Facebook
FILM NEWS
ARTICLE
SPECIAL ARTICLE
CINEMA NOSTALGIA
BEHIND THE SCENE
FILM & BUSINESS
MUSIC ON FILM
FOOD & FILM
REVIEW
FILM REVIEW
SERIES REVIEW
SHOW REVIEW
ANIME & GAME REVIEW
INTERVIEW
VIDEO & PODCAST
SCREENING EVENT
CALENDAR
THE OTHER CLUBS
Search
FILM CLUB
FILM IS ALL AROUND.
FILM CLUB
FILM IS ALL AROUND.
Facebook
Twitter
Youtube
type here...
Search
FILM NEWS
ARTICLE
SPECIAL ARTICLE
CINEMA NOSTALGIA
BEHIND THE SCENE
FILM & BUSINESS
MUSIC ON FILM
FOOD & FILM
REVIEW
FILM REVIEW
SERIES REVIEW
SHOW REVIEW
ANIME & GAME REVIEW
INTERVIEW
VIDEO & PODCAST
SCREENING EVENT
CALENDAR
THE OTHER CLUBS
FILM CLUB
FILM IS ALL AROUND.
FILM NEWS
ARTICLE
SPECIAL ARTICLE
CINEMA NOSTALGIA
BEHIND THE SCENE
FILM & BUSINESS
MUSIC ON FILM
FOOD & FILM
REVIEW
FILM REVIEW
SERIES REVIEW
SHOW REVIEW
ANIME & GAME REVIEW
INTERVIEW
VIDEO & PODCAST
SCREENING EVENT
CALENDAR
THE OTHER CLUBS
AUTHOR
กฤตภัทธ์ ฐานสันโดษ
ทำงานด้านสาธารณสุขอยู่แถบอีสานใต้ งานอดิเรกคือเขียนถึงงานศิลปะและภาพยนตร์
Special Article
ตื่นเพื่อที่จะฝัน: การตั้งคำถามท้องฟ้าและปมอิดิปัสใน Bodo (1993) และ รักที่ขอนแก่น (2015)
April 12, 2022
ถ้าหาก “รักที่ขอนแก่น” มีท่าทีของการพยายามทำลายอำนาจเผด็จการทหารและชายเป็นใหญ่ Bodo ก็เช่นกัน ผ่านตัวละครเพศชายจำนวนมากที่ไม่เป็นการเป็นงาน เพราะไม่มีการสู้รบจริงๆ กองทัพจึงเป็นการป้องกันศึกภายในมากกว่าศึกภายนอก
Film Review
ท่วงท่าของความทรงจำ: การปรับและรับรู้สมดุลของแรงสั่นสะเทือนจากโคลอมเบียถึงไทยใน Memoria (2)
March 21, 2022
การรับรู้ความรู้สึกและเชื่อมโยงกับความทรงจำกลายเป็นสิ่งสำคัญ เสียงใน Memoria กระตุ้นความทรงจำผ่านการสั่นไหวของกระดูกสามชิ้นในหูชั้นในและส่งกระแสประสาทควบคู่กับการรับรู้ความสมดุลของตำแหน่งของศีรษะผ่านเส้นประสาทคู่ที่ 8 ขึ้นไปที่สมองส่วนธาลามัสที่เป็นจุดทางผ่านของผัสสะ ก่อนจะวิ่งไปแปลผลที่สมองส่วนหน้าและด้านข้าง
Film Review
ท่วงท่าของความทรงจำ: การปรับและรับรู้สมดุลของแรงสั่นสะเทือนจากโคลอมเบียถึงไทยใน Memoria (1)
March 16, 2022
Memoria ทำให้เราสัมผัสถึงการสั่นไหวที่เป็นการเคลื่อนไหวทั้งพื้นพิภพของภาพยนตร์ การยักย้ายปรากฎเป็นการเปิดออกที่เชื่อมโยงไปถึงเวลาหรือชีวิต มากกว่าเนื้อหาและพื้นที่ที่หยุดนิ่ง การสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องทำให้ภาพยนตร์มีชีวิตเป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา
Film Review
จากค็อกเทลถึงเหล้าขาว ผู้หญิงและปมที่ไม่ได้รอคอยผู้ชายกลับไปแก้ไข ใน One for the Road
February 28, 2022
ผู้เขียนพบว่ามีคนเทียบ One for the Road กับ Happy Old Year เยอะพอสมควร แต่ด้วยความที่ผู้เขียนเพิ่งได้ดู Drive My Car ก็อดคิดเทียบกันไม่ได้ ในแง่ที่ว่ามันเป็นโร้ดมูฟวี่ และเป็นเรื่องของการกลับไปเผชิญหน้าอดีตอันขมขื่นของผู้ชายที่ไม่เอาไหน
