AUTHOR

ธีพิสิฐ มหานีรานนท์

นักเขียนอิสระ, อดีตบรรณาธิการนิตยสารหนัง BIOSCOPE, นักแสดง GAY OK BANGKOK และแฟนซีรีส์วาย

Pieces of a Woman : เศษซากของ ‘ผู้หญิง’ กับเศษเสี้ยวของ ‘แอปเปิล’ …มนุษย์เพศแม่ที่ยังคงงอกงาม แม้บนความเจ็บปวด

หลายคนอาจฮือฮากับฉากคลอดลูกแบบลองเทคความยาวเกือบครึ่งชั่วโมงของ Pieces of a Woman (2020, คอร์เนล มุนด์รักโซ) แต่รู้หรือไม่ว่ารายละเอียดหนึ่งที่เกิดขึ้นในฉากนี้ได้พาผู้ชมก้าวสู่สัญญะที่ผูก ‘แอปเปิล’ เข้ากับ ‘การรับมือกับความทุกข์ของเพศแม่’ ที่ปรากฏชัดตลอดทั้งเรื่อง!

18 Again : ใบหน้าที่ไม่สวยงามของ ‘ความรัก’ และรูปร่างที่อัปลักษณ์ของ ‘ครอบครัว’

ซีรีส์สัญชาติเกาหลีใต้เรื่องนี้ เล่าถึงชายอายุ 37 อย่าง ฮงแดยอง ที่จู่ๆ ก็ได้รับโอกาสให้ ‘ย้อนวัย’ กลับไปเป็นตัวเองตอนอายุ 18 ที่ยังหล่อเหลาหนุ่มแน่นอีกครั้ง เพื่อหาหนทางกอบกู้ชีวิตที่กำลังดิ่งลงเหว

Call Me by Your Name เอ่ยชื่อคือคำ ‘รัก’ ผ่าน ‘พีช’ …ผลไม้ : สัญญะที่ไม่อาจแปลได้แค่ ‘เซ็กซ์’

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ‘ผลไม้’ คือสัญญะยอดนิยมอย่างหนึ่งสำหรับศาสตร์การเล่าเรื่องในโลกภาพยนตร์ โดยเฉพาะการที่คนทำหนังมักเลือกนำมาผูกโยงเข้ากับ ‘เรื่องเล่าทางเพศ’ อันหมายรวมถึง ‘เซ็กซ์’ ที่ทั้งฉ่ำเยิ้ม นวลนุ่ม และอุ่นอวล ซึ่งเชิญชวนให้มนุษย์เราปรารถนาที่จะลิ้มลองได้ไม่ต่างจากอาหารตามธรรมชาติอย่างผลไม้ที่ถูกใช้เป็น ‘ภาพแทน’ ดังกล่าว

In the Mood for Love : อุ่นไอ ‘บะหมี่เกี๊ยว’ ในคืนที่เปลี่ยวดาย …สัมพันธ์ลับหลังกำแพง และคนในบ้านผู้กลายเป็นอื่น

กรุ่นไอร้อนจากหม้อซุปพวยพุ่งขึ้นหยอกเย้าดวงไฟท่ามกลางสลัวมืดในซอกหลืบของอาคารเก่าทรุดยุค 60 ...‘เขา’ และ ‘เธอ’ ผู้ที่บังเอิญเช่าห้องติดกัน คือลูกค้าขาประจำที่มักพาตัวเองมาฝากท้องกับร้านบะหมี่เกี๊ยวแห่งนี้ เขาแต่งกายด้วยชุดสูทภูมิฐานเข้มขรึมเหมือนเพิ่งได้หลุดออกจากวัฏจักรการทำงานอันเหนื่อยหนัก ส่วนเธอสวมใส่กี่เพ้าเข้ารูปสีสวยสดราวกับต้องการเป็นจุดสนใจให้คนรอบข้างเหลียวมอง จึงไม่น่าแปลกที่ระหว่างการเดินสวนกันในตรอกบันไดเล็กแคบ เขาจะลอบมองเธอ ขณะที่เธอก็ลอบมองเขาเช่นกัน - แววตาของสองหนุ่มสาวที่ล้วนถูก ‘คู่ชีวิต’ ของตนทำตัวเหินห่าง ฉายประกายความเจ็บปวดโหยไห้ออกมาไม่ต่างกัน และสายตาที่คอยจดจ้องด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ ก็นำทั้งคู่ไปสู่สัมพันธ์ครั้งใหม่ที่ดูจะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละคืนวันที่ผันผ่าน...

