TAG

ไต้หวัน

อะไรคือ ‘หนังภาษาไต้หวัน’

'หนังภาษาไต้หวัน' เป็นหนึ่งในหนังกระแสหลักของไต้หวันยุคตั้งแต่หลังสงครามโลก ยืนหยัดข้ามเวลาตลอดช่วงของกฎอัยการศึกและจบสิ้นลงในปลายทศวรรษ 1970 ว่ากันว่าในช่วงเวลานั้นมีหนังถูกสร้างออกมาราวหนึ่งพันเรื่อง หนังเหล่านี้มีทุกขนบ เรียกว่าเป็นอุตสาหกรรมย่อม ๆ ในประเทศเลยก็ว่าได้โดยไม่ใช่หนังที่ถูกสนับสนุนจากรัฐ

โหยหานักขุด : เสียงสะท้อนจากโปรแกรมประกวด Asian Vision ในเทศกาล TIDF

ในช่วงเวลาวิกฤติของมนุษยชาติ ที่ความรู้สึกของการสูญเสียความไว้วางใจเริ่มส่งผลกระทบเราอย่างหนักนี้ ...วัฒนธรรม ศิลปะ วรรณกรรม ภาพยนตร์ ฯลฯ จะยังสามารถทำงานเป็นเครื่องชำระล้างจิตใจได้อยู่อีกหรือไม่? มันจะยังคงมอบความรู้สึกถึงคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความถูกต้องแก่ผู้คนเมื่อพวกเขาต้องการมากที่สุดได้หรือเปล่า?

ตื่นเพื่อที่จะฝัน: การตั้งคำถามท้องฟ้าและปมอิดิปัสใน Bodo (1993) และ รักที่ขอนแก่น (2015)

ถ้าหาก “รักที่ขอนแก่น” มีท่าทีของการพยายามทำลายอำนาจเผด็จการทหารและชายเป็นใหญ่ Bodo ก็เช่นกัน ผ่านตัวละครเพศชายจำนวนมากที่ไม่เป็นการเป็นงาน เพราะไม่มีการสู้รบจริงๆ กองทัพจึงเป็นการป้องกันศึกภายในมากกว่าศึกภายนอก

ดูอะไรในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันครั้งที่ 4 (PART 2 : SHORTS)

เราจะหาโอกาสดูสารคดีสั้นได้ยาก นอกจากพื้นที่ในเทศกาลหนังต่างๆ ก็แทบไม่มีโอกาสได้ฉายในโรงหนัง เราจึงอยากให้โปรแกรมสารคดีสั้นตั้งใจเลือกนี้ เป็นหนึ่งในทางเลือกของผู้ชมในเทศกาล

ดูอะไรในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันครั้งที่ 4 (Part 1 : Features)

อีกไม่กี่วัน เทศกาลสารคดีไต้หวันครั้งที่ 4 (Taiwan Documentary Film Festival in Thailand 2021) ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว ปีนี้มีหนังยาวเก้าโปรแกรมและหนังสั้นสามโปรแกรม โดยในสิบเรื่องมีสารคดีเจ็ดโปรแกรม และหนังเล่าเรื่องสามเรื่อง

A Sun แล้วดวงตะวันก็ฉายแสง

อาเหอ เป็นลูกชายคนเล็ก เกกมะเหรกเกเร ไม่ยอมเรียนหนังสือ คบหากับ แรดิช เพื่อนอันธพาล แล้ววันหนึ่งทั้งคู่ก็พากันไปก่อคดีร้ายแรงจนต้องขึ้นโรงขึ้นศาล พ่อของอาเหอที่เหนื่อยหน่ายกับลูกชายเหลือขอคนนี้เต็มทนจึงยินยอมให้ลูกชายถูกส่งเข้าไปดัดสันดานในสถานพินิจโดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยา อาเหอมีพี่ชายชื่อ อาห่าว ต่างกันราวฟ้ากับดิน อาห่าวทั้งเรียนเก่ง หน้าตาดี สุภาพอ่อนโยน เป็นลูกรักของพ่อ รับผิดชอบตัวเองและคนอื่นได้ดีเสมอ เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบไร้ที่ติ ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงแบ่งออกเป็นลูกฉันลูกเธออยู่กลายๆ

The Price of Democracy : รุ่งโรจน์และแตกดับในความฝันที่ยังไม่สลาย

ในบรรดาภาพยนตร์หลายสิบเรื่องที่ฉายในเทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันในไทยช่วงหลายปีมานี้ มีหลายเรื่องที่เข้าข่ายข้องเกี่ยวกับการเมืองไต้หวันและการเมืองโลก ไม่นับเรื่องอื่นๆ ที่ไม่ว่าจะเกี่ยวกับอะไร ก็ส่องสะท้อนถึงความเป็นการเมืองในเรื่องนั้นเสียหมดสิ้น ส่วน The Price of Democracy (2019, LIAO Jian-hua) อาศัยอยู่ในทั้งสองวงโคจรนั้น หนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงสถานการณ์ทางการเมืองไต้หวันตลอดครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ช่วงที่พรรคคอมมิวนิสต์ไต้หวันสิ้นอายุขัยและเจียงไคเช็คหมดอำนาจในปี ค.ศ. 1975 จนถึงยุคที่ไช่อิงเหวินก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีในปี ค.ศ....

Goodbye, Dragon Inn อดีตที่ถูกทุบทำลายในพื้นที่เมืองสมัยใหม่

หนังของไฉ้หมิงเลี่ยงให้ความสำคัญกับความแปลกแยกและโดดเดี่ยวของคนเมือง แม้ Goodbye, Dragon Inn (2003) จะจับจ้องไปยังพื้นที่เพียงแห่งเดียวคือ ‘โรงหนังที่กำลังจะปิดตัวลง’ แต่คุณลักษณะของความเป็นเมืองก็ยังคงปรากฏให้เห็นเช่นกัน

รัฐบาลไต้หวันทุ่มเงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมวัฒนธรรม

กระทรวงวัฒนธรรมของไต้หวันได้เข้าสู่เฟสที่สองของการเยียวอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเมื่อต้นเดือนเมษาที่ผ่านมา ในเฟสแรกเงินเยียวยาถูกใช้ไปกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ผู้สมัครกว่า 7 พันรายได้รับการช่วยเหลือ ภายใต้จุดมุ่งหมายที่ว่า “สนับสนุนธุรกิจ ดูแลคนงาน ปกป้องอาชีพอิสระ” ในเฟสที่สองกระทรวงวัฒนธรรมได้เพิ่มเม็ดเงินการช่วยเหลือสูงขึ้นหลายเท่าตัวที่ 5.22 พันล้านดอลลาร์ไต้หวัน ส่วนแรกเงินจำนวน 1.8 พันล้าน จะถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในส่วนของการจ่ายค่าจ้างพนักงาน เงินค่าอุปกรณ์และค่าบริหารในตลอดระยะเวลาสามเดือน แต่ละธุรกิจจะได้รับเงินสูงสุดที่ 2.5...

“เราจะรอดตายไปด้วยกัน!” : เปิดมาตรการ 5 ประเทศต่อลมหายใจวงการหนัง

วงการหนังเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบร้ายแรงจากวิกฤติโควิด-19 และรัฐบาลหลายประเทศที่เห็นคุณค่าของวงการนี้ก็ออกมาตรการเร่งด่วนเบื้องต้นมาเยียวยา ต่อไปนี้คือ 5 ตัวอย่างน่าสนใจ