TAG

หนังไทย

หากสารคดียังไร้กติกา ก็ไม่ต้องหาขอบเขตใน ‘ร่างทรง’

ในรอบ Q&A ของ ‘ร่างทรง’ ที่ Doc Club & Pub. เมื่อวันที่ 30 ต.ค. มีผู้ชมคนหนึ่งเผยความรู้สึกกับผู้กำกับ บรรจง ปิสัญธนะกูล ว่าเขาอยู่ในฝั่งไม่ชอบวิธีการใช้ Mockumentary กับหนังเรื่องนี้นัก...ซึ่งเราเพิ่งคุยกันเรื่องนี้ไม่กี่นาทีก่อนเข้าไปพบปะผู้ชม เนื่องจากกำลังเป็นประเด็นถกเถียงบนโลกออนไลน์ระดับดุเดือด

October Sonata ชัยชนะของทุนนิยมในสงครามชีวิต

หนังเล่าเรื่องของระวี (โป๊บ ธนวรรธน์)-แสงจันทร์ (ก้อย รัชวิน) จุดเริ่มต้นการพบกันของระวีและแสงจันทร์เกิดจากการที่แสงจันทร์ถูกระวีขับรถชน เธอจึงใช้โอกาสนั้นขอติดรถเพื่อไปดูสถานที่ที่ มิตร ชัยบัญชา ตก ฮ.ตาย ขณะถ่ายทำหนังเรื่องสุดท้ายของเขา พวกเขาเจอกันในค่ำคืนของวันที่ 8 ตุลาคม 2513 ทั้งคู่ไปจบลงที่การค้างคืนที่บังกะโลแสนมุก ริมทะเลพร้อมกับความผูกพันของทั้งสองที่ก่อตัวภายในข้ามคืน

เหตุใดหนังจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังโด่งดังไปทั่วโลก

บทความชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์หาเหตุผลที่ทำให้วงการภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการขับเคลื่อนที่น่าสนใจ จนมีความเป็นไปได้ว่า คลื่นลูกใหม่ของโลกภาพยนตร์ที่เรียกว่า คลื่นอุษาคเนย์ (SEA Wave) กำลังก่อตัวเพื่อสร้างความโดดเด่นในเวลาไม่ช้านี้

ทำไมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศจึงให้ความสนใจภาพยนตร์ฟอร์มเล็กจากประเทศโลกที่สามอย่างภาพยนตร์ไทย?

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 นักทำหนังไทยหลายคนมีโอกาสพาหนังของตนออกไปโลดแล่นที่เทศกาลหนังต่างแดนแล้วคว้ารางวัลกลับบ้านเกิดให้ชื่นมื่นอยู่ไม่น้อย ข่าวดีเหล่านี้สร้างความคึกคักให้แก่วงการภาพยนตร์ไทย

ประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ยาหลอนประสาทของมณีจันทร์ ในหนังทวิภพ

เนื่องในวาระอำลา ทมยันตี ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ จะชวนผู้อ่านกลับไปวิเคราะห์ ทวิภพ ฉบับภาพยนตร์ ที่สร้างจากนิยายขึ้นชื่อของทมยันตี ผ่านแว่นตาของนักประวัติศาสตร์อีกครั้ง

แฟนฉัน : เมื่อลูกหลานชนชั้นกลาง ไม่สามารถกลับไปมีชีวิตที่ดีในบ้านเกิดต่างจังหวัดได้

ก่อนจะคิดกับมันจริงจัง ผมเคยคิดว่าเรื่องนี้มันคือ ส่วนผสมระหว่างชีวิตอันน่าถวิลหาของคนยุคมานีมานะแต่เป็นเวอร์ชั่นชาวตลาด โดยใช้คาแรกเตอร์ของตัวละครในการ์ตูนโดราเอมอน (เพราะถ้าเอามานี มานะ วีระ ปิติ ชูใจมาเล่นคงน่าเบื่อพอควร) ที่สามารถดันให้เรื่องมันสนุกโดยไม่ต้องมี reference อะไร

เอหิปัสสิโก (Come and See) : จาก “ขบถ” สู่ “ผีบุญธรรมกาย” องคาพยพที่สะเทือนความมั่นคงของรัฐอันนำไปสู่ “สังฆประหาร”

สารคดีเรื่องนี้ฉายภาพอาณาจักรของธรรมกายในอีกรูปแบบหนึ่ง เสียงดนตรีประกอบที่ทุ้มแน่นราวกับการสำแดงสถาปัตยกรรมแห่งจักรวรรดิในหนังสตาร์วอร์ส และไม่มีน้ำเสียงล้อเลียนแบบที่สื่อจำนวนมากทั้งตามขนบและโซเชียลพยายามใช้กัน

สรุปความคึกคักของหนังไทย 2021 ในเวทีโลก

แม้ว่าปีนี้โรงหนังในเมืองไทยจะปิดภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ในเวทีโลกแล้วนับเป็นปีทองของหนังไทย โดยเฉพาะเมื่อมองว่าเราเพิ่งเข้าสู่เดือนที่ 7 แต่หนังไทยก็เดินทางไปสร้างชื่อเสียงไปแล้วหลายเรื่อง