Phantom Thread : ผู้หญิงหัด ‘ร้าย’ กับผู้ชายพ่าย ‘เห็ด’ …สงคราม ‘พิษ’ สวาทในสังคมชายเป็นใหญ่

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์ ช่างตัดชุดสตรีมือหนึ่งของกรุงลอนดอนยุค 50 อย่าง เรย์โนลด์ส วูดค็อค อาจเก่งฉกาจในเรื่องของการเข้าอกเข้าใจมนุษย์ ‘เพศหญิง’ ผ่านการรังสรรค์เครื่องแต่งกายสุดเลิศหรูที่สอดรับกับสรีระอันงดงามที่แตกต่างกันไปของพวกหล่อน แต่สำหรับหญิงคนรัก-และนางผู้เป็นแรงบันดาลใจในผลงานการตัดเย็บ-ของเขาอย่าง อัลมา เอลสัน แล้ว เขาคือมนุษย์ ‘เพศชาย’ เจ้าระเบียบที่เอาอกเอาใจยากเป็นที่สุด และที่เลวร้ายยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ‘ความรัก’ ที่เขามอบให้เธอดันพ่วงติดมากับกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตที่เขามักเป็นผู้กำหนดขึ้นเองตามอำเภอใจอยู่เพียงฝ่ายเดียว ความรักของเรย์โนลด์สเข้าครอบงำชีวิตของอัลมา และจับเธอพลิกคว่ำคะมำหงายจนไม่ทันได้ตั้งตัว...

Mirch Masala : รสชาติที่แผดแรงของ ‘พริก’ …ความทุกข์ที่ลุกโชนเป็นโกรธแค้นของ ‘สตรีเพศ’ และ ‘คนอื่น’

ณ แผ่นดินอันเวิ้งว้างร้างไกล ทหารหนุ่มหลายนายกำลังควบม้าไล่ล่าหญิงสาวนางหนึ่งอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยมีหลากองค์ประกอบแวดล้อมในเหตุการณ์นี้ที่ช่วยขับเน้นให้ ‘ความทุกข์ตรมขมไหม้’ บนใบหน้าของหญิงสาวยิ่งกระจ่างชัดและทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนระอุของอุณหภูมิที่มาจากแสงแดดเจิดจ้าในเวลากลางวัน หรือรายละเอียดอันแสนจัดจ้านของชุดส่าหรีที่ทั้งรัดรึงและพริ้วไหวอยู่บนเรือนกายของเธอ รวมถึงสีแดงฉานของ ‘พริก’ จำนวนมหาศาลที่ถูกวางกองแผ่หราไว้บนลานกว้างสุดลูกหูลูกตานั้น ...จนดูราวกับทะเลเพลิงที่กำลังลุกโชนแผดเผาไปทั่วทุกองคาพยพ -- ฉากดังกล่าวคือหนึ่งในภาพจำสุดคลาสสิกของ Mirch Masala หนังอินเดียภาษาฮินดีปี 1987 ของผู้กำกับ เคตาน เมห์ตา...

Parasite / It’s Okay to Not Be Okay : เมื่อ ‘อาหารเส้น’ คือภาพแทนของประวัติศาสตร์ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ในเกาหลีใต้

หลังจากที่หนังดราม่าตลกร้ายอย่าง Parasite (2019) ของเกาหลีใต้สามารถคว้ารางวัลใหญ่บนเวทีประกวดภาพยนตร์ระดับสากลมาได้ ทั้งปาล์มทองจากเทศกาลหนังเมืองคานส์ และออสการ์หนังยอดเยี่ยมจากแวดวงฮอลลีวูด ‘สื่อบันเทิง’ ของประเทศนี้ก็ดูจะรักษามาตรฐานความนิยมจากผู้ชมทั่วโลกเอาไว้อย่างแน่นเหนียว ซึ่งก็รวมถึงซีรีส์น้ำดีอีกหลายเรื่องที่ยังคงได้รับคำชมตอบกลับมา โดยตัวอย่างล่าสุดเห็นจะเป็น It’s Okay to Not Be Okay (2020) ที่สามารถผสมผสานความบันเทิง ประเด็นถกเถียง...

