Review

BLUE : สีของเสรีภาพและความเศร้า

Blue เป็นหนังภาคต้นในไตรภาคสามสีที่หยิบเอาคำขวัญของฝรั่งเศส เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ มาทำเป็นหนังโดยใช้สีของธง ฟ้า ขาว แดง มาเป็นชื่อของแต่ละตอน ถึงตอนนี้โลกรับรู้แล้วว่านี่คือหนึ่งในไตรภาคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และ Krzysztof Kieślowski คือคนทำหนังที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของโลก

ใจจำลอง : ขบวนรถไฟสายภาพยนตร์

เริ่มจากภาพที่นอกหน้าต่างรถไฟ ภาพเคลื่อนไหวเร็วผ่านกรอบหน้าต่าง เร็วจนบางครั้งกระตุก พวกเขาไปเที่ยวกันกระมัง ชายหนุ่มสามคนกับหญิงสาวหนึ่งคน คนรักของหนึ่งในสามคนนั้น พวกเขาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์และพบว่ามันปิดซ่อม พวกเขาเดินเล่นไปตามทางรถไฟ พูดถึงอดีตกลายๆ พอให้รู้ว่ามันคือทางรถไฟที่สร้างไม่เสร็จและเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์บาดแผลของการขูดรีดแรงงานเชลยศึก พวกเขาไปพักกันที่แพกลางน้ำ ตั้งวงดื่มกิน พูดคุยกันเรื่องชีวิต และจู่ๆ ก็มีพลุสว่างอยู่กลางฟ้ามืดดำ  เธออีกคนเดินวนอยู่ในป่า คงหลงทางกระมัง ก่อนหน้านี้เธออาจจะมากับเพื่อนสาวอีกคน กางเตนท์อยู่กลางป่า แต่จู่ๆ เธอก็เหลือตัวคนเดียว สับสนหวาดกลัว...

Barry (Season 3) ฆ่าให้ตายอาจจะง่ายเสียกว่า

อีกจุดที่น่าชื่นชมคือ Barry ยังคงรักษาอารมณ์ขันท่ามกลางสถานการณ์สุดแหลมคมเอาไว้ได้โดยไม่บกพร่อง นอกจากรถไฟเหาะทางอารมณ์ที่เหวี่ยงขึ้นลงอย่างรุนแรงเป็นพิเศษ สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากซีซั่นก่อนๆ คือบรรดามุกตลกเกี่ยวกับความบ้าบอคอแตกของชาวฮอลลีวู้ด ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน

MIDNIGHT CINEMA 10 – Dashcam คืนผีคลั่ง

นี่คือหนังสยองขวัญเรื่องใหม่ของ Rob Savage ที่เริ่มเป็นที่รู้จักจากหนัง 'Host คืนซูมผี' ที่ออกฉายในปีที่แล้ว เราอาจมองได้ว่า Dashcam เป็นภาคต่อกลายๆ ของ Host แม้เรื่องจะไม่เกี่ยวข้องกัน เพราะเรื่องเกิดขึ้นในช่วงระบาดใหญ่ของโควิด

Gangubai Kathiawadi : คังคุไบ การเมืองและพลังของโยนีเริงระบำ

หนังอินเดียที่กลายเป็นกระแสกันทั่วบ้านทั่วเมือง เห็นได้จากการคอสเพลย์เป็นคังคุไบได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายจากคนธรรมดา ผู้มีชื่อเสียงกระทั่งชนชั้นสูง แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ถูกวิจารณ์ว่า เอาจริงๆ แล้วไม่มีใครสนใจสิทธิของ sex worker มากไปกว่าการได้แต่งตัวชุดส่าหรีงามๆ ตามกระแสหรอก

Top Gun: Maverick กู้โลกให้เด็กมันดู

โดยไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ Top Gun: Maverick ก็เป็นเช่นเดียวกันกับใบหน้าและร่างกายของ Tom Cruise ซึ่งยังคงสภาพเกือบเหมือนแช่แข็งวันเวลาเอาไว้ ใบหน้าที่เคยเป็น และยังคงเป็น หรืออย่างน้อยพยายามจะเป็น ภาพแทนของอเมริกันชนในฝัน ตลอดช่วงปลายทศวรรษ 1980 ต่อ 1990

Kotaro Lives Alone โคทาโร่ไม่ได้อยู่เพียงลำพังเพียงลำพัง

เรื่องราวของมันว่าด้วยบรรดาผู้คนที่และสิ่งละอันพันละน้อยที่อยู่รายรอบตัวโคท่าโร่ เด็กชาย 4 ขวบผู้มีบุคลิกล้ำเกินวัย เขาพูดจาด้วยสำนวนของชนชั้นสูง ใส่ใจกับมารยาทพิธีรีตอง ใส่ใจกับการดูแลรูปลักษณ์จนถึงขั้นหมกมุ่น

Wheel of Fortune and Fantasy : รูกลวงที่คล้ายวงล้อแห่งโชคชะตาและฝันหวาน

นอกจากการหมุนไปของวงล้อแห่งโชคชะตา เรื่องสั้นสามเรื่องไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน ตัวละครคนละชุด สถานการณ์คนละแบบ แต่หากมองอย่างใกล้ชิดเข้ามาอีกนิด เราอาจเล่าเรื่องทั้งสามนี้ใหม่ภายใต้โครงสร้างเดียวกันได้ว่านี่คือเรื่องของตัวละครหญิงที่พกพาความเป็นคนนอก คนชายขอบ บุกเข้าไปในสมดุลความสัมพันธ์แบบต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งอาจจะพูดอีกแบบว่าความสัมพันธ์ในโลกแบบชายเป็นใหญ่ก็ได้

Everything Everywhere All At Once – พหุจักรวาลแห่งครอบครัวและภาษี

เราอาจบอกได้ไม่ยากว่าโดยเนื้อแท้ นี่คือหนังที่พูดถึงการทบทวนตัวเองของผู้หญิงที่อยู่ในวิกฤติวัยทอง ที่ไม่ใช่เรื่องทางกายภาพ แต่คือเรื่องของครอบครัว และการงาน

โลกทั้งใบให้นายคนเดียว บนจุดสูงสุดของหนังวัยรุ่นไทยยุคฟองสบู่ เรื่องเล่าความพังพินาศของครอบครัวเพราะ(ยัง)ไม่มี 30 บาทรักษาทุกโรค

หนังเรื่องนี้ฉายในปี 2538 ก่อนที่ฟองสบู่เศรษฐกิจไทยจะแตกเพียง 2 ปี ถือว่าเป็นช่วงที่ชนชั้นกลางไทยกำลังชื่นมื่นกับความสำเร็จทางเศรษฐกิจของตัวเอง และดื่มด่ำบรรยากาศที่เชื่อกันว่าไทยจะก้าวไปเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 ตามฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวันและสิงคโปร์ และไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว