AUTHOR

ภาณุ อารี

ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์ เนชั่นแนล นอกจากนี้ ยังเป็นนักทำหนังสารคดี เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาธุรกิจภาพยนตร์และวิชาผลิตภาพยนตร์สารคดี และเป็นนักเขียนในบางวาระ

Business Update : ศึกสตรีมมิ่งในอินเดีย & มาตรการอุ้มหนังในจีน

เมื่อบริษัทสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ในอินเดียควบรวมกับ Disney Plus และรัฐบาลจีนอุ้มธุรกิจโรงหนังในช่วงโควิด-19

มูลค่าทางธุรกิจที่หายไปของหนังอาร์ตเฮ้าส์ เมื่อเทศกาลหนังงดจัด

สำหรับผู้ซื้อหนังส่วนใหญ่ หนังอาร์ตจะถูกคิดถึงเป็นลำดับท้ายๆ เมื่อต้องเดินตลาดหนัง เพราะพวกเขามักต้องให้ความสำคัญกับหนังที่มีศักยภาพทางธุรกิจเสียก่อน สำหรับหนังอาร์ตเฮ้าส์ หรือ ‘หนังทางเลือก’ บ่อยครั้งผู้ซื้อจะรอให้เทศกาลใหญ่ๆ ที่หนังเหล่านี้เข้าประกวดประกาศผลไปแล้วถึงจะตัดสินใจว่าจะเสนอราคาหรือไม่ เหตุผลสำคัญมาจากหนังเหล่านี้ (โดยเฉพาะหนังจากผู้กำกับที่คนไม่คุ้นเคย) ไม่มีแรงผลักดันใดๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้ชมวงกว้างสนใจมาดูได้เท่ากับหนังที่ได้รับรางวัล ยิ่งเป็นรางวัลใหญ่ โอกาสที่หนังจะถูกปั้นให้ ”ขายได้” ก็มีสูง ด้วยเหตุนี้ การที่เทศกาลใหญ่ๆ อย่างคานส์...

Business Update : เมื่อค่ายสตรีมมิ่งขยายพื้นที่ใหม่ไปในดินแดนต้องห้ามที่เรียกว่า โรงภาพยนตร์

ข่าวที่สร้างความฮือฮาให้แก่แวดวงธุรกิจภาพยนตร์โลกในช่วงเวลานี้ คงไม่มีข่าวไหนเกินข่าวลือที่ว่า บริษัท Amazon ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความสนใจที่จะเข้าซื้อกิจการโรงหนัง AMC ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการที่ต้องปิดโรงหนังจากพิษของโควิด 19 ทันทีที่ข่าวลือแพร่สะพัดออกไป หุ้นของ AMC ที่ตกต่ำเรี่ยดินตลอดสองเดือนที่ผ่านมาก็พุ่งทะยานราวพลุไฟฉลองวันชาติเลยทีเดียว อันที่จริง การที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะเข้าเทคโอเวอร์กิจการของบริษัทที่กำลังเข้าสู่ภาวะล้มละลาย มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าบริษัทที่เข้าเทคโอเวอร์ ไม่มีบริษัทลูกที่เป็นผู้ประกอบการสตรีมมิ่งที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอเมริกา อย่าง...

Business Update : อัพเดทสถานการณ์โรงหนัง และความเศร้าของคานส์

กลับมาอีกครั้งกับ Business Update นะครับ สำหรับอาทิตย์ที่ผ่านมา สถานการณ์โรคโควิดในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย เช่นเดียวกับกิจกรรมทางด้านธุรกิจภาพยนตร์ที่เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง พอจะสรุปความเคลื่อนไหวได้ดังนี้ โรงหนังในจีนได้ฤกษ์กลับมาให้บริการ หลังจากถูกสั่งปิดมาตั้งแต่เดือนมกราคม และมีโอกาสเปิดให้บริการแบบสั้น ๆ ก่อนถูกสั่งปิดอีกครั้งในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเดือนเมษายน ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่โรงหนังในประเทศจีนจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเสียที โดยทางการจีนได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (8 พ.ค.) ว่าจะอนุญาตให้โรงเปิด หากปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด อันได้แก่ 1....