A Story of Yonosuke : ‘แตงโม’ ของนาย มิตรภาพของเรา …พื้นที่หม่นมืดของ ‘เควียร์’ ในหลืบเร้นที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา

ในโลกของภาพยนตร์ญี่ปุ่น ‘แตงโม’ ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมที่มักถูกนำมาใช้ ‘แทนค่า’ กับความสดใสหรือความชื่นอกชื่นใจระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวหรือกลุ่มมิตรสหาย ที่มีโอกาสได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าท่ามกลางบรรยากาศของฤดูร้อนอุ่นอ้าวที่ส่องสว่างเจิดจ้า ทว่าแตงโมใน A Story of Yonosuke (2013, ชูอิจิ โอคิตะ) -หนังความยาว 160 นาทีอันว่าด้วยภาพชีวิตของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ยังคงติดตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนที่เขาเคยพบพาน- กลับถูกแทนค่าความหมายที่คล้ายคลึงกันนี้ภายใต้ ‘บริบท’ ที่น่าสนใจกว่านั้น เพราะผลไม้รสหวานฉ่ำน้ำชนิดดังกล่าวถูกเปรียบได้กับ...

Your Name : ในโลกต่างกาลที่ ‘น้ำลาย’ กลายเป็น ‘สาเก’ …ถ่มความรังเกียจทิ้ง, กำซาบสิ่งที่จริงแท้

บนปรัมพิธีของศาลเจ้าประจำเมืองริมทะเลสาบอย่างอิโตโมริในค่ำคืนอันสลัวงาม พี่น้องสองสาววัยละอ่อนในชุดสีขาว-แดงกำลังร่ายรำไปตามจังหวะระหว่างพิธีกรรมแบบชินโต ก่อนที่พวกเธอจะนั่งลงหยิบข้าวนึ่งที่เตรียมไว้ขึ้นมาเคี้ยวอยู่ชั่วครู่ บ้วนมันพร้อมน้ำลายลงไปในภาชนะบรรจุทรงสี่เหลี่ยมที่ทำจากไม้ และผูกปิดด้านบนด้วยด้ายถักสีแดงอย่างเรียบร้อยแน่นหนา รอคอยแค่ ‘กาลเวลา’ มาแปรเปลี่ยนมันให้กลายเป็น ‘สาเก’ (Sake) ในอีกไม่ช้าไม่นาน “อี๋ ฉันไม่มีทางทำแบบนั้นแน่ ไม่อายกันบ้างหรือไงนะ” นักเรียนหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันผู้เป็นไม้เบื่อไม้เมากับ มิสึฮะ -ที่กำลังบ้วนข้าวลงภาชนะกักเก็บเคียงคู่กับน้องสาวอยู่บนปรัมพิธี- กล่าวขณะยืนดูการกระทำนั้นอยู่กับเพื่อนๆ ด้วยท่าทีเดียดฉันท์เต็มกลืน นี่คือเหตุการณ์เล็กๆ ที่สร้างความรำคาญใจให้แก่มิสึฮะ-ผู้ที่ต้องสืบทอดพิธีกรรมประจำตระกูลของตนอย่างไม่เต็มใจนัก ก่อนที่เด็กสาวชนบทอย่างเธอจะได้พบเจอกับความวุ่นวายจากการต้อง...

