Film Review

Crip Camp: A Disability Revolution ความพิกลของความไม่พิการ

ในช่วงรอยต่อทศวรรษ 70’s และ 80’s เคยมีกลุ่มคนพิการราวแปดสิบคนล้อมกรอบกันเป็นวงกลมเพื่อปิดถนนเส้นหนึ่งจนทำเอาการจราจรทั่วนิวยอร์คเป็นอัมพาต และแกนนำกลุ่มเดียวกันนี้เองเคยรวบรวมกลุ่มผู้พิการประท้วงรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข การศึกษาและสวัสดิการต่อเนื่อง 24 วันเพื่อกดดันให้มีการลงนามในข้อตกลงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้พิการทั่วสหรัฐอเมริกา

Death to 2020 : ขยี้มุกเอาใจมิลเลนเนียล แม้นักวิจารณ์ไม่ปลื้ม

หากจะกล่าวว่า 2020 เป็นปีที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ คงจะไม่ผิดนัก ระดับความเลวร้ายของมันก็แค่น้องๆ สงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้นเอง ด้วยความร้ายกาจของปีอันน่าจดจำ (ในทางลบ) ที่ว่านี้ คนกลุ่มหนึ่งจึงสร้าง mockumentary หรือสารคดีแนวเสียดเย้ยขึ้นมาเพื่อล้อเลียนมัน และผลที่ได้ออกมาก็คือ Death to 2020 ซึ่งนักวิจารณ์สื่อนอกทั้งหลายไม่ค่อยปลื้มนัก

Pieces of a Woman ที่ทางของความสูญเสีย

มันอาจจะเป็นหนังที่สร้างความรู้สึกสั่นสะเทือนและสัมผัสได้ถึงความสูญเสียอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะมันว่าด้วยการเกิดและการตายที่ทิ้งห่างกันในเวลาไม่ถึงนาที ผ่านเรื่องราวของ มาร์ธา (วาเนสซา เคอร์บี้) หญิงสาวที่กำลังคลอดลูกคนแรกของชีวิตในบ้านตัวเองโดยมี ฌอน (ไชอา ลาบัฟ) สามีที่ทำงานเป็นพนักงานขุดเจาะสะพานและ อีวา (มอลลี พาร์เกอร์) นางพยาบาลผดุงครรภ์เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด

Memories of Murder ความทรงจำของการร่วมกันฆ่า ความทรงจำร่วมของการฆ่า

ในช่วงกลางทศวรรษ 1980's โมงยามแห่งความโกลาหลของประเทศที่กำลังเดินหน้าเปลี่ยนตัวเองจากประเทศเผด็จการเบ็ดเสร็จไปสู่ประชาธิปไตยอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เกิดคดีฆาตกรรมขึ้นในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งของเกาหลีใต้ ผู้ตายเป็นหญิงสาว เหยื่อสวมชุดแดง มือถูกมัดไพล่หลังและศีรษะถูกครอบไว้ด้วยกางเกงชั้นในของเธอเอง ก่อนที่ศพจะถูกนำไปทิ้งไว้ในท่อน้ำ นายตำรวจเจ้าของคดีเป็นตำรวจท้องถิ่นทึ่มๆ คนหนึ่ง ในเมืองเล็กๆ ที่มีชุมชนแรงงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนเข้าออกตลอดเวลา มันยากที่จะหาว่าใครคือฆาตกร หลักฐานรอยเท้าและเสื้อผ้าเหยื่อก็ถูกทำลายเละเทะจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความอยากรู้อยากเห็นของชาวบ้าน ฝ่ายเก็บหลักฐานทำงานเชื่องช้าพอมาถึงก็ไม่เหลืออะไรแล้ว นักข่าวก็ตามจี้จะเอาข่าวไปเลยแต่ไม่มีอะไรคืบหน้า จนมีเหยื่อรายต่อๆ มาก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า จนในที่สุดทางการตัดสินใจส่งตำรวจหนุ่มจากโซลมาร่วมสืบคดี...

อนินทรีย์แดง (Red Aninsri, or Tiptoeing on the Still Trembling Berlin Wall) : The Next Voice You Hear

มีจุดเล็กๆ ที่แทบจะมิได้มีส่วนขับเคลื่อนหนังเท่าไหร่ อยู่ช่วงกลางๆ เรื่องที่ตัวเอก 'อังค์' เข้าไปตีสนิทกับนักเคลื่อนไหวผู้ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวของรัฐบาล ในขณะนั้น 'อังค์' ได้แปลงโฉมตัวเองเป็นชายหนุ่ม (โดยใข้ชื่อ 'อิน') มีบทสนทนาบนเตียง (ซึ่งมีแค่นั้นจริงๆ ครับ) ที่สองคนเขาถกกันถึงสิ่งที่อเมริกาปฏับัติกับญี่ปุ่นด้วยการไม่จับองค์จักรพรรดิ แต่เก็บไว้ เพื่อไม่ต้องการให้ญี่ปุ่นเป็นคอมมิวนิสต์ (ซึ่งอันนี้ไม่เคยรู้มาก่อนเลย) (เพราะเท่าที่เคยได้ยินมาคงมีแค่) หลังอเมริกาทิ้งบอมบ์ไปสองลูก...

