เจาะแผนสนับสนุนวงการหนังท็อปโฟร์ของโลก (ตอน 4 : เยอรมนี)

อ่านตอน 1 : “เจาะแผนสนับสนุนวงการหนังท็อปโฟร์ของโลก (ตอน 1 : เกาหลีใต้)”
อ่านตอน 2 : “เจาะแผนสนับสนุนวงการหนังท็อปโฟร์ของโลก (ตอน 2 : ฝรั่งเศส)”
อ่านตอน 3 : “เจาะแผนสนับสนุนวงการหนังท็อปโฟร์ของโลก (ตอน 3 : สหราชอาณาจักร)”

รัฐบาลเยอรมันสนับสนุนอุตสาหกรรมหนังผ่านหน่วยงานชื่อ คณะกรรมการภาพยนตร์แห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (Filmförderungsanstalt – FFA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่สังกัดกระทรวงใด ประกอบด้วยตัวแทนของสภาล่าง  ตัวแทนของวุฒิสภา เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากหน่วยงานทางด้านสื่อและวัฒนธรรม ตัวแทนจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีทัศน์ ตัวแทนจากสหภาพแรงงาน ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ของรัฐและเอกชน ตัวแทนจากสมาคมผู้ส่งออกภาพยนตร์เยอรมัน ตัวแทนจากสถาบันภาพยนตร์ และตัวแทนจากศาสนจักร1 https://www.ffa.de/index.php?id=170

บทบาทหลักของคณะกรรมการนี้คือ

1. สนับสนุนเงินทุนแก่ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมหนังเยอรมัน ทั้งการผลิต (ผ่านทุนสนับสนุนการเขียนบทและการผลิต) การจัดจำหน่าย (ทั้งหนังและวิดีทัศน์) และการเผยแพร่ (ผ่านทุนสนับสนุนโรงหนัง) โดยเงินทุนที่ใช้นั้นได้มาจาก “ภาษีภาพยนตร์” (Film levy) ที่จัดเก็บจากโรงหนัง จากผู้ประกอบการวิดีทัศน์ ผู้ประกอบการวิดีโอออนดีมานด์ และผู้ประกอบการโทรทัศน์
2. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานการร่วมทุนผลิตหนังระหว่างผู้ผลิตเยอรมันและต่างชาติ
3. เผยแพร่หนังเยอรมันสู่ต่างประเทศ
4. อนุรักษ์หนังในฐานะมรดกของชาติ
5. จัดทำฐานข้อมูลหนังเยอรมัน ที่ประกอบด้วยบทวิเคราะห์ทางด้านการตลาดและอุตสาหกรรมหนัง ดีวีดี วิดีโอออนดีมานด์ ละข้อมูลเกี่ยวกับหนังเยอรมันที่สร้างเสร็จแล้ว


(ตอนต่อไป ติดตามว่ารัฐบาลไทยควรเดินทางไหน)

ภาณุ อารี
ปัจจุบันทำงานอยู่ฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบริษัทสหมงคลฟิล์มอินเตอร์ เนชั่นแนล นอกจากนี้ ยังเป็นนักทำหนังสารคดี เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาธุรกิจภาพยนตร์และวิชาผลิตภาพยนตร์สารคดี และเป็นนักเขียนในบางวาระ

RELATED ARTICLES