Home Review Film Review โลกทั้งใบให้นายคนเดียว บนจุดสูงสุดของหนังวัยรุ่นไทยยุคฟองสบู่ เรื่องเล่าความพังพินาศของครอบครัวเพราะ(ยัง)ไม่มี 30 บาทรักษาทุกโรค

โลกทั้งใบให้นายคนเดียว บนจุดสูงสุดของหนังวัยรุ่นไทยยุคฟองสบู่ เรื่องเล่าความพังพินาศของครอบครัวเพราะ(ยัง)ไม่มี 30 บาทรักษาทุกโรค

โลกทั้งใบให้นายคนเดียว บนจุดสูงสุดของหนังวัยรุ่นไทยยุคฟองสบู่ เรื่องเล่าความพังพินาศของครอบครัวเพราะ(ยัง)ไม่มี 30 บาทรักษาทุกโรค

หนังเรื่องนี้ฉายในปี 2538 ก่อนที่ฟองสบู่เศรษฐกิจไทยจะแตกเพียง 2 ปี ถือว่าเป็นช่วงที่ชนชั้นกลางไทยกำลังชื่นมื่นกับความสำเร็จทางเศรษฐกิจของตัวเอง และดื่มด่ำบรรยากาศที่เชื่อกันว่าไทยจะก้าวไปเป็นเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 ตามฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวันและสิงคโปร์ และไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว

รายได้ที่พุ่งไปถึง 55 ล้านบาท นับว่าทำลายสถิติทั้งหลายของหนังไทยที่ผ่านมา ซึ่งจะถูกโค่นในอีก 2 ปีต่อมาจากเรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง ที่ทุบสถิติไปด้วยตัวเลข 75 ล้านบาท

ห้างสรรพสินค้า รถวอลโว่ บีเอ็มดับเบิ้ลยู เป็นสัญญะของความมั่งคั่งที่ปรากฏอยู่ในหนัง เช่นเดียวกับ นักเรียนมัธยมที่ถือเป็นตัวแทนความหวังของครอบครัว แบบที่เราพบได้ในหนังวัยรุ่นมัธยมในช่วงที่ผ่านมาอย่าง อนึ่งคิดถึงพอสังเขป กระโปรงบานขาสั้น ฯลฯ

แต่โลกทั้งใบฯ ไม่ได้เล่าภาพอันงดงามของชนชั้นกลางผู้สุขสมแบบครอบครัวของ “ป้อน” (สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา) ที่อยู่ในครอบครัวที่มีธุรกิจโรงน้ำแข็ง แต่ชี้ให้เห็นชนชั้นกลางล่างที่ดิ้นรน เพราะไม่ได้อยู่ในวิชาชีพที่ทำเงิน อู่ซ่อมรถที่เรียกค่าซ่อมที่รวมอะไหล่ในราคาพันบาทยังถูกต่อราคา “ไม้” (เต๋า สมชาย เข็มกลัด) และ “เม่น” (ปราโมทย์ แสงศร) เติบโตมาในอู่ของพ่อที่ระยะหลังเริ่มเจ็บป่วย กว่าพ่อจะไปโรงพยาบาลก็จนอาการทรุดและล้มในห้องน้ำ

ก่อนนโยบายของหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์จะถูกทำให้เป็นจริงด้วยนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค โดยรัฐบาลไทยรักไทย ครอบครัวไทยจำนวนมากถูกหมัดน็อกด้วยค่ารักษาพยาบาลที่สูงลิ่ว คนที่เดือดร้อนน้อยก็ได้แก่ ครอบครัวที่มีเงินถุงเงินถัง และข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจที่มีสวัสดิการที่ครอบคลุมทั้งชั้นพ่อ-แม่ และชั้นลูก ครอบครัวของไม้ไม่โชคดีเช่นนั้น เมื่อพบว่าค่ารักษาพยาบาลของพ่อเขาสูงถึงหลักแสน คำด่าที่ออกมาจากปากของ “โบ้” (อรุณ ภาวิไล) ที่ว่า “โรง’บาลแม่งเหี้ย ใครไม่มีตังค์แม่งไม่สน” เป็นคำพูดแทนใจได้ดี

