TAG

อินเดีย

Laal Singh Chaddha : พระเจ้าหรือปัจเจกเป็นผู้กำหนดกันแน่?

ในวันที่ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการเมืองของอินเดียค่อย ๆ กลับมามีอำนาจต่อรองในเวทีโลกมากขึ้น ไม่ใช่ยักษ์ป่วยแบบที่เคยเป็น หนังเรื่องนี้ก็ถูกผลิตขึ้นเพื่อประกาศ "ความเป็นอินเดีย" อย่างที่พวกเขามั่นใจ...

Gangubai Kathiawadi : คังคุไบ การเมืองและพลังของโยนีเริงระบำ

หนังอินเดียที่กลายเป็นกระแสกันทั่วบ้านทั่วเมือง เห็นได้จากการคอสเพลย์เป็นคังคุไบได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายจากคนธรรมดา ผู้มีชื่อเสียงกระทั่งชนชั้นสูง แต่พวกเขาเหล่านั้นก็ถูกวิจารณ์ว่า เอาจริงๆ แล้วไม่มีใครสนใจสิทธิของ sex worker มากไปกว่าการได้แต่งตัวชุดส่าหรีงามๆ ตามกระแสหรอก

The White Tiger : เมื่อเสือขาวแหกกรงไก่ และอินเดียใหม่สวมรอยอินเดียเก่า

The White Tiger เล่าเรื่องราวของ พลราม ฮาลวัย ชายหนุ่มวรรณะต่ำจากหมู่บ้านแร้นแค้นแถบฝั่งแม่น้ำคงคา ที่ดิ้นรนไต่เต้าสร้างฐานะตัวเองขึ้นมาจนได้เป็นเจ้าของธุรกิจรถแท็กซี่ในเมืองบังกาลอร์ เมืองแห่งเทคโนโลยีและการลงทุน

Gandhi ประวัติศาสตร์ของ(อินเดีย)เขา ปัจจุบันของเรา

มีผลงานหนังของ Sir Richard Attenborough อยู่กลุ่มหนึ่งที่ไม่ผูกติดกับตัวละครคนหนึ่งคนใด แต่ใช้ตัวเหตุการณ์มาทำหน้าที่เล่าเรื่อง อย่าง Oh!, What a Lovely War (1969, สงครามหฤหรรษ์) ก็เป็นบรรยากาศกว้างๆ ที่นู่นบ้าง, ที่นี่บ้างแบบตลกหกฉาก และยิ่งพอมาถึง A Bridge...

Mirch Masala : รสชาติที่แผดแรงของ ‘พริก’ …ความทุกข์ที่ลุกโชนเป็นโกรธแค้นของ ‘สตรีเพศ’ และ ‘คนอื่น’

ณ แผ่นดินอันเวิ้งว้างร้างไกล ทหารหนุ่มหลายนายกำลังควบม้าไล่ล่าหญิงสาวนางหนึ่งอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยมีหลากองค์ประกอบแวดล้อมในเหตุการณ์นี้ที่ช่วยขับเน้นให้ ‘ความทุกข์ตรมขมไหม้’ บนใบหน้าของหญิงสาวยิ่งกระจ่างชัดและทวีความเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนระอุของอุณหภูมิที่มาจากแสงแดดเจิดจ้าในเวลากลางวัน หรือรายละเอียดอันแสนจัดจ้านของชุดส่าหรีที่ทั้งรัดรึงและพริ้วไหวอยู่บนเรือนกายของเธอ รวมถึงสีแดงฉานของ ‘พริก’ จำนวนมหาศาลที่ถูกวางกองแผ่หราไว้บนลานกว้างสุดลูกหูลูกตานั้น ...จนดูราวกับทะเลเพลิงที่กำลังลุกโชนแผดเผาไปทั่วทุกองคาพยพ -- ฉากดังกล่าวคือหนึ่งในภาพจำสุดคลาสสิกของ Mirch Masala หนังอินเดียภาษาฮินดีปี 1987 ของผู้กำกับ เคตาน เมห์ตา...

สัมพันธ์จีน – อินเดียในมิติธุรกิจภาพยนตร์

เช้าของวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา สำนักข่าวทั่วโลกต่างรายงานข่าวการปะทะแบบไร้อาวุธของทหารจีนและอินเดีย ที่พรมแดนบริเวณเทือกเขาหิมาลัย ผลจากการปะทะกันทำให้ทหารอินเดียเสียชีวิต 3 คน ก่อนที่ต่อมาจำนวนยอดผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 20 คน ส่วนทหารจีน แม้ว่าจะไม่มีรายงานออกอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีรายงานที่ไม่ได้การยืนยันว่า ทหารจีนเสียชีวิตประมาณ 40 คน ข่าวดังกล่าวสร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เพราะแม้ว่าจีนและอินเดีย...

