Film Review

จอมโหดมนุษย์ซีอิ้ว+ : เมื่อภาพยนตร์พักผ่อนในเวลาว่าง

ชายหนุ่ม 3 คนนั่งถองเหล้ากันอยู่ที่ชานบ้านในยามค่ำคืนในวันว่าง นี่ดูเป็นการสังสรรค์ประจำสัปดาห์หรือเดือนของเพื่อนกลุ่มนี้ พวกเขาหน้าแดงกึ่ม ๆ ประหนึ่งเริ่มเมาได้ที่ พูดคุยกันด้วยเรื่องราวที่จับหาสาระได้ยากพอ ๆ กับหาแท็กซี่คันว่างที่จะรับเราในคืนวันศุกร์ที่ฝนตก หัวข้อสนทนาเดินทางไปมาจากเรื่องเพื่อนในกลุ่ม พูดเรื่องวิธีการพูด เรื่องการเลี้ยงดูลูก การดูแลพี่น้อง ความเมามายทำให้เราไม่แน่ใจว่าเราจะถือบทสนทนานี่จริงจังเพียงไหนและเสียงอื้ออึงทำให้คนดูบางส่วนต้องพึ่งพาซับไตเติ้ลอังกฤษแม้ว่าหนังจะเป็นภาษาไทยก็ตาม กล้องส่ายไหวระยะแคบจับจดเพียงใบหน้าของตัวละครที่พร้อมจะหลุดพริ้วหล่นหายไปจากขอบเฟรมยิ่งทำให้ตัวหนังแลดูเหมือนงานโฮมวิดีโอที่เพื่อน ๆ ถ่ายเล่นกันก่อนตอนเมา แม้ความเข้มข้นทางอารมณ์ของบทสนทนาจะทบทวีขึ้นเรื่อย...

The Half of It จดหมาย(แอบ)สารภาพรัก

ภายใต้หน้าหนังเรียบเชียบคล้ายจะตามสูตรของมัน หนังแนวก้าวพ้นวัย (coming-of-age) เรื่องนี้กลับมีความโดดเด่นน่าสนใจอยู่หลายประการที่ควรค่าแก่การพูดถึง ตั้งแต่การเล่าเรื่องความรักวัยรุ่นเอเชียนอเมริกันที่เป็นเควียร์ ไปจนถึงการอ้างอิงถึงศิลปะและวรรณคดีที่อัดแน่นมาเต็มเรื่อง

10 สารคดีจาก Visions du Réel 2020 ที่เราอยากให้คุณได้ดู

แม้เทศกาล Visions du Réel จะจบลงแล้ว แต่เราก็ขอรวบรวมหนังที่เราได้ดูในเทศกาลผ่านโรงหนังเสมือนออนไลน์ในช่วงเทศกาลมาแนะนำไว้ เพราะเราเชื่อเหลือเกินว่าสารคดีเหล่านี้จะเป็นชื่อที่คุณรู้จักและได้ยินโลกภาพยนตร์กล่าวถึงเรื่อยไปในอนาคตอันใกล้

Sweet Emma, Dear Böbe

ฮังการีในยุคที่คอมมิวนิสต์ล่มสลายและอิทธิพลของสงครามเย็นกำลังกัดกินไปทั่วยุโรป เอ็มมา (โยฮันนา เตอร์ สเตจ) กับ โบเบ (อีนิคุ บอร์ชซ็อค) หญิงสาวที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยเด็กและย้ายมาอยู่ในบูดาเบส เมืองหลวงของฮังการีเพื่อแสวงหาโอกาสอันดีในชีวิตด้วยการเป็นคุณครูสอนภาษารัสเซียให้โรงเรียนมัธยม และต้องเช่าหอพักคับแคบของบรรดาคุณครูอยู่ด้วยกันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย หากแต่การณ์กลับพลิกคว่ำเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ภาษารัสเซียไม่ใช่ภาษาที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกต่อไป ทั้งเอ็มมาและโบเบถูกสั่งให้ไปเรียนภาษาอังกฤษเพื่อนำมาใช้สอนนักเรียน ท่ามกลางบรรยากาศการถกเถียงอันเคร่งเครียดของเหล่าคุณครูในห้องพักครูที่หวาดหวั่นต่อสังคมแบบเสรีนิยมจะทำให้นักเรียนเหิมเกริมและไม่ฟังผู้ใหญ่ มิหนำซ้ำ เอ็มมายังมีปัญหาชีวิตรักที่ชวนเจ็บปวดเมื่อเธอลอบเป็นชู้กับครูใหญ่ของโรงเรียนที่ไม่อาจตัดใจเลิกกับภรรยาและครอบครัวได้ เธอจึงต้องอยู่โยงเช่นนี้ในสถานะเมียเก็บต่อไป นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ซาโบ -ผู้กำกับ-...