โลกทั้งใบฯ จึงชี้ให้เห็นใต้มายาภาพความเจริญของสังคมไทยที่ไม่ได้มีแต่ความสวยงามของช่วงยุคทองของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีครอบครัวไม่น้อยที่ยังต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมที่มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่มีสวัสดิการที่ดีมากพอ จนในที่สุดความจนตรอกมันทำให้คนเลือกทางเดินสู่เส้นทางอาชญากรรมเพื่อแลกกับความอยู่รอด ในที่นี้ก็คือ การร่วมกับแก๊งลักรถ ไม้ตัดสินใจเข้าร่วมด้วย เพราะเขาต้องการเงินก้อนมาเป็นค่ารักษาพ่อ แต่ไม่รู้ว่า เมื่อขึ้นหลังเสือก็ยากที่จะหาทางลงได้ง่ายๆ การร่วมลักรถจึงเป็นการลงมือเพื่อช่วยเหลือพ่อเขาที่เจ็บป่วยอยู่

โลกทั้งใบฯ จึงชี้ให้เห็นใต้มายาภาพความเจริญของสังคมไทยที่ไม่ได้มีแต่ความสวยงามของช่วงยุคทองของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังมีครอบครัวไม่น้อยที่ยังต้องเผชิญหน้ากับชะตากรรมที่มาจากโครงสร้างทางสังคมที่ไม่มีสวัสดิการที่ดีมากพอ จนในที่สุดความจนตรอกมันทำให้คนเลือกทางเดินสู่เส้นทางอาชญากรรมเพื่อแลกกับความอยู่รอด

การร่วมแก๊งลักรถของเม่น อาจจะเทียบได้กับสังคมความเสี่ยงที่ชนชั้นกลางทั่วไปประสบอยู่ด้วย คำถามที่อาจจะย้อนไปถามผู้ชมก็คือ หากคุณเป็นเม่น คุณจะหาทางออกอย่างไร ถ้าไม่ใช่เป็นการร่วมกับแก๊งลักรถ การหาเงินแสนในเวลาอันสั้น ในสถานะที่ไม่มีคอนเนกชันใดๆ เราจะหันหน้าไปพึ่งพาใครได้

เมื่อไร้สวัสดิการและความช่วยเหลือ ทุกครอบครัวก็จึงมีความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับ ยกเว้นครอบครัวที่มีเงินและความรู้เรื่องการลงทุนด้านการทำประกันสุขภาพ (ซึ่งขณะนั้นเข้าใจว่า ยังไม่แพร่หลายเท่าประกันชีวิต)

หนังให้ภาพของเม่น เป็นเด็กมัธยมผู้ไม่ยอมโต และไม่รู้เรื่องราวใดๆ ในบ้าน เพียงแต่เล่นสนุกและจีบสาวไปวันๆ แทบไม่ต้องรับผิดชอบ ในด้านหนึ่งก็คือภาพตัวละครในหนังนักเรียนช่วงที่ผ่านมาที่เคยทำเงินและเป็นหนังในดวงใจของวัยรุ่นช่วงนั้น เช่นเรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้ (2535), โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋ (2535), อนึ่งคิดถึงพอสังเขป (2535), ฝากฝันไว้เดี๋ยว จะเลี้ยวมาเอา (2535), สะแด่วแห้ว (2535), กระโปรงบานขาสั้น (2536) ฯลฯ บทบาทของเม่นที่กลายเป็นเพียงพระรอง และเป็นน้องที่ไม่เอาไหนจึงอาจเป็นสัญลักษณ์ว่าหนังนักเรียนมัธยมแบบเดิมนั้นไม่ได้ตอบโจทย์ตลาดของหนังอีกแล้วก็เป็นได้

ส่วนป้อน ก็ให้ภาพนักเรียนหญิงมัธยมที่ชอบพอกับเด็กช่างด้วยความที่เม่นเป็นผู้ชายที่พึ่งพาได้ การยอมรับไม้ของป้อนเป็นจริงเป็นจัง ถึงขนาดแสดงความกล้าหาญด้วยการบุกไปถึงสถาบันการศึกษาของเม่นที่เต็มไปด้วยผู้ชายที่มองจากผู้คนภายนอกแล้ว ถือว่าไม่น่าไว้วางใจ เพราะที่นั่นคือ ชุมนุมของพวกเด็กที่มีปัญหา แต่สำหรับเธอแล้ว เธอไม่สนใจอะไร และไปเพื่อบอกลาและบอกกับไม้ว่า “เราไม่ได้รักใครง่ายๆ อย่างที่นายคิด” อันเป็นวรรคทองของหนังเรื่องนี้