Business Update : ค่ายหนังเปิดวอร์! / หายนะบ็อกซ์ออฟฟิศ! / หลังโควิดเราจะทำหนังกันอย่างไร?

กลับมาพบกันอีกครั้งกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวในโลกธุรกิจภาพยนตร์ สัปดาห์นี้ผู้เขียนมีประเด็นที่น่าสนใจสามประเด็นเห็นสมควรนำมารายงาน ได้แก่ หายนะของบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก หลังจากโควิด 19 ระบาดในหลายประเทศอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนมกราคม ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ต้องออกมาตรการล็อคดาวน์หยุดกิจกรรมทุกประเภทโดยที่หลายฝ่ายไม่ทันตั้งตัว แน่นอนว่า ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มคนจำนวนมากกลายเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งธุรกิจโรงหนังก็รวมอยู่ในนั้นด้วย และผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ยอดรายได้จากการขายตั๋วที่หดตัวอย่างที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน เริ่มต้นที่ประเทศจีนซึ่งยอดรวมบ็อกซ์ออฟิศตลอดทั้งปี 2019 มีจำนวน 9.2 พันล้านเหรียญ มาปีนี้สำนักงานภาพยนตร์แห่งชาติ (National...

“New Norm” ของธุรกิจหนังหลังวิกฤติ

นาทีนี้คงไม่มีคำไหนอินเทรนด์เท่ากับคำว่า “New norm” หรือ “New Normal” อีกแล้ว ความหมายแบบตรงตัวของมันก็คือ ความปกติหรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะมาแทนบรรทัดฐานเดิม วิกฤติการณ์โควิด 19 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ดันคงอยู่อ้อยอิ่งยาวนาน ได้ทำให้พฤติกรรมเดิม ๆ หลายอย่างเปลี่ยนไป และสร้างพฤติกรรมใหม่ที่จะกลายเป็นความคุ้นชินโดยธรรมชาติในเวลาไม่ช้า ธุรกิจหนังเองก็กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งอาจทำให้รูปแบบเดิมๆ...

รวม 8 แหล่ง “หนังออนไลน์” ชั้นดี!

แม้ว่าวิกฤตโควิด 19 จะส่งสัญญาณคลี่คลายบ้างแล้ว แต่กิจกรรมดูหนังตามขนบของผู้คนทั่วโลกยังคงไม่มีความชัดเจนนัก ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่านั่งอยู่กับบ้านแล้วสรรหาภาพยนตร์ดี ๆ จากทั่วโลกมาชมกัน เสมือนหนึ่งกำลังอยู่ในฟิล์มคลับสักแห่งในโลกใบนี้หรือในโรงเทศกาลภาพยนตร์สักที่ ….Film Club จึงขอแนะนำแหล่งฉายหนังชั้นดี พร้อมข้อมูลเบื้องต้น เช่น คาแร็กเตอร์ของผู้จัด ประเภทของหนัง รวมถึง เงื่อนไขว่าเขาฉายให้เราชมฟรีหรือต้องเสียค่าชม ขอเริ่มต้นที่เทศกาลภาพยนตร์กันก่อน 1....

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 2) : รู้จัก “สายหนังเมืองไทย”

หลังจากได้รู้จักที่มาของ “สายหนัง” ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก และระบบการแบ่งสายจัดจำหน่ายหนังในอินเดียไปแล้ว (ตอน 1) คราวนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องสายหนังของเมืองไทย (อย่างย่อๆ) ดูบ้างครับ สายหนังเมืองไทย: นิยามและขอบเขต พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์ จากม.สุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายคำว่า “สายหนัง” ไว้ว่า คืกลุ่มนักธุรกิจที่ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหลักในกรุงเทพฯ ไปจัดจำหน่ายในภูมิภาคของตนเอง โดยระยะแรกเหตุผลที่จำเป็นต้องพึ่งสายหนังก็เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ผลิตหนังตระเวนนำฟิล์มไปฉายด้วยตัวเองได้ จึงติดต่อพ่อค้าคนกลางที่มีความชำนาญในภูมิภาคต่าง...