Film Review
ปลดแอกอาณานิคมสยามและแรงปรารถนา ใน มะลิลา
June 17, 2021
ในทางศาสนาพุทธ ความปรารถนาเป็นใจกลางของความทุกข์และการยึดติดผ่านแนวคิดปฏิจจสมุปบาท สำหรับชาวพุทธแล้วระหว่างความปรารถนาและการยึดติดจำเป็นที่จะต้องแยกขาดออกจากกัน พระและผู้ปฏิบัติธรรมจะแยกระหว่างความปรารถนา การยึดติด และความทุกข์ ออกจากกันได้ ด้วยการเผชิญหน้ากับซากศพ นั่นคือ อสุภกรรมฐาน เพื่อให้ค้นพบภาพลวงตาของความปรารถนาและความไร้ประโยชน์ของการยึดติดผ่านการใช้เรือนร่างเพศหญิง
Film Review
ต่อต้านด้วยการร่อนเร่: อารมณ์ รา มันฝรั่ง และเพศภาวะใน Vagabond
April 5, 2021
อานเญส วาร์ดาเขียนบันทึกถึงตัวเองไม่กี่วันก่อนถ่ายทำ Vagabond ว่า “สิ่งที่ต้องการคือประสบการณ์ ภาพ หรือสิ่งที่คาดไม่ถึง มากกว่าจะเน้นที่เรื่องราวหรือการขุดคุ้ยทางจิตวิทยา”
Film Review
แช่แข็งความฝัน ฝากไว้ที่อนาคต: สภาวะคู่ตรงข้ามใน Hope Frozen
October 31, 2020
“...แต่ว่าเราที่เป็นคนผลิตคอนเทนต์ก็คิดว่า ควรจะผลิตเนื้อหาแบบอื่นด้วยไหม คือพอเราไปคุยกับเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ พอบอกว่า เมืองไทย เขาก็จะนึกถึง ‘ชายหาดที่สวย’ ‘สิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้น’ แล้วก็ ‘ความยากจน’ ทำให้เขาดูเราเหมือนเราด้อยกว่า ไม่เท่าเทียมกัน ก็เลยอยากจะผลิตอะไรให้เขาเห็นด้วยว่า ‘เมืองไทยก็มีนักวิทยาศาสตร์’ ‘เมืองไทยก็มีคน upper middle class’...
Show Review
ขอเวลาอีกไม่นาน: สื่อและเวลาในสถานะผู้กระทำที่ถูกยืดยาวออกไปไม่รู้จบ
September 19, 2020
“ขอเวลาอีกไม่นาน” นิทรรศการศิลปะของ จุฬญาณนนท์ ศิริผล ถูกจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน – 9 สิงหาคม 2563 ที่ BANGKOK CITYCITY GALLERY มีผลงานหลักคือวิดีโอที่ถูกฉายบนจอ 4 จอในห้องแสดงหลัก ภาพและคำบรรยายในวิดีโอถูกทำขึ้นจากการตัดนำเอาภาพจากหนังสือพิมพ์และข้อความมาผสมปนกัน...
Film Review
หนทางสู่บ้านของต๊ะ : การกลับไปหาเครือข่ายที่โยงใยระหว่างมนุษย์และนอกเหนือจากมนุษย์
August 7, 2020
ในนิทรรศการศิลปะจัดวางนี้ นนทวัฒน์ นำเบญจพล พาเราติดตามการเดินทางกลับบ้านของชายหนุ่มชาวไทใหญ่ผู้มาทำงานที่เมืองไทยกว่า 6 ปี สะท้อนและต่อต้านการแตกสลายของความเป็นชุมชนโดยทุนนิยม ภายใต้การสอดแนมโดยรัฐประชาชาติ
Film Review
ฆาตกรรมที่มิสซิสซิปปี: การกลายเป็นทาส การกลายเป็นคนขาว และภาวะขาดอากาศในรัฐที่ท่วมท้นด้วยเสรีภาพ
June 14, 2020
กลางศตวรรษที่ 16 ชาวยุโรปที่เข้ามาตั้งรกรากในทวีปอเมริกาเพื่อล่าทองคำจากชาวพื้นเมืองคือชาวสเปน และเริ่มก่อตั้งอาณานิคมแห่งแรกเมื่อ ค.ศ. 1565 ก่อนที่ชาวอังกฤษจะเข้ามาตั้งอาณานิคมที่เมืองเจมส์ทาวน์เมื่อปี ค.ศ. 1607 แต่การอพยพของชาวยุโรปที่สำคัญและจำนวนมากคือผู้อพยพนิกาย Puritans เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1620 ที่เดินทางโดยเรือ Mayflower จากท่าเรือ...