Ghost Lab สุญญตากับต้มข่าไก่

ถ้าหนังตั้งใจเริ่มฉีกกฎทดลองผีด้วยมือซ้ายเพื่อแทนค่าการเริ่มต้นที่ผิดธรรมชาติ ก็ต้องนับว่าสื่อความได้สำเร็จดีทีเดียว ไม่ใช่เพราะเห็นกระจ่างว่าตัวละครฝืนวิทยาศาสตร์หรือสัจธรรมอะไร แต่หนังทั้งเรื่องนี่แหละเริ่มต้นอย่างผิดธรรมชาติ และฉากมือซ้ายที่จบด้วยชื่อเรื่องคือกระดุมเม็ดแรกที่กลัดผิดแล้วไม่ยอมแก้

ฟื้นฟูหนังไทย ฟื้นฟูธุรกิจท่องเที่ยว

ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจท่องเที่ยวของไทย สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แต่พอเกิดโรคระบาดขึ้นทั่วโลก ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวซบเซาตามกัน ถึงขนาดว่าในปี พ.ศ.2563 รายได้จากการท่องเที่ยวทั้งจากนอกประเทศและและในประเทศเอง พลาดเป้าไปถึง 2.35 ล้านล้านบาท จากที่ตั้งไว้ 3.18 ล้านล้านบาท หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ธุรกิจท่องเที่ยวปีที่แล้วทำรายได้ไปไม่ถึง 1 ล้านล้านบาทเลยด้วยซ้ำ

ปลดแอกอาณานิคมสยามและแรงปรารถนา ใน มะลิลา

ในทางศาสนาพุทธ ความปรารถนาเป็นใจกลางของความทุกข์และการยึดติดผ่านแนวคิดปฏิจจสมุปบาท สำหรับชาวพุทธแล้วระหว่างความปรารถนาและการยึดติดจำเป็นที่จะต้องแยกขาดออกจากกัน พระและผู้ปฏิบัติธรรมจะแยกระหว่างความปรารถนา การยึดติด และความทุกข์ ออกจากกันได้ ด้วยการเผชิญหน้ากับซากศพ นั่นคือ อสุภกรรมฐาน เพื่อให้ค้นพบภาพลวงตาของความปรารถนาและความไร้ประโยชน์ของการยึดติดผ่านการใช้เรือนร่างเพศหญิง

สรุปเสวนาคลับเฮาส์ ‘การเมืองในหนังไทย’ : สถานะของภาพยนตร์ในการเมืองร่วมสมัย

หลังจากวงเสวนาคลับเฮาส์ในหัวข้อ “หนังไทย (Once Upon a Time – Thai Cinema) : ปรากฏการณ์ T Wave ในทศวรรษที่ 2000” ว่าด้วยหรือปรากฏการณ์ความสำเร็จของภาพยนตร์ไทยในพุทธศักราช 2540 ได้รับความสนใจอย่างมากจากคนรักหนังและคนทำหนังในไทย เมื่อวันศุกร์ที่...

สรุปบทความจากเสวนาคลับเฮาส์ : ปรากฏการณ์ Thai Wave Cinema ในทศวรรษ 2540 (ตอนที่ 2)

(ตอนที่ 2) เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ภาณุ อารี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ ได้จัดคลับเฮาส์พูดคุยในหัวข้อ “หนังไทย (Once Upon a Time - Thai Cinema) : ปรากฏการณ์ T Wave ในทศวรรษที่ 2000” ว่าด้วยหรือปรากฏการณ์ความสำเร็จของภาพยนตร์ไทยในพุทธศักราช 2540

ณฐพล บุญประกอบ ‘เอหิปัสสิโก’ เรื่องของคนสองฝั่งที่มีรัฐเป็นกรรมการ

หลังจากแจ้งเกิดในวงกว้างด้วย '2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว' (2018) ณฐพล บุญประกอบ ก็หวนกลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวการเฝ้ามองและสำรวจความเป็นไปในวัดพระธรรมกายใน 'เอหิปัสสิโก' (Come and See) สารคดีที่บันทึกคำถามและแสวงหาคำตอบความขัดแย้งระหว่างความเชื่อและรัฐ

‘เอหิปัสสิโก’ โรงแตก! เปิดตัว 3 แสนบาทจากโรงฉายจำกัด

รายได้เปิดตัวหนัง 3 แสนบาท อาจไม่ได้น่าตื่นเต้นเท่าไหร่ แต่สำหรับ Come and See หรือ ‘เอหิปัสสิโก’ หนังสารคดีอิสระของไทย ผลงานของ ณฐพล บุญประกอบ ถือเป็นปรากฏการณ์ย่อมๆ ในวันที่ข่าวการแพร่ระบาดโควิดเข้าขั้นวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเข้าฉายเพียง 8 โรง และจำกัดรอบเฉลี่ยโรงละ 3 รอบเท่านั้น