18 ก.ค. 2021 – เมื่อคืนนี้คนไทยชื่นมื่นกับความสำเร็จของ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้คว้ารางวัลจากคานส์มาเป็นครั้งที่ 4 แล้ว นอกจากนี้เขายังได้ใช้เวลาบนเวทีเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้คนไทย คนโคลอมเบีย และอีกหลายประเทศที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์โรคระบาดและการบริหารที่ล้มเหลวของภาครัฐเฉกเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ไฮไลต์ของค่ำคืนที่ผ่านมา ก็คือผลรางวัลของ เทศกาลหนังเมืองคานส์ หลังจากหยุดพักไป 1 ปี เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 ปีที่แล้ว และเทศกาลนี้ยังทรงอิทธิพลมากพอที่จะทำให้เราเห็นทิศทางของวงการหนังโลกหลังจากนี้ได้ไม่มากก็น้อยด้วย
ผลรางวัลทั้งหมด ทั้งสาย Competition (ประกวดหลัก) สาย Un Certain Regard และรวมไปถึงเทศกาลข้างเคียงต่างๆ อย่าง Critics’ Week และ Directors’ Fortnight ด้วย
Competition (สไปค์ ลี เป็นประธานกรรมการ)
Palme d’Or : Titane (ผกก.จูเลีย ดูคัวร์นู ทำสถิติเป็นผู้หญิงคนที่สองที่คว้ารางวัลนี้)
Grand Prix : A Hero (แอชการ์ ฟาร์ฮาดี) และ Compartment No.6 (จูโฮ คูโอสมาเนน)
ผู้กำกับยอดเยี่ยม : เลโอส การากซ์ (Annette)
นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม : เรเนต เรนส์เว (The Worst Person in the World)
นักแสดงชายยอดเยี่ยม : คาเลบ แลนดรี โจนส์ (Nitram)
บทยอดเยี่ยม : Drive My Car (ริวสึเกะ ฉามากุจิ และ โอเอะ ทากามาสะ)
Jury Prize : Ahed’s Knee (นาดาฟ ลาปิด) และ Memoria (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล)
หนังสั้น
Palm d’Or : All the Crows in the World (ตั้งอี้)
Special Mention : August Sky (จัสมิน เทนุชชี)
Un Certain Regard
เป็นอีกหนึ่งสายประกวดที่จัดควบคู่กับสาย Competition ซึ่งคำว่า Un Certain Regard หมายความว่า “จากมุมมองที่แตกต่าง” ดังนั้นหนังที่อยู่ในสายนี้จึงมาพร้อมวิธีเล่าเรื่องที่แตกต่าง หนังไทยเรื่องแรกที่ได้รับเลือกจากเทศกาลเมืองคานส์ ‘ฟ้าทะลายโจร” ของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง และ หนังไทยเรื่องแรกที่ได้รางวัล ‘สุดเสน่หา’ ของอภิชาติพงศ์ ก็มาจากสายนี้ โดยปีนี้มี อันเดรีย อาร์โนลด์ เป็นประธานกรรมการ
Un Certain Regard : Unclenching the Fists (คิระ โควาเลนโก)
Jury Prize : Great Freedom (เซบาสเตียน เมเซ)
Ensemble Prize : Good Mother (ฮัฟเซีย เฮอร์ซี)
Prize of Originality : Lamb (วลาดิมาร์ โยฮันส์สัน)
Prize of Originality : La Civil (เทโอดอรา มิไฮ)
Special Mention : Prayers for the Stolen (ทาเทียนา ฮูโซ)
International Critics Week
เทศกาลข้างเคียงของเทศกาลหนังเมืองคานส์ซึ่งจัดในช่วงเวลาเดียวกัน โดย สมาคมนักวิจารณ์หนังฝรั่งเศส ปีนี้มีประธานกรรมการเป็น คริสเตียน มุนกิว
Grand Prix : Feathers (โอมาร์ เอล โซแฮรี)
Rising Star Awards : ซานดรา เมลิสซา ตอร์เรส นักแสดงจาก Amparo
หนังสั้น : Lili Alone (โจวจิ้ง)
Directors’ Fortnight
เทศกาลหนังที่จัดควบคู่กันโดย สมาคมผู้กำกับหนังฝรั่งเศส เริ่มขึ้นเมื่อปี 1969 ภายหลังเหตุการณ์ พฤษภาคม 1968 ที่เกิดการสไตรค์โดยแรงงาน ทำให้เทศกาลหนังเมืองคานส์ต้องหยุดไป 1 ปี สมาคมฯ เลยแยกตัวมาจัดเทศกาลนี้ขึ้นมา
Europa Cinemas Cannes Label : A Chiara (โจนัส คาปิญาโน – เขาคว้ารางวัลนี้เป็นครั้งที่สอง จากหนังภาคก่อนของเรื่องนี้ A Ciambra) SACD Prize มอบโดยสมาคมคนเขียนบทฝรั่งเศส : Magnetic Beasts (แว็งซองต์ มาเอล คาร์โดนา)
Cinefondation
รางวัลหนังนักเรียน นักศึกษา
Cinefondation 1st Prize : The Salamander Child (เธโอ เดเกน อินซาส)
Cinefondation 2nd Prize : Cicada (ยูนแดโวน)
Cinefondation 3rd Prize : Love Stories on the Move (การินา กาเบรียลา ดาโซเวนู) และ Cantariera (โรดริโก ริเบย์โร)
หนังเรื่องแรกยอดเยี่ยม หรือ Camera d’Or
ปีนี้มี เมลานี เธียร์รี นักแสดงชาวฝรั่งเศสเป็นประธานกรรมการ คัดเลือกจากหนังทุกเรื่องที่ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในเทศกาลหลักและข้างเคียง : อันโตเนตา อลามัต คูสิยาโนวิก (Muiran – โครเอเชีย) // เธอคลอดลูกก่อนงานประกาศรางวัล 1 วัน
Queer Palm
รางวัลจัดตั้งเมื่อปี 2010 โดยสื่อมวลชน แฟรงก์ ไฟแนนซ์ มาดูไรรา และสนับสนุนโดย โอลิวิเยร์ ดูกัสเตล และ ฌากส์ มาร์ติน โดยคัดเลือกจากหนังทุกเรื่องที่ฉายจากทุกสายในเทศกาลหลักและข้างเคียง ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ LGBTQ+ Queer Palm : The Divide (แคทเธอรีน คอร์ซินี) ซึ่งได้เข้าฉายในสายประกวดหลัก
Palm Dog
ก่อตั้งเมื่อปี 2001 โดยสื่อมวลชนนาม โทบี้ โรส และปีนี้ครบ 20 ปีพอดี มอบแด่น้องหมาที่อยู่ในหนังของเทศกาลทั้งหลาย
Palm Dog – น้องหมาพันธุ์สเปเนียล จาก The Souvenir Part II (ทิลด้า สวิสตัน รับรางวัลแทนเป็นปลอกคอตามภาพ)
Jury Prize – โซฟี จากหนัง Red Rocket ของ ฌอน เบเกอร์ และ แพนด้า จากหนัง Lamb ของ วลาดิมาร์ โยฮันส์สัน