Film Review
ส่วนน้อยสละเพื่อส่วนใหญ่: วาทกรรมความสุขของผู้ปกครอง ปัญญาชนผู้หวังดี ความทุกข์ของชาวอีสานและทองปานผู้หายสาบสูญ
June 5, 2020
ทศวรรษที่ 1960 สงครามเย็นแผ่ขยายเข้าปกคลุมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทหารอเมริกันรวมถึงนักพัฒนาและนักสร้างเขื่อนจากอเมริกา หน่วยงานพัฒนาที่ดิน (BuRec) ทีมเดียวกับที่สร้างเขื่อนฮูเวอร์ การเข้ามาตั้งฐานทัพจำนวนมากในภาคอีสานพร้อมกับเขื่อนถูกสร้างเพื่อส่งกระแสไฟ อูจีน แบลค หัวหน้าทีมประสานงานให้กับสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำไทยเป็นพิเศษ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช ก็ให้ความสนพระทัยเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับจอมพลสฤษฎิ์ก็ให้ความร่วมมือกับโครงการสร้างเขื่อนของสหรัฐฯ มีการก่อตั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นก็เกิดขึ้นเพราะจอมพลสฤษฎิ์ดำเนินตามนโยบายสหรัฐฯ รวมไปถึง ป๋วย อึ้งภากรณ์...
Film Review
In Comparison
May 5, 2020
ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นับเป็นรุ่งอรุณทางความคิดว่าด้วยทัศนานิยม (visualism) ในการสร้างองค์ความรู้อันได้แก่วิทยาศาสตร์และสาขาวิชาต่างๆ เพื่อการทำความเข้าใจสังคม งานศิลปะถูกแยกออกจากงานฝีมือ เพราะถือว่างานช่างเป็นของชนชั้นต่ำที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าสุนทรียศาสตร์ และนี่ก็มาพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมที่เน้นการแสดงสินค้ากระตุ้นเร้าใจให้คนอยากจับจ่ายใช้สอย การควบคุมการมองเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทการสร้างสถาบันและระเบียบวินัย (discipline) นับตั้งแต่โรงเรียน โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงองค์กรต่างๆ กฎระเบียบของการควบคุมผัสสะอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมองจึงถูกสร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นห้ามกินอาหาร ห้ามสัมผัส ห้ามส่งเสียงดัง...
Film Review
The Mudguard and A Lonely Monkey
April 26, 2020
ในบทความ กำเนิดรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่าน “จินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ” โดย ชาตรี ประกิตนนทการ เสนอให้เห็นถึงกระบวนการสร้างรัฐ (state formation) ผ่านโครงการระยะยาวของชนชั้นนำสยามในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 25 ที่พยายามสำรวจและรวบรวมข้อมูลศิลปวัตถุ รวมถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ตามหัวเมืองต่างๆ ทำให้เกิดเครื่องมือของรัฐที่เป็นองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ชาตรีเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าจินตกรรมรัฐสยามทางศิลปะ ซึ่งกลุ่มสยามหนุ่มที่นำโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐ (state transformation) จากรัฐจารีตมาสู่รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งในยุคสมัยของพระองค์มีการเปลี่ยนผ่านโลกทัศน์ที่มีต่อศิลปวัตถุ...
Film Review
From Now On
April 12, 2020
วันที่ 20 มกราคม 2557 เกิดการชุมนุมของกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายจำนวนมากที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย พวกเขาพากันหยุดเรียนและเดินออกมารวมตัวกัน ที่บริเวณหน้าอาคาร พร้อมเป่านกหวีดเพื่อประท้วงขับไล่ นายเฉลิมศักดิ์ ภาระธัญญา ผู้อำนวยการโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และอาจารย์บางคน โดยอ้างว่าถูกบังคับไปร่วมรณรงค์เลือกตั้ง จนนำไปสู่กระแสติดแฮชแท็ก #shutdownAYW ในทวิตเตอร์ และมีการแชร์ภาพนักเรียนถือป้าย "บังคับกูมา" กลางงานรณรงค์ด้วย สาเหตุของการประท้วงเริ่มจากความไม่พอใจที่มีการจัดให้นักเรียนไปรวมตัวกันที่หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าเมื่อวันที่ 17 มกราคม...
Film Review
สันติ – วีณา
March 28, 2020
* บทความชิ้นนี้เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์ สันติ-วีณา ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดย รัตน์ เปสตันยี ออกฉายในปี พ.ศ. 2497 ที่เคยถูกเล่าขานกันว่าเป็นภาพยนตร์ไทยดีที่สุดเรื่องหนึ่งและหายสาบสูญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะไม่มีฟิล์มเนกาทีฟหลงเหลืออยู่ในประเทศไทย จนกระทั่งหอภาพยนตร์ได้ดำเนินโครงการตามหาชิ้นส่วนที่ตกหล่นอยู่ที่ประเทศอังกฤษ รัสเซียและจีน ประกอบร่างของภาพยนตร์นี้ขึ้นอีกครั้ง และได้ถูกฉายในสาย Cannes Classic ของเทศกาลภาพยนตร์คานส์ ครั้งที่ 69...