Chocolate : อาณานิคมแห่งอคติที่ไม่เคยล่มสลาย …สัมพันธภาพอันเลวร้ายระหว่าง ‘โกโก้’ กับ ‘คนผิวสี’

ตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมานี้ อาจมีหนังหลายเรื่องจากหลากสัญชาติที่นิยมใช้ ‘ช็อกโกแลต’ (Chocolate) มาตั้งเป็นชื่อ พร้อมนำเสนอมันออกมาอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้นิยามของ ‘ความหอมหวาน’ และ/หรือ ‘ความน่าเย้ายวน’ ซึ่งอาจเปรียบได้กับสภาวะนามธรรมเชิงบวกของตัวละครในหนังเรื่องนั้นๆ ทั้งความรักที่งดงาม ความรู้สึกทางเพศที่คุกรุ่น หรือแม้แต่ช่วงชีวิตที่น่าจดจำ ทว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดกับ Chocolate (1988) -หรือ Chocolat ในภาษาฝรั่งเศส- ผลงานหนังเรื่องแรกในวัยหลักสี่ของ...

นีนา ซีโมน ศิลปินผิวสีผู้มาก่อนวัฒนธรรม MV กับเพลง Mississippi Goddam ที่ไม่มีใครอยากให้อยู่ ‘เหนือกาลเวลา’

2020 ในโลกยุคปัจจุบันที่ ‘ดนตรี’ กับ ‘ภาพเคลื่อนไหว’ แทบจะกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกันผ่านสื่อที่เปี่ยมทั้งเทคนิคและสีสันอย่าง มิวสิก วิดีโอ (Music Video หรือ MV) ผมเพิ่งมีโอกาสได้เปิดดูคลิปการแสดงสดในโทนขาว-ดำของเพลงเก่าเพลงหนึ่งใน YouTube ด้วยความรู้สึกท่วมท้นเต็มตื้น เพลงดังกล่าวคือ Mississippi Goddam ของศิลปินหญิงผิวสีระดับตำนานอย่าง นีนา ซีโมน...

Moonlight : โอบกอดความแปลกต่างด้วย ‘ไก่ย่างคิวบา’ …ประตูที่เปิดออกด้วย ‘รัก’ ในสังคมแห่งการเหยียด

ตัวละครไชรอนใน Moonlight (2016) ถือได้ว่าเป็น ‘ภาพแทน’ ของมนุษย์ที่โดนสังคมกดขี่ในหลากหลายมิติ เขาถูกบีบคั้นจากฐานะอันยากไร้ของครอบครัวจนแทบไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสอาหารชั้นเลิศ, สมาชิกจากทั้งสองบ้านของเขาก็ถูกกกดทับจากเชื้อชาติผิวสีจนไม่สามารถหางานการดีๆ ทำได้ จึงต้องก้าวเข้าไปพัวพันกับยาเสพติดเพื่อความอยู่รอด และเขาก็ยังถูกทำร้ายจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูอ้อนแอ้นบอบบาง

ลุงบุญมีระลึกชาติ : ‘น้ำผึ้ง’ ล่องหนกลางวงพาข้าวแลง …ความหวานอมส้มปนขมขื่นของชีวิตที่ถูกลืม

‘ลุงบุญมีระลึกชาติ’ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives) อาจมีสถานะเป็นถึงหนังไทยและหนังจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรื่องแรก-ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นเพียงเรื่องเดียว-ที่สามารถคว้า ‘ปาล์มทอง’ (Palme d’Or) อันเป็นรางวัลใหญ่สุดจากเทศกาลหนังนานาชาติเมืองคานส์มาครองได้เมื่อปี 2010 (พ.ศ. 2553) - ซึ่งหลายคนมองว่ามันคือความสำเร็จที่ดูช่าง...

#คั่นกู เพราะเราคู่กัน : ถ้าหวงมาก ก็ถือให้ ‘พอดี’ …เมื่อ ‘บลู ฮาวาย’ มีความหมายในซีรีส์วาย

ซีรีส์ ‘เพราะเราคู่กัน’ หรือ ‘คั่นกู’ โด่งดังถล่มทลายข้ามประเทศในช่วงหลายเดือนมานี้ และมีฉากที่ทำให้เครื่องดื่มที่ไทน์ทำหกอย่าง ‘บลู ฮาวาย’ ดูจะมี ‘ความหมาย’ ต่อเรื่องเล่าในจอ-รวมถึงกระแสตอบรับนอกจอ-อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย