AUTHOR

นภัทร มะลิกุล

จบการศึกษาจากเอกปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นนักวิจารณ์หนังและหนังสือให้กับสื่อออนไลน์ และยังเป็น co-founder ของบล็อกคุยเรื่องหนัง afterthescene.com เธอชอบเรียนรู้เรื่องมนุษย์ผ่านสื่อและศิลปะ และมีเป้าหมายอยากเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต

Ma Rainey’s Black Bottom: ร้อนจนคลั่งไปกับเพลงบลูส์

เลวีมาเล่นให้วงแจ๊สวันนี้เพราะเขาฝันจะได้อัดแผ่นเสียงของตนเอง โปรดิวเซอร์ค่ายเพลงสัญญากับเขาไว้ว่าจะให้เขาเล่นเพลงที่ตัวเองแต่ง ตอนที่เขามาครั้งที่แล้ว ประตูไม่ได้อยู่ตรงนั้น เขาหัวเสียมากและพยายามเปิดมันอยู่หลายครั้ง จนสุดท้ายที่เขาพังมันออกไปนั่นแหละ เขาถึงพบว่ามันไม่ได้พาไปถึงไหน เขาพบแค่กำแพงสูงกั้นอยู่หลังประตูนั้นและมองไปเบื้องบนยังท้องฟ้าสีขาวกับดวงอาทิตย์กลมโตอันร้อนระอุของชิคาโก ภาพเปรียบเปรยถึงประตูที่ไม่ได้พาไปที่ไหนอาจตรงกับชีวิตของคนผิวดำในอเมริกา ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และอาจเลยยาวมาจนถึงปัจจุบัน ในดินแดนที่คนขาวบอกว่าทุกคนจะได้โอกาสเท่าๆ กัน คนดำจำนวนมากยังคงติดอยู่กับกับดักแห่งการเหยียดสีผิว พวกเขาต้องทำตัวให้ดีเพียงเพื่อจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม ในขณะที่คนขาวจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ความเชื่อมโยงนี้ทำให้นึกถึงเหตุการณ์สังหารจอร์จ ฟลอยด์ อยู่ไม่น้อย – เหตุการณ์ที่คนดำถูกตั้งข้อสงสัยเอาไว้ก่อนว่าเขาทำผิด และถูกกระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ –...

Tiger: อ่านระหว่างบรรทัดชีวิตนักกอล์ฟดัง

เมื่อพูดถึงสารคดี สิ่งหนึ่งที่เราคาดหวังจากมันก็คือ “ความเป็นกลาง” หรือการเล่าเรื่องอย่างตรงตามความเป็นจริงที่สุด ดังที่แมทธิว ฮามาเช็ค ได้พูดเอาไว้เกี่ยวกับสารคดี Tiger ที่ตีแผ่ชีวิตอันขึ้นสุดลงสุดของนักกอล์ฟดังอย่าง ไทเกอร์ วูด

I Care A Lot : ประกอบสร้างตัวตนตามฝันอเมริกันสีเทา

หนังเล่าเรื่องของ มาร์ลา เกรย์สัน นักธุรกิจแสนไฮโซที่มีเบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋น ที่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายหาเหยื่อเป็นคนแก่ที่ดูจะมีแนวโน้มดูแลตัวเองไม่ได้ เธอขอให้ศาลออกคำสั่งให้ย้ายคนแก่เหล่านั้นเข้าบ้านพักคนชรา และฮุบทรัพย์สินของพวกเขาขายทอดตลาด โดยอ้างว่าใช้เป็นทุนในการดูแลพวกเขา

Space Sweepers : โลกบริสุทธิ์อันเป็นพิษ

หากพูดถึงวงการหนังเกาหลี เราคงต้องยกนิ้วให้กับนวัตกรรมด้านพล็อต เทคนิคการนำเสนอใหม่ๆ และการใส่ลายเซ็นอันเป็นเอกลักษณ์ให้กับหนังแต่ละเรื่อง จนทำให้เกาหลีผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำด้านสื่อบันเทิงอย่างโดดเด่น และหากใครต้องการแสดงให้โลกเห็นว่า วงการหนังของตนเองไม่น้อยหน้าชาติใดในโลกแล้วล่ะก็ คงหนีไม่พ้นการทำหนังอวกาศโปรดักชั่นยักษ์ใหญ่ ที่การันตีด้วยซีจีแบบอลังการ แบบที่ Space Sweepers ทำให้ผู้ชมทึ่งไปเลยว่า “หน้าเกาหลีมันไปสุดขนาดนี้เลยหรอ!?”