Circus of Books

เธอได้มาเรียนรู้ทีหลังว่าตอนเด็กเธอไม่รู้อะไรเกี่ยวกับพ่อแม่เลย นอกจากเรื่องว่าแม่เป็นคนเข้มงวด เคร่งศาสนา และเป็นผู้นำของบ้านที่มีลูกบ้านเป็นพ่อ ผู้ชายที่ร่าเริงที่สุดในบ้าน ลุงหัวล้านใจดีที่ทุกคนรัก กับพี่ชายและน้องชายที่รักกันดีไม่มีตีกัน แม่พาเธอไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ ขณะที่พ่อยักไหล่ใส่ศาสนา เวลาเพื่อนๆถามว่าพ่อแม่เธอทำอะไรเธอตอบว่า อ๋อที่บ้านเปิดร้านหนังสือ เวลาไปที่ร้านแม่จะบอกให้เธอห้ามมองตรงนั้นตรงนี้ เดินก้มหน้ารีบมารีบไป เธอไม่รู้อะไรเลยในตอนนั้น จนเมื่อบรรดาเพื่อชาวเกย์สายอาร์ตของเธอถามว่า ร้านที่ว่าชื่ออะไร? และเธอตอบว่า Circus of Books...

Ema

มันเริ่มต้นด้วยการเต้นในสตูดิโอขนาดใหญ่หรูหรา บนเวทีที่ผู้ชมยืนรายล้อมมีนักเต้นหลายสิบชีวิตกำลังเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกออกแบบมาจากหัวหน้าคณะที่ยืนมองความเป็นไปอย่างเคร่งเครียด เธอยืนอยู่กึ่งกลางเวทีที่มีภาพดวงอาทิตย์บนจอมหึมาเป็นฉากหลัง ดาวฤกษ์ที่กำลังเผาไหม้ตัวเองเหมือนกับเธอ นี่คือหนังที่มีชื่อเธอเป็นชื่อเรื่อง นี่คือหนังเกี่ยวกับเธอและผู้คนที่หมุนวนโคจรอยู่รอบตัวเธอ เธอคือดวงอาทิตย์ดวงนั้น เธอชื่อเอม่า เอม่าเป็นนักเต้นอยู่ในคณะของแกสตองสามีเธอที่เป็นนักออกแบบท่าเต้น โดยทั้งคู่อายุห่างกันสิบสองปี และพวกเขาไม่สามารถมีลูกได้จึงรับโปโลบุตรบุญธรรมมาเลี้ยง ในเหตุการณ์หนึ่งที่หนังไม่ได้แสดงภาพให้เราเห็น โปโลจุดไฟเผาบ้านเป็นเหตุให้พี่สาวของเอม่าถูกไฟคลอกใบหน้าไปครึ่งซีก เอม่าและแกสตองตัดสินใจคืนลูกชายกลับสู่สถานรับเลี้ยงเพื่อให้เขาไปอยู่กับครอบครัวใหม่ ท่ามกลางชีวิตแต่งงานที่กำลังจะพังทลาย เอม่ารวมกลุ่มกับสาวๆ ในคณะเต้นเพื่อชิงตัวลูกชายกลับคืนมา โดยเริ่มต้นตีสนิทและมีความสัมพันธ์อย่างลับๆ กับคู่สามีภรรยาที่กำลังรับเลี้ยงโปโลอยู่ นี่เป็นผลงานเรื่องที่แปดจากผู้กำกับชาวชิลี ปาโบล...

