TAG

หนังไทย

MIDNIGHT CINEMA 09 – เทอมสอง สยองขวัญ : คน ผี ปีการศึกษา (ศาส(จ)ตร์)

นี่คือเรื่องสั้นสามเรื่องจากผู้กำกับสามคนที่ถูกนำมาประกอบกันขึ้นเป็นหนังยาว ผูกพ่วงอยู่กับตำนานผีในมหาวิทยาลัย โดยเล่าผ่านช่วงเวลาของสามพิธีกรรมสำคัญนอกเหนือจากการศึกษา แต่ดูจะใหญ่โตและสำคัญกว่าการศึกษาเสียอีก นั่นคือ พิธีกรรมรับน้อง งานสถาปนามหาวิทยาลัย/การปฏิญาณตนตามวิชาชีพ และ การรับปริญญา

หมอปลาวาฬ ตัวแทนอำนาจรัฐไทยในหมู่(ไท)บ้าน : ความพ่ายแพ้ของคนนอกที่ไต่เส้นลวดอำนาจสาธารณสุขในยุครัฐเวชกรรม

หนังในจักรวาลไทบ้าน เดินทางมาสู่ปีที่ 5 หากนับเป็นนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย บางคณะก็ถือว่าจบการศึกษาและเริ่มทำงานไปแล้ว ช่วงปี 2560-2561 ถือเป็นจุดที่หนังเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง จนมาถึงปี 2563 ที่ทุกวงการได้รับผลกระทบอย่างหนักมาจากโรคระบาดอย่างโควิด-19

อำนาจรัฐและทุนในไทบ้านเดอะซีรีส์ 2.1 : ชัยชนะของคนบ้า และความพ่ายแพ้ของคนบ้านในชนบทอีสาน

หมู่บ้านในไทบ้านเดอะซีรีส์ เป็นภาพตัวแทนชนบทอีกชุดหนึ่งที่ต่างจากโลกชนบทในจินตนาการของชนชั้นกลางที่เป็นชุมชนสามัคคี ทำมาหากินอย่างเจียมเนื้อเจียมตน ชาวบ้านมีน้ำใจ เข้าวัดฟังธรรมรักษาศีล มีชีวิตอย่างพอเพียง พออยู่พอกิน แต่เป็นหมู่บ้านที่คึกครื้นไปด้วยวัยรุ่น วงเหล้า และชีวิตที่ไหลเรื่อยเปื่อยไร้สาระ เด็กในหมู่บ้านก็ไม่ใช่ลูกหลานที่น่ารัก คำว่า "เด็กเปรต" ยังอาจน้อยไป สำหรับพฤติกรรมของบักมืด เด็กแก่แดดจอมทำลายล้าง โลกของบักมืดนี่ทำลายภาพนักเรียนที่รัฐคุมได้อยู่หมัดแบบในแบบเรียนมานี-มานะกันเลย หนังเรื่องนี้พูดลาวกันทั้งเรื่อง ยกเว้นตัวละคร 3...

จากค็อกเทลถึงเหล้าขาว ผู้หญิงและปมที่ไม่ได้รอคอยผู้ชายกลับไปแก้ไข ใน One for the Road

ผู้เขียนพบว่ามีคนเทียบ One for the Road กับ Happy Old Year เยอะพอสมควร แต่ด้วยความที่ผู้เขียนเพิ่งได้ดู Drive My Car ก็อดคิดเทียบกันไม่ได้ ในแง่ที่ว่ามันเป็นโร้ดมูฟวี่ และเป็นเรื่องของการกลับไปเผชิญหน้าอดีตอันขมขื่นของผู้ชายที่ไม่เอาไหน

จักรวาล นิลธำรงค์ : ‘เวลา’ ที่อาจไม่ได้เป็นเส้นตรง และตัวเราในตอนนี้กับอดีตอาจเป็นคนละคนกัน ?

หนังยาวเรื่องที่สองของเขา ‘เวลา’ Anatomy of Time เล่าเรื่องราวของ "แหม่ม" (เทวีรัตน์ ลีลานุช) หญิงชราวัย 70 ปี ที่ต้องดูแลสามีป่วยติดเตียงผู้เหลือเวลาในชีวิตไม่มากแล้ว และการรำลึกถึงความทรงจำในวัยสาวของเธอ กับเสนาธิการทหารคนหนึ่ง ในฉากหลังยุคการเมืองคุกรุ่น พ.ศ. 2524

มนต์รักทรานซิสเตอร์ : ชีวิตที่พังทลายของแผน + สะเดา เพราะโชคชะตาหรือโครงสร้างสังคมอันอยุติธรรม?