Lupin – แหกกรอบชนชั้นด้วยแฟนตาซีงานนอกกฎหมาย

Lupin เล่าเรื่องของอาสซาน เด็กชายผิวดำชาวเซเนกัลที่อพยพมาอยู่ฝรั่งเศสกับพ่อของเขา พ่อของเขาได้งานเป็นคนขับรถที่บ้านของมหาเศรษฐีตระกูลเพลเลอกรินี และถูกกล่าวหาว่าขโมยเครื่องเพชรมูลค่ามหาศาลของตระกูลไป ไม่นานพ่อของเขาก็ฆ่าตัวตายในคุก ทิ้งให้อาสซานจมอยู่กับความคิดว่าพ่อตัวเองเป็นอาชญากร

Mother Gamer: ยูโทเปียเกมเมอร์หลังห้อง

ติดอันดับหนังยอดนิยมใน Netflix ไปเรียบร้อยสำหรับหนังไทยเอาใจวัยรุ่น “Mother Gamer: เกมเมอร์ เกมแม่” หนังที่เข้าฉายในโรงเมื่อปลายปี 2020 และเพิ่งเข้าสตรีมมิงไม่นานมานี้ ที่ได้นางเอกยุค ’90 อย่าง อ้อม พิยดา จุฑารัตนกุล มาเป็นนักแสดงนำ เนื้อเรื่องของหนังพาเราไปทำความรู้จักกับวงการอี-สปอร์ต และเกม Arena of Valor (RoV) ชนิดที่คนไม่เคยเล่นก็สามารถสนุกไปด้วยไม่ยาก และธีมของเรื่องก็เหมาะกับคนหลายวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ที่ต้องการทำความเข้าใจโลกของเด็กๆ สมัยนี้

Death to 2020 : ขยี้มุกเอาใจมิลเลนเนียล แม้นักวิจารณ์ไม่ปลื้ม

หากจะกล่าวว่า 2020 เป็นปีที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คงจะไม่ผิดนัก ระดับความเลวร้ายของมันก็แค่น้องๆ สงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้นเอง ด้วยความร้ายกาจของปีอันน่าจดจำ (ในทางลบ) ที่ว่านี้ คนกลุ่มหนึ่งจึงสร้าง mockumentary หรือสารคดีแนวเสียดเย้ยขึ้นมาเพื่อล้อเลียนมัน และผลที่ได้ออกมาก็คือ Death to 2020 ซึ่งนักวิจารณ์สื่อนอกทั้งหลายไม่ค่อยปลื้มนัก

The Call การฟาดฟันของเหล่าหญิงสาว

หนังไซไฟ-ทริลเลอร์อีกหนึ่งเรื่องที่ยืนยันความเด็ดขาดของหนังตระกูลนี้จากเกาหลีใต้ได้อย่างดี ด้วยเรื่องราวการห้ำหั่นระหว่างผู้หญิงที่ถูกนำเสนออย่างเข้มข้นชวนขนหัวลุก!

Borat : เสียดเย้ยอเมริกันชนจนหน้าหงาย

ในวาระการกลับคืนสู่จอเงินของหนังแฟรนไชส์ Borat เรื่องราวของนักข่าวชาวคาซัคสถานที่พกความต่ำตมสุดขีดไปกับตัวเมื่อออกเดินทางไปทำสกู๊ปต่างแดนที่อเมริกา บทความนี้จึงจะมาพูดถึง Borat ภาคแรกที่ออกฉายเมื่อปี 2006 จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ฮือฮา ได้รับคำวิจารณ์เชิงบวกอย่างท่วมท้น ชื่อเต็มๆ ของหนังเรื่องนี้ คือ Borat: Cultural Learnings of America for Make Benefit...

The Queen’s Gambit: หญิงแกร่งในโลกโดดเดี่ยว (แต่ก็ไม่มากเกินไปนัก)

หากผู้หญิงต้องมีห้องส่วนตัวเพื่อเขียนนิยายของตัวเอง ดังที่เวอร์จิเนีย วูล์ฟ เสนอไว้ใน A Room of One’s Own เบธ ฮาร์มอน ก็มีพื้นที่ส่วนตัวที่สร้างขึ้นในหัวของเธอเอง ที่ที่เป็นเอกเทศจากปัจจัยภายนอกทุกอย่าง และเป็นโลกที่เธอมีเสรี “กระดานหมากคือโลกทั้งใบที่ถูกย่อส่วนให้เหลือ 64 ช่อง โลกที่ฉันควบคุมมันได้ ปกครองมันได้ และเดาทางได้” The Queen’s...

The Post: ปกป้องเสรีภาพสื่อ ด้วยการพูดความจริง

“วิธีปกป้องเสรีภาพในการตีพิมพ์ข่าว ก็คือการตีพิมพ์ข่าว” เบน แบรดลีย์ บรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์ The Washington Post ได้กล่าวไว้ในวันที่คนทำสื่อรอบตัวเขาต่างสงสัยในหน้าที่ของตัวเอง ในฐานะหนังที่กำกับโดยสตีเวน สปีลเบิร์ก The Post ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างหมดจดในการเล่าถึงวินาทีหยุดโลก ที่หนังสือพิมพ์ The Washington Post ตัดสินใจตีพิมพ์บันทึกลับของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ บันทึกนั้นได้เปิดเผยว่าปฏิบัติการในสงครามเวียดนามของสหรัฐนั้นเกิดขึ้นทั้งที่ผู้เกี่ยวข้องรู้อยู่แล้วว่ามันมีข้อผิดพลาด และแม้จะถูกขู่ฟ้อง...

Emily in Paris: เจ้าอาณานิคมคนใหม่ กับความฝรั่งเศสที่พิสดาร (Exotic)

หลังจากลงสตรีมมิงเจ้าใหญ่อย่าง Netflix ได้ไม่นาน ซีรีส์โรแมนติก อารมณ์ดี ดูไร้พิษภัยอย่าง Emily in Paris ก็กลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ทันที ว่ามันสร้างภาพจำของฝรั่งเศสและคนฝรั่งเศสอย่างไม่ตรงตามความเป็นจริง จนกลายเป็นหัวข้อบทความของหลายสำนักข่าวอย่างเช่น New York Times...

The Trial of the Chicago 7 : ม็อบจุดฝัน ในวันที่ตาชั่งเอียงข้าง

ถ้าพูดถึงคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะรุ่นมิลเลนเนียลลงมา สิ่งที่นิยามตัวตนของพวกเขาก็คือความกล้า ความเป็นตัวของตัวเอง การเป็นพลเมืองโลก การไม่ละทิ้งกลุ่มชายขอบ และการเชื่อมต่อกัน พวกเขาเป็นพลังขับเคลื่อนการชุมนุมมาตั้งแต่อดีต ดังที่ปรากฏใน The Trial of the Chicago 7 อีกหนึ่งตัวอย่างทางความคิดในการต่อสู้กับความอยุติธรรม

มู่หลาน: รัฐคือครอบครัว แต่ครอบครัวมาก่อนรัฐ

นับว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีทั้งเสียงชื่นชมและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ สำหรับ Mulan เวอร์ชัน Live Action ของดิสนีย์ ที่จุดประเด็นถกเถียงมากมาย ทั้งความขัดแย้งในซินเจียง สถานที่ถ่ายทำหนัง และทัศนคติทางการเมืองของนักแสดงนำ อย่างหลิวอี้เฟย ที่ออกมาสนับสนุนการใช้กำลังของตำรวจในฮ่องกง อย่างไรก็ตาม แม้เราไม่อาจแยกศิลปะภาพยนตร์ออกจากการเมืองได้ แต่เราอาจทำความเข้าใจภาพยนตร์ในฐานะสื่อกลางทางวัฒนธรรม ที่ก่อนสร้างนั้นมีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้นๆ แล้วถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นพล็อตเรื่อง...

Tenet: ผู้รู้เวลาครบคือพระเจ้า

กลายเป็นกระแสไปเรียบร้อย สำหรับหนังเรื่อง Tenet โดยผู้กำกับระดับพระกาฬ คริสโตเฟอร์ โนแลน ที่ไม่ว่าใครได้เข้าไปดูก็ถึงกับ ‘งง’ ไปตามๆ กัน เพราะคอนเซปต์หลักของหนังเล่นกลับการย้อนเวลา - แม้ว่าในเรื่องจะไม่อยากใช้คำนี้นัก - หนังใช้คำว่า ‘การย้อนกลับ (inversion)’ เพื่ออธิบายการที่ตัวเอกทำสำเนาตนเองเข้าไปทับไทม์ไลน์ต่างๆ ในอดีต...