In Comparison

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นับเป็นรุ่งอรุณทางความคิดว่าด้วยทัศนานิยม (visualism) ในการสร้างองค์ความรู้อันได้แก่วิทยาศาสตร์และสาขาวิชาต่างๆ เพื่อการทำความเข้าใจสังคม งานศิลปะถูกแยกออกจากงานฝีมือ เพราะถือว่างานช่างเป็นของชนชั้นต่ำที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสุนทรียศาสตร์ และนี่ก็มาพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมที่เน้นการแสดงสินค้ากระตุ้นเร้าใจให้คนอยากจับจ่ายใช้สอย การควบคุมการมองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทการสร้างสถาบันและระเบียบวินัย (discipline) นับตั้งแต่โรงเรียน โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงองค์กรต่างๆ กฎระเบียบของการควบคุมผัสสะอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมองจึงถูกสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นห้ามกินอาหาร ห้ามสัมผัส ห้ามส่งเสียงดัง...

The Three Disappearances of Soad Hosni

หนังเริ่มต้นด้วยบทสนทนาของหญิงสาวนักแสดงคนหนึ่งกับชายที่อยู่นอกจอ เขาพยายามถามเธอว่าเกิดอะไรขึ้น เธอบอกว่าเธอจำอะไรไม่ได้เลย เขาเร่งเร้า นึกให้ออกสิ เธอมองเห็นอะไร นึกถึงอะไรก็ได้ เธอพยายามนึก เราจึงเริ่มเห็นภาพที่เธอกำลังออกวิ่ง วิ่งออกไปอย่างไร้จุดหมาย มีคนพยายามเรียกชื่อเธอ มากมายหลายนับสิบชื่อต่างวนเข้ามา จนไม่รู้ว่าชื่อไหนคือชื่อที่แท้จริงของเธอกันแน่ ภาพตัดสลับจากหลากหลายเหตุการณ์ บ้างเธอก็ใส่ชุดทะมัดทะแมง บ้างเธอก็แต่งตัวแบบหญิงสาวสวยสะ บ้างก็เป็นภาพขาวดำ บ้างก็เป็นสี ปะปนเหมือนความทรงจำที่ปะติดปะต่อกันอย่างไม่สมบูรณ์...

ตัดหางเสือปล่อยวัด: 6 สิงห์ที่อยากให้คุณดูแทน Tigertail

Tigertail (2020) คือหนัง Netflix Originals ที่เพิ่งออนแอร์ไปเมื่อวันที่ 10 เมษายน หลายคนพูดถึงและตั้งตารอดูตั้งแต่วันที่โปสเตอร์หนังโผล่ขึ้นมาในหน้าเมนู Latest ทั้งจากโปรไฟล์ว่านี่คือผลงานกำกับหนังยาวเรื่องแรกของ Alan Yang หนึ่งในครีเอเตอร์ของซีรี่ส์ Master of None (2015-ปัจจุบัน, ร่วมกับ...

The Mudguard and A Lonely Monkey

ในบทความ กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่าน “จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ” โดย ชาตรี ประกิตนนทการ เสนอให้เห็นถึงกระบวนการสร้างรัฐ (state formation) ผ่านโครงการระยะยาวของชนชั้นนำสยามในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 ที่พยายามสำรวจและรวบรวมข้อมูลศิลปวัตถุ รวมถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดเครื่องมือของรัฐที่เป็นองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ชาตรีเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าจินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ ซึ่งกลุ่มสยามหนุ่มที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐ (state transformation) จากรัฐจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งในยุคสมัยของพระองค์มีการเปลี่ยนผ่านโลกทัศน์ที่มีต่อศิลปวัตถุ...