ทรานซิสเตอร์เป็นชื่อวิทยุที่ถือว่าเป็นกลไกสำคัญของรัฐ สมัยสฤษดิ์ ได้มีการสั่งให้ทหารผลิตเครื่องวิทยุจำหน่ายในราคาถูก รายการวิทยุเกิดขึ้นอย่างมาก เพื่อขยายสัญญาณปิดน่านฟ้าไม่ให้รายการวิทยุของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) แย่งชิงมวลชนไปได้

MIDNIGHT CINEMA 08 : พญาโศกพิโยคค่ำ – ที่ริมขอบของรุ่งสาง

ด้วยภาพและเสียงอันมืดมนเข้มข้น เรื่องเล่าถูกผลักออกและประสบการณ์ถูกรุนหลังมาข้างหน้า ในห้องมืดสนิท ผู้ชมได้โอกาสนั่งจ้องความมืดในภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์

‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ บทบันทึกความรื่นรมย์ที่สูญหายของ เป็นเอก รัตนเรือง

เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2564 เป็นวันครบรอบ 20 ปี หนัง ‘มนต์รักทรานซิสเตอร์’ …เป็นเอก รัตนเรือง พูดคุยผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์มาจากเชียงใหม่ เพื่อทักทายกับผู้ชมในโรงหนัง

4Kings : ความโรแมนติก และโลกของจตุราชันย์ชนชั้นกลางล่าง กับความรุนแรงที่สลายพลังในการรวมตัวกันของแรงงานไทย

สำหรับคนทั่วไปแล้วอาจไม่เคยได้ยิน 4 สถาบันช่างในหนังอย่าง กนก, บู, ประชาชลและอิน (ตามที่เรียกในเรื่อง) เพราะคนทั่วไปจะรู้จักคู่ปรับคลาสสิกแบบช่างกลปทุมวัน VS อุเทนถวาย มากกว่า

พลังนมและปากของอำแดงเหมือน : อำนาจสามัญชนที่ไปไม่สุด กับ ภาพสะท้อนความฉ้อฉลของสังคม ที่แพ้อำนาจสูงสุดในแผ่นดิน

อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) เป็นหนังยุคท้ายๆ ของเศรษฐกิจยุคทองของไทย หากมองผ่านสภาพแวดล้อมทางการเมืองก็จะเห็นว่าเกิดขึ้นหลังพฤษภาทมิฬ 2 ปี ซึ่งหลายคนคงจำภาพจุดจบของเหตุการณ์นี้ได้ดีว่า ถูกยุติด้วยการเรียกคนสำคัญเข้าเฝ้า

พร้อมแบกวงการหนังไทย และคริปโตโมเดล ของแกะดำ ‘เนรมิตรหนัง’

เนรมิตรหนัง ฟิล์ม คือค่ายที่ปูพรมซื้อสื่อโฆษณาทั่วประเทศให้หนังเรื่องแรก ‘4Kings อาชีวะยุค 90’ ทั้งบิลบอร์ด รถเมล์ รถไฟฟ้า ยันกะป๊อสองแถว

‘อโยธยา มหาละลวย’ : เรื่องเล่าจากตรอกของถนนหลักชื่อ ‘บุพเพสันนิวาส’

ฉากหลังของ ‘อโยธยา มหาละลวย’ อยู่ในช่วงรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์ คาบเกี่ยวกับช่วงเวลาในละคร ‘บุพเพสันนิวาส’ ซึ่งกำกับโดย ภวัต พนังคศิริ เหมือนกัน โลกทั้งสองใบอาจมีอะไรเชื่อมถึงกันอยู่บ้าง

สมเกียรติ์ วิทุรานิช : 12 ปี October Sonata Conservative ที่ไม่เคยเปลี่ยนหลักการ

12 ปีที่ผ่านมา แทบทุกเดือนตุลาคม October Sonata ยังคงได้รับการพูดถึงอยู่เสมอ ในฐานะบทบันทึกหลักฐานชิ้นสำคัญบนหน้าประวิติศาสตร์การเมืองไทย ที่นำเสนอในรูปของหนังรัก

ส้มป่อย : การตบตีกันของสาวเครือฟ้าและอีลำยองเวอร์ชั่นล้านนา เรื่องเล่าบนความเหลื่อมล้ำของพื้นที่เมืองและชนบท

คำว่า "กรุงเทพฯ" ถูกปาใส่หน้าผู้ชมจำนวนครั้งที่ผู้เขียนเองก็นับไม่ถ้วน จึงสรุปได้ไม่ยากนักว่า หนัง "ส้มป่อย" (2564) วางอยู่บนคู่ตรงข้ามของความเป็นกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด โดยใช้ปมในวัยเด็ก และแรงขับดันทางเพศของส้มป่อย (พิจักขณา วงศารัตนศิลป์) นางเอกเป็นตัวเดินเรื่อง

MIDNIGHT CINEMA 07 : ร่างทรง – สิ่งเก่าที่กำลังจะตาย สิ่งใหม่ที่ไม่ได้เกิด

ทีมงานสารคดีกำลังติดตามประเด็นเรื่องของร่างทรง หนึ่งในบรรดาร่างทรงที่เป็นซับเจกต์ของทีมงานคือป้านิ่ม ช่างเย็บผ้าที่อาศัยในจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสาน ที่เป็นรุ่นที่สามของร่างทรงของย่าบาหยัน ผีบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาคนในหมู่บ้าน