Business Update : เกาหลีเปิดโรง, อินเดียเปิดกอง และก้าวต่อไปของ Tik Tok

ท่ามกลางบรรยากาศที่คลี่คลายของภาวะโรคโควิด ธุรกิจภาพยนตร์ก็ยังคงเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดนิ่ง แม้ว่าบางภาคส่วนจะต้องปรับตัวเข้ากับมาตรฐานในการดำเนินชีวิตใหม่ก็ตาม เรามาติดตามความเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมากัน Post Covid screening : สัญญาณบวกที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ว่าหลายประเทศจะยังคงปิดโรงหนังอยู่ แต่ก็มีบางประเทศที่เริ่มต้นฉายหนังมาระยะหนึ่งแล้ว เช่น ประเทศเกาหลีใต้ที่บริษัทจัดจำหน่ายหลายแห่งนำหนังทั้งเก่าและใหม่มาฉายเพื่อกระตุ้นให้ผู้ชมกลับมาโรงอีกครั้ง ก่อนที่จะปูพรมฉายหนังใหญ่ในช่วงซัมเมอร์ แต่ดูเหมือนผลตอบรับยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมา รายได้ของหนังที่เปิดตัวนั้นทำได้เพียง 7% ของรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยหนังที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งก็คือ The...

Business Update : ศึกสตรีมมิ่งในอินเดีย & มาตรการอุ้มหนังในจีน

เมื่อบริษัทสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ในอินเดียควบรวมกับ Disney Plus และรัฐบาลจีนอุ้มธุรกิจโรงหนังในช่วงโควิด-19

อีร์ฟาน ข่าน พระเอก The Lunchbox เสียชีวิตแล้ว

อีร์ฟาน ข่าน (Irrfan Khan) นักแสดงชาวอินเดียที่เป็นที่รู้จักของคนดูหนังทั่วโลกจาก Slumdog Millionaire และ The Lunch Box เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งและอาการติดเชื้อในลำไส้ ขณะอายุได้​ 53​ ปี อีร์ฟาน ข่านเริ่มต้นอาชีพการแสดงหลังจากย้ายมามุมไบในปี 1984 โดยปรากฏตัวในละครทางโทรทัศน์หลายเรื่อง ปี...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 1) …ไม่ใช่แค่ไทย อินเดียก็มี!

เคยไหมที่สงสัยว่าทำไมหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมมาฉายในจังหวัดของเราเสียที แล้วพอถามไปที่เจ้าของหนังบ้าง โรงหนังบ้าง คำตอบหนึ่งซึ่งอาจได้ยินบ่อยๆ และสร้างความฉงนมากๆ โดยเฉพาะถ้าเราไม่คุ้นเคยกับอุตสาหกรรมนี้ ก็คือ “สายหนังไม่อยากเอามาฉาย” ใครหรือคือ “สายหนัง” ที่ว่านั้น? นิยามสั้น ๆ ก็คงหมายถึง รูปแบบการจัดจำหน่ายหนังประเภทหนึ่งที่ “ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละภูมิภาค” มีบทบาทสำคัญในการพาหนังจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายส่วนกลาง ไปสู่ผู้ชมในพื้นที่ที่ตนเองดูแล แต่ก่อนจะไปพูดกันถึงสายหนังของเมืองไทย เรามารู้จักที่มาของ “ระบบสายหนัง”...

Manto พูดออกมาเถอะ มันเป็นหน้าที่ของคุณ

เมื่อสองปีที่แล้วผมมีโอกาสได้พาทีมงานรายการ Entertainment Now ไปสัมภาษณ์ผกก. นันดิตา ดัส ที่เทศกาลหนังปูซาน เสียดายที่วันนั้นเราไปถึงเทศกาลไม่ทันได้ดู Manto หนังของเธอที่ฉายในเทศกาล แต่เราได้ดู In Defence of Freedom หนังสั้นที่เป็นปฐมบทของ Manto เลยพอจะจับต้นชนปลายได้ว่ามันเป็นหนังเกี่ยวกับ ซาดัส...