ขณะที่ไม้ เป็นนักเรียนช่างที่โดดเรียนเพราะต้องมาช่วยอู่ที่บ้าน เป็นพี่ชายผู้แสนดีที่เสียสละให้ครอบครัว ปกป้องน้องชายให้พ้นจากการรุมกระทืบ แม้กระทั่งผู้หญิงที่ตนรัก ก็ยังจะยอมหลีกทางให้กับน้องชายเสียด้วย แม้จะเรียนช่าง แต่ไม้ก็มักจะขลุกตัวเองอยู่กับอู่ซ่อมรถของพ่อ เขาขาดเรียนบ่อยๆ เพื่อทำหน้าที่ลูกชายที่ดี ที่น่าสนใจก็คือ ภาพของเด็กช่างในเรื่องนี้ ไม่ได้มีมิติของการใช้ความรุนแรงเลย ฉากไล่ทำร้ายก็เกิดจากความเข้าใจผิดของจิ๊กโก๋ในซอยมากกว่าจะเป็นการหาเรื่องกันของสถาบันเด็กช่าง ยังไม่นับว่า ตอนที่ป้อนเข้าไปหาไม้ในสถาบัน ภาพลักษณ์ของนักศึกษาช่างกลับเป็นวัยรุ่นทั่วไปที่ไม่ได้ดูมีพิษสง เถื่อน โหดร้ายแบบที่สื่อและชนชั้นกลางทั่วไปเข้าใจ

ที่น่าสนใจก็คือ ภาพของเด็กช่างในเรื่องนี้ ไม่ได้มีมิติของการใช้ความรุนแรงเลย ฉากไล่ทำร้ายก็เกิดจากความเข้าใจผิดของจิ๊กโก๋ในซอยมากกว่าจะเป็นการหาเรื่องกันของสถาบันเด็กช่าง ยังไม่นับว่า ตอนที่ป้อนเข้าไปหาไม้ในสถาบัน ภาพลักษณ์ของนักศึกษาช่างกลับเป็นวัยรุ่นทั่วไปที่ไม่ได้ดูมีพิษสง เถื่อน โหดร้ายแบบที่สื่อและชนชั้นกลางทั่วไปเข้าใจ

หนังเรื่องนี้จึงถือว่าฉีกแนวออกมาจากเรื่องเดิมๆ โดยเล่าผ่านความสัมพันธ์ของนักเรียนช่างยอดกตัญญู กับ นักเรียนมัธยมลูกสาวเจ้าของโรงน้ำแข็งผู้มีอันจะกิน โดยมีน้องชายสุดที่รักผู้เอาแต่ใจของพระเอกเป็นตัวละครที่สร้างปมสำคัญขึ้นมา

ครอบครัวนี้มีพ่อเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ไม่มีแม่อยู่ในบ้าน จะเพราะว่าหย่าร้าง หรือตายจากก็ไม่แน่ใจนัก

แต่เอาเข้าจริง พ่อที่แสดงโดยรุจน์ รณภพ ไม่มีใครรู้เลยด้วยซ้ำว่าชื่ออะไร เช่นเดียวกับพ่อของป้อนก็ไม่มีชื่อ เพราะเรียกกันแต่คำว่า พ่อ เท่านั้น พ่อที่ปรากฏอยู่ในเรื่องจึงดำรงตนอยู่เหมือนสัญลักษณ์ขององค์ประกอบหนึ่งของครอบครัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเมื่อหนังมองจากมุมมองของวัยรุ่น

อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นว่า การเขียนบทให้พ่อของไม้และเม่น ประสบทุพพลภาพจากโรคภัย แสดงให้เห็นว่า บทบาทพ่อที่ควรจะเป็นนั้น ไม่ใช่เสียแล้ว คนที่จะทำหน้าที่พ่อให้บรรลุ ก็คือ ไม้ ไม้เข้ามากุมบทบาทสำคัญในฐานะหัวหน้าครอบครัวเมื่อพ่อเข้าโรงพยาบาล และต้องเป็นคนตัดสินใจว่าจะหาเงินมารักษาพ่อยังไง

