ็อบบี้ ซีล : เมื่อปี 1973 เขาลงเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีโอกแลนด์และได้คะแนนอันดับ 2 (จากผู้สมัคร 9 คน) ต่อมาเขาเบื่อการเมืองและหันไปเขียนหนังสือแทน มีผลงานอย่าง A Lonely Rage (1978) และหนังสือทำอาหาร Barbeque’n with Bobby (1987) ปัจจุบันเขาอายุ 83 อาศัยอยู่ที่เท็กซัส
ลี วายเนอร์ : หลังพ้นคดี เขาไปร่วมงานกับ Anti-Defamation League of B’nai B’rith (สมาคมต่อต้านการดูหมิ่น) ในนิวยอร์ก, รณรงค์ระดมทุนแก่งานวิจัยโรคเอดส์, เป็นรองประธาน AmeriCares Foundation และเพิ่งเขียนหนังสือ Conspiracy to Riot: The Life and Times of One of the Chicago 7 ปัจจุบันเขาอายุ 81 อาศัยอยู่ที่คอนเน็กติกัต
สาขาสารคดี (สถาบันการศึกษานอกอเมริกา) : Dear Father โดย มาเร็น คลาเค็กก์ จาก Westerdals Institute of Film and Media-Kristiania University College (นอร์เวย์)
หลังจากลงสตรีมมิงเจ้าใหญ่อย่าง Netflix ได้ไม่นาน ซีรีส์โรแมนติก อารมณ์ดี ดูไร้พิษภัยอย่าง Emily in Paris ก็กลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ทันที ว่ามันสร้างภาพจำของฝรั่งเศสและคนฝรั่งเศสอย่างไม่ตรงตามความเป็นจริง จนกลายเป็นหัวข้อบทความของหลายสำนักข่าวอย่างเช่น New York Times หรือ The Guardian และถูกนักวิจารณ์ฝรั่งเศสสับจนไม่มีชิ้นดี
ถ้าพูดถึงคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะรุ่นมิลเลนเนียลลงมา สิ่งที่นิยามตัวตนของพวกเขาก็คือความกล้า ความเป็นตัวของตัวเอง การเป็นพลเมืองโลก การไม่ละทิ้งกลุ่มชายขอบ (inclusiveness) และการเชื่อมต่อกัน ดูเหมือนค่านิยมเหล่านี้จะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในการชุมนุมช่วงกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งทำให้หลายคนเห็นถึงความต้องการส่งเสียงของเหล่าคนรุ่นใหม่ ความน่าสนใจอยู่ที่ คนรุ่นใหม่มักจะเป็นพลังขับเคลื่อนการชุมนุม ทั้งในและต่างประเทศมาตั้งแต่อดีตแล้ว อย่างที่ปรากฏในหนัง The Trial of the Chicago 7 ที่ลงแพล็ตฟอร์ม Netflix ไปไม่นาน และดูเหมือนมาได้ตรงจังหวะเวลาสถานการณ์การเมืองไทยและการเมืองโลกพอดี
The Trial of the Chicago 7 เล่าถึงเรื่องราวในปี 1968 แกนนำม็อบนักศึกษาอเมริกันทั้ง 7 คน (บวกกับชายผิวดำอีกหนึ่งที่ถูกรวมเข้ามาในการพิจารณาคดีอย่างงง ๆ) ได้พาคนหนุ่มสาวจำนวนมากเดินทางไปชิคาโก เพื่อประท้วงให้สหรัฐฯถอนกำลังออกจากสงครามเวียดนาม จุดมุ่งหมายของพวกเขาคือการชุมนุมใกล้กับการประชุมพรรคเดโมแครต เพื่อแย่งพื้นที่สื่อและทำให้คนทั้งอเมริกาหันมาสนใจพวกเขา
ตัวแทนผู้ประท้วงหลักมาจากพรรคเยาวชนนานาชาติ (Youth International Party) หรือ Yippy ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมแบบบุปผาชน (หรือฮิปปี้) และคณะกรรมการเคลื่อนไหวเพื่อยุติสงครามเวียดนามแห่งชาติ (National Mobilization Committee to End the War in Vietnam) มีตัวแทนอยู่ทั้งหมด 7 คน ถูกตั้งข้อหาก่อจลาจล ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ และวางแผนสมคบคิด ทั้งที่กิจกรรมส่วนใหญ่ในการชุมนุมคือการปราศรัยและดนตรีในสวน ตำรวจได้ส่งสายสืบจำนวนหนึ่งปลอมเป็นผู้ชุมนุมและให้การกล่าวหาเหล่าแกนนำ ทำให้พวกเขาตกที่นั่งลำบากในการพิจารณาคดี
The Trial of the Chicago 7 ได้เข้ามาในช่วงที่การเมืองไทยและการเมืองโลกกำลังปรับบริบทอย่างมีนัยสำคัญ คือมีการตั้งคำถามกับผู้ถืออำนาจ de jure สูงสุดของประเทศ และต้องการแก้ไขเงื่อนไขในการใช้อำนาจดังกล่าวนั้น ผนวกกับทางฝั่งอเมริกาที่การเลือกตั้งใกล้เข้ามา และมีการตั้งคำถามถึงการใช้อำนาจอย่างเกินขอบเขตของประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ อีกทั้งยังมีกระแสประท้วง Black Lives Matter ที่คุกรุ่น หนังเรื่องนี้จึงเป็นเหมือนกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมและไม่จำนนให้แก่ผู้มีอำนาจง่าย ๆ
ไม่แปลกที่ The Trial of the Chicago 7 ได้เรตติ้งดีมากใน Rotten Tomatoes (92%) และ IMDB (8/10) และน่าจะเป็นหนังขึ้นหิ้งอีกเรื่องของแอรอน ซอร์คิน ที่ปล่อยออกมาได้ในช่วงเวลาอันเหมาะเจาะ