อีร์ฟาน ข่าน พระเอก The Lunchbox เสียชีวิตแล้ว

อีร์ฟาน ข่าน (Irrfan Khan) นักแสดงชาวอินเดียที่เป็นที่รู้จักของคนดูหนังทั่วโลกจาก Slumdog Millionaire และ The Lunch Box เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งและอาการติดเชื้อในลำไส้ ขณะอายุได้​ 53​ ปี อีร์ฟาน ข่านเริ่มต้นอาชีพการแสดงหลังจากย้ายมามุมไบในปี 1984 โดยปรากฏตัวในละครทางโทรทัศน์หลายเรื่อง ปี...

Business Update : คานส์+เวนิซ / โรงหนังไดรฟ์อิน / เวอร์ชวลซีเนม่า

ในรอบสัปดาห์มีความเคลื่อนไหวในธุรกิจภาพยนตร์โลกที่น่าสนใจหลายเหตุการณ์ ไล่เรียงดังนี้ คานส์จับมือเวนิซ : ความเป็นไปได้ที่ติดลบ แม้ เธียร์รี เฟรโมซ์ ผู้อำนวยการเทศกาลหนังเมืองคานส์จะประกาศว่า ปีนี้เทศกาลต้องเลื่อน (เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสห้ามจัดงานที่มีคนไปชุมนุมกันจนถึงเดือนกรกฎาคม) แต่ก็ไม่ได้บอกว่าจะยกเลิกการจัดไปเลย หรือจะแก้ปัญหาด้วยการจัดแบบ Virtual Festival (เทศกาลออนไลน์) เขาเพียงบอกว่า กำลังแสวงหา “ทางเลือก” เพื่อให้เทศกาลได้จัดต่อไป และหนึ่งในทางเลือกที่ถูกพูดถึงมากที่สุดก็คือ การไปจัดร่วมกับเทศกาลหนังนานาชาติเวนิซเสียเลย! “ตอนที่เริ่มวิกฤตใหม่ๆ...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 1) …ไม่ใช่แค่ไทย อินเดียก็มี!

เคยไหมที่สงสัยว่าทำไมหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมมาฉายในจังหวัดของเราเสียที แล้วพอถามไปที่เจ้าของหนังบ้าง โรงหนังบ้าง คำตอบหนึ่งซึ่งอาจได้ยินบ่อยๆ และสร้างความฉงนมากๆ โดยเฉพาะถ้าเราไม่คุ้นเคยกับอุตสาหกรรมนี้ ก็คือ “สายหนังไม่อยากเอามาฉาย” ใครหรือคือ “สายหนัง” ที่ว่านั้น? นิยามสั้น ๆ ก็คงหมายถึง รูปแบบการจัดจำหน่ายหนังประเภทหนึ่งที่ “ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละภูมิภาค” มีบทบาทสำคัญในการพาหนังจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายส่วนกลาง ไปสู่ผู้ชมในพื้นที่ที่ตนเองดูแล แต่ก่อนจะไปพูดกันถึงสายหนังของเมืองไทย เรามารู้จักที่มาของ “ระบบสายหนัง”...

Business Update : นวัตกรรมใหม่ของคานส์ & อัพเดทมาตรการช่วยหนัง

เนื่องจากช่วงเวลานี้มีความเคลื่อนไหวมากมายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลก เพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในการรับรู้ของผู้อ่าน คอลัมน์ Film Business จึงขอเพิ่มช่องทางที่ชื่อ Business Update เพื่อรายงานความเคลื่อนไหวของธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขอเชิญติดตาม ตลาดหนังเมืองคานส์กับนวัตกรรมใหม่ของตลาดภาพยนตร์ ขณะที่เทศกาลเมืองคานส์ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะจัดขึ้นเมื่อไร ในส่วนของตลาดภาพยนตร์ หรือ Marche du film ก็ประกาศแล้วว่า พวกเขามีแผนที่จะจัดตลาดหนังออนไลน์ หรือ เรียกว่า...

การดิ้นรนเฮือกสุดท้ายของคานส์ในปีแห่งภัยพิบัติ

Heading photo credit: wikimedia เมื่อวันจันทร์ที่ 13 เมษายนที่ผ่านมา รัฐบาลฝรั่งเศสแถลงว่า จะขยายการล็อคดาวน์ประเทศไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม และหลังจากวันนั้นประชาชนน่าจะออกมาทำกิจกรรมได้บ้าง แน่นอน คำแถลงดังกล่าวไม่เป็นคุณต่อกิจกรรมและเทศกาลที่ต้องรวมคนจำนวนมาก เพราะรัฐบาลฝรั่งเศสประกาศอย่างชัดเจนว่า เทศกาลต่างๆ จะจัดได้ก็ต่อเมื่อผ่านพ้นกลางเดือนกรกฎาคมไปแล้วเท่านั้น เท่ากับว่าความหวังของผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (ซึ่งตั้งใจจะจัดงานในช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อต้นกรกฎาคม) ต้องหมดลง และล่าสุด...

เมื่อประเทศทะเลาะกัน สะเทือนเลื่อนลั่นไปถึงวงการบันเทิง !

ขณะนี้กระแสที่มาแรงแซงทางโค้งอย่างไม่มีใครปฏิเสธคือ กรณีความขัดแย้งระหว่างแฟนคลับไทยและจีน ของกระแสซีรี่ส์วายเรื่องหนึ่ง ซึ่งเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่ไม่มีใครคิดว่าจะกลายเป็นสาระสำคัญ แต่บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งที่ดึงเอาเรื่องการเมือง การปกครองเข้ามาเกี่ยวข้อง เท่านั้นไม่พอ ยังดึงเอาปาร์ตี้ที่สามอย่างไต้หวันกับฮ่องกงซึ่งไม่พอใจจีนเป็นทุนเดิมเข้ามาร่วมวงด้วย หลายฝ่ายเริ่มกังวลว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจขยายวงไปเป็นข้อพิพาทในระดับที่สูงกว่า เช่น ซีรี่ส์เรื่องดังกล่าวอาจถูกแบนไม่ให้ฉายในจีนเป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนคงไม่ขยายความความขัดแย้งดังกล่าวไปมากกว่านี้ (ถ้าสนใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ดังกล่าว ขอแนะนำให้อ่าน poetry of bitch ครับ เขาสรุปลำดับเหตุการณ์ไว้ดีมาก) แต่อยากจะขอกล่าวถึง...

โลกจะเปลี่ยนโฉมไหม เมื่อโรงหนังใกล้ถึงจุดวิกฤต !

วิกฤตโควิด 19 ได้สร้างผลกระทบไปทั่วทุกภาคของอุตสาหกรรมหนัง ในแง่การผลิต ทุกบริษัทต้องหยุดการถ่ายทำไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนไหน และในส่วนของการจัดจำหน่ายก็ต้องหยุดพักอย่างไม่มีกำหนด เพราะช่องทางหลักอย่างโรงหนังต้องหยุดกิจการ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมแล้ว ดูเหมือนว่า โรงหนังจะมีชะตากรรมน่าเป็นห่วงที่สุด เพราะในขณะที่ภาคโปรดักชั่นพร้อมจะกลับมาลงมือผลิตงานทันทีที่วิกฤตคลี่คลาย และภาคจัดจำหน่ายก็อาจยังพอมีช่องทางอื่นทดแทน (เช่น ช่องทางออนไลน์ หรือ โทรทัศน์) แต่โรงหนังไม่มีทางเลือกอื่นเลย นอกจากนับวันรอให้วิกฤตหมดไป...