วันที่พ่อเข้าโรงพยาบาลรอบที่ 2 และเป็นวันที่เสียชีวิต อาจถือว่าเป็นวันที่ไม้ได้ก้าวเข้ามาเป็นพ่อของบ้านอย่างเต็มตัว และวันนั้นเองเป็นจุดแตกหักของไม้กับเม่น หลังจากเม่นรู้ความจริงว่า ไม้กับป้อนก็มีใจให้กันโดยที่เขาไม่รู้มาก่อน และหลงเข้าใจว่าไม้แย่งป้อนไปจากเขา การขึ้นสรรพนามกู-มึง และผรุสวาทถึงขนาด “ไอ้พี่เหี้ย” กับพี่ชายมันจึงเป็นการประกาศความเป็นศัตรูทางวาจา เผยความสัมพันธ์แบบทั้งรักทั้งเกลียดออกมานับแต่นั้น

อย่างไรก็ตาม ในตอนท้ายของเรื่อง เม่นถูกโต (สุรศักดิ์ วงษ์ไทย) จับเป็นตัวประกัน ก็เป็นไม้เองที่เข้าไปช่วยเหลือน้องโดยไม่กลัวอันตรายใดๆ ฉากที่สองพี่น้องกอดกันแล้วเม่นพร่ำเพ้อว่า “พ่อตายแล้ว พี่ไม้” นั่นหมายถึงการยอมรับว่าพ่อตายแล้วจริงๆ และอาจหมายถึงการยอมรับไม้ ในฐานะคนที่มาทำหน้าที่เป็นพ่ออีกด้วย

อันที่จริง อู่ซ่อมรถ ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่รถเป็นใหญ่ ในเรื่องนี้แทบไม่ปรากฏการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ฉากเปิดของเรื่องก็เป็นรถยนต์ของบ้านนางเอก ฉากหวานของไม้และป้อน ก็ล้วนอาศัยรถกะป๊อเป็นตัวเล่าเรื่องและแสดงความเคลื่อนไหวของเรื่อง ฉากโจรกรรมรถ ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า รถยนต์เป็นของมีค่า เป็นตัวแทนความมั่งคั่งของผู้คน อู่ซ่อมรถของพ่อไม้ จึงเป็นกิจการที่รับใช้สังคมที่รถเป็นใหญ่ที่อยู่ท่ามกลางความรกรุงรังของอะไหล่ กลิ่นน้ำมันที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ แผงวงจรที่ดูยุ่งเหยิง ซึ่งเป็นฉากที่ตัดกับความเจริญของยุคสมัยอย่างห้างสรรพสินค้า หรือสนามบินดอนเมือง

ฉากจบที่สนามบินดอนเมือง ได้แสดงให้เห็นถึงความใฝ่ฝันของคนชั้นกลางยุคนั้นที่จะส่งลูกหลานไปเรียนต่อเมืองนอก ต่างประเทศคือความศิวิไลซ์ แม้ว่าป้อนจะเป็นชนชั้นกลางที่มีอันจะกินในกรุงเทพฯ แต่แค่นี้ก็ยังไม่พอสำหรับเป้าหมายชีวิตที่ครอบครัวของเธอหวังจะให้เป็น

ฉากแถมที่มึ จอนนี่-หลุยส์ แร็พเตอร์ปรากฏในสนามบินดอนเมือง ในอีกด้านก็แสดงให้เห็นถึง ความเป็นฝรั่งและลูกครึ่งที่มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย ทั้งในมิติของวงการบันเทิง นายแบบ นางแบบ นักแสดง ศิลปิน ยังไม่ต้องนับถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมอเมริกันอย่างฮอลลีวู้ด MTV NBA แมคโดนัลด์ การจะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วของไทยจึงมิได้เป็นห่านที่บินไปตามจ่าฝูงอย่างญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เปิดรับความเป็นอเมริกันและฝรั่งได้อย่างไม่เคอะเขิน 

ลูกบอลขนาดลูกเทนนิสที่มีลักษณะเป็นลูกโลกที่ไม้เอาให้ป้อนไว้ จึงแสดงให้เห็นถึงยุคที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ที่คนสมัยนั้นเชื่อกันว่า โลกมันไร้พรมแดนเพราะโอกาสเปิดทางเศรษฐกิจ หลังจากที่สงครามเย็นมันจบลงไปพร้อมกับเทคโนโลยีและความเป็นไปได้ใหม่ๆ เข้ามา

การคืนลูกบอลให้กับไม้ จึงคล้ายกับจะบอกว่า โลกของไม้ กับ โลกของป้อนนั้นมันอยู่คนละโลก โลกของไม้มันเล็กเกินไปเสียแล้ว เมื่อเทียบกับป้อนที่จะย้ายตัวเองไปอยู่อีกซีกโลกหนึ่ง

https://www.youtube.com/watch?v=RXVoNi-aMy8

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here