The Farewell การจากลาครั้งสุดท้าย (ที่อาจไม่มีโอกาสได้บอก)

นอกจากประเด็นการเติบโตในครอบครัวต่างวัฒนธรรมและการพลัดถิ่น The Farewell จึงเป็นหนังที่น่านำมาถกเถียงกันในประเด็นที่ว่า การโกหกนั้นเป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีของผู้ป่วยระยะสุดท้าย (terminally illed patient)

They’ll Love Me When I’m Dead ราชันย์ฝันสลาย

ภาพยนตร์ของออร์สัน เวลส์ มักเริ่มต้นด้วยความตาย เรื่องนี้ก็เช่นกัน ไม่ต่างอะไรกับบรรดาผลงานแสนยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่เป็นได้ทั้งความภาคภูมิใจและคำสาปร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตของบรรดาผู้ที่รังสรรค์มันขึ้นมา Citizen Kane ทำเอาชีวิตของผู้ยิ่งใหญ่แห่งฮอลลีวูดประสบชะตากรรมชีวิตพลิกคว่ำคะมำหงาย ทั้งคนเขียนบทอย่างเฮอร์แมน แมนคีวิกซ์ที่เราได้เห็นไปแล้วใน Mank และกับตัวผู้กำกับอย่างออร์สัน เวลส์ ที่ไม่ว่าจะทำหนังออกมากี่เรื่องหลังจากนั้นก็จะต้องถูกเอาไปเทียบกับความยิ่งใหญ่ของผลงานสร้างชื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำสาปของเคน ทำเอาเวลส์เซ็งฮอลลีวูดจนต้องหนีไปอยู่ยุโรปเกือบสองทศวรรษ ก่อนที่เขาจะเริ่มรวบรวมแรงฮึดสุดท้ายมาทำหนังสั่งลาฮอลลีวูด The Other Side...

Last and First Men : แล้วเรา ก็ตามหากันจน(ไม่)เจอ

ไม่ผิดครับ ถ้าเรายังไม่เกิดในช่วงเวลาที่หนัง L'Année Dernière à Marienbad (อาแลง เรอเนส์, 1961) มาฉายตามโรง (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เคยมาเข้าอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นที่อื่นบ้างล่ะ), ไม่ใช่เรื่องน่าน้อยใจว่าทำไมเราเพิ่งเคยดูหนัง La Jetée (คริส มาร์กเกอร์, 1962)...

Spring, Summer, Fall, Winter… and Spring สุนทรียะของฤดูกาลและการก้าวผ่านช่วงวัย

เงาแดดทอประกายบนผิวน้ำ ใบไม้เปลี่ยนสี หิมะโปรยปราย ทะเลสาบกลายเป็นน้ำแข็ง… เราอาจพูดได้ว่า “ฤดูกาล” คือตัวละครเพียงหนึ่งเดียวของหนังเรื่องนี้ หากกล่าวอย่างถึงที่สุด หนังทั้งเรื่องไม่ได้พูดถึงสิ่งใดนอกจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงอันแสนสามัญที่ครอบครองและคลี่คลุมทุกฉากของชีวิต ฤดูกาลเป็นทั้งผู้อยู่ ผู้มาเยือน และผู้จากไป บางครั้งสายตาของหนังก็ชวนให้เราเพ่งพินิจความเปลี่ยนแปลงในระยะใกล้ บางครั้งก็เป็นการทอดสายตามองความเปลี่ยนแปลงอย่างเฉื่อยชาในระยะไกล เณรน้อยเติบโต พระอาจารย์แก่ชรา ฤดูกาลผันผ่านไป… Spring อาศรมไม้หลังนั้นตั้งอยู่กลางทะเลสาบ ทะเลสาบอยู่ใจกลางหุบเขา วิธีเดียวที่จะเดินทางไปอาศรมแห่งนั้นได้คือต้องนั่งเรือข้ามไป วิธีเดียวที่จะนั่งเรือข้ามไปได้คือต้องให้นักบวชในอาศรมแห่งนั้นพายเรือมารับ อาศรมแห่งนั้นมีพระอาจารย์รูปหนึ่งอาศัยอยู่กับลูกศิษย์ที่เป็นเณรน้อยอีกรูปหนึ่ง...

The Call การฟาดฟันของเหล่าหญิงสาว

หนังไซไฟ-ทริลเลอร์อีกหนึ่งเรื่องที่ยืนยันความเด็ดขาดของหนังตระกูลนี้จากเกาหลีใต้ได้อย่างดี ด้วยเรื่องราวการห้ำหั่นระหว่างผู้หญิงที่ถูกนำเสนออย่างเข้มข้นชวนขนหัวลุก!