TAG

การจัดจำหน่ายหนัง

ปัญหาซ่อนเร้นของหนังไทย 1 รอบทั้งประเทศ

สารคดีไทย School Town King ‘แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน’ ผลงานของ วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย เข้าฉายโรงเมื่อ 17 ธ.ค. 63 ด้วยการฉายแบบ exclusive กับโรงหนังเครือ เอสเอฟ แต่เมื่อประกาศรอบออกมา พบว่ามันฉายแค่รอบเดียวคือ...

วงการสะเทือนอย่างไร เมื่อวอร์เนอร์ฯ ประกาศฟ้าผ่า “หนังทุกเรื่องปีหน้าเข้าโรงพร้อมลงออนไลน์”!

อีกหนึ่งคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลงถาโถมหลังวอร์เนอร์บราเทอร์สประกาศฟ้าผ่า"หนังทุกเรื่องปีหน้าเข้าโรงพร้อมลงออนไลน์"! ข่าวไม่สู้ดีสำหรับธุรกิจโรงหนังหลังโควิดยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคือการประกาศของค่ายวอร์เนอร์บราเทอร์สที่ว่า หนังใหม่ทั้งหมดของทางค่ายในปีหน้าจะไม่เปิดฉายในโรงก่อนแบบที่เคยเป็นมาอีกต่อไป แต่จะฉายทาง HBO Max ไปด้วยเลยพร้อมกัน! ซึ่งรวมถึงหนังที่เป็นความหวังของบรรดาโรงอย่าง Matrix 4, Dune และหนังหวังรางวัลอย่าง Judas and the Black Messiah ด้วย ข่าวนี้จะส่งผลสะเทือนแค่ไหนต่อวงการหนัง "วาไรตี้"...

เมื่อการจัดจำหน่ายแบบลูกผสม (hybrid distribution) กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่สำหรับธุรกิจหนังหลังวิกฤตโควิด

อย่างที่รู้กันว่าท่ามกลางวิกฤตของโรคร้ายที่คุกคามอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก จนทำให้เกิดคำถามว่าธุรกิจภาพยนตร์กำลังเข้าสู่ภาวะการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์หรือไม่ ได้มีความพยายามของสองค่ายสตูดิโอยักษ์ใหญ่ของฮอลลีวูดซึ่งในแก่ค่ายวอร์เนอร์ และ ค่ายดิสนีย์ที่จะท้าทายสภาวะดังกล่าวด้วยการเข็นหนังที่ถือเป็นความหวังของค่ายเข้าฉายในช่วงเวลาที่ค่ายยักษ์ใหญ่อื่นๆ เลือกที่จะเลื่อนหนังฟอร์มยักษ์ออกไป โดยค่ายวอร์เนอร์เลือกที่จะนำ Tenet หนังทุน 200 ล้านของผู้กำกับคริสโตเฟอร์ โนแลน เข้าฉายในรูปแบบปกติในโรงภาพยนตร์ ในต้นเดือนกันยายน ขณะที่ ค่ายดิสนีย์ เลือกเปิดตัว Mulan ในเวลาไล่เลี่ยกันบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของตัวเองที่ชื่อ...

มูลค่าทางธุรกิจที่หายไปของหนังอาร์ตเฮ้าส์ เมื่อเทศกาลหนังงดจัด

สำหรับผู้ซื้อหนังส่วนใหญ่ หนังอาร์ตจะถูกคิดถึงเป็นลำดับท้ายๆ เมื่อต้องเดินตลาดหนัง เพราะพวกเขามักต้องให้ความสำคัญกับหนังที่มีศักยภาพทางธุรกิจเสียก่อน สำหรับหนังอาร์ตเฮ้าส์ หรือ ‘หนังทางเลือก’ บ่อยครั้งผู้ซื้อจะรอให้เทศกาลใหญ่ๆ ที่หนังเหล่านี้เข้าประกวดประกาศผลไปแล้วถึงจะตัดสินใจว่าจะเสนอราคาหรือไม่ เหตุผลสำคัญมาจากหนังเหล่านี้ (โดยเฉพาะหนังจากผู้กำกับที่คนไม่คุ้นเคย) ไม่มีแรงผลักดันใดๆ ที่จะกระตุ้นให้ผู้ชมวงกว้างสนใจมาดูได้เท่ากับหนังที่ได้รับรางวัล ยิ่งเป็นรางวัลใหญ่ โอกาสที่หนังจะถูกปั้นให้ ”ขายได้” ก็มีสูง ด้วยเหตุนี้ การที่เทศกาลใหญ่ๆ อย่างคานส์...

“New Norm” ของธุรกิจหนังหลังวิกฤติ

นาทีนี้คงไม่มีคำไหนอินเทรนด์เท่ากับคำว่า “New norm” หรือ “New Normal” อีกแล้ว ความหมายแบบตรงตัวของมันก็คือ ความปกติหรือบรรทัดฐานใหม่ ที่จะมาแทนบรรทัดฐานเดิม วิกฤติการณ์โควิด 19 ซึ่งเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ดันคงอยู่อ้อยอิ่งยาวนาน ได้ทำให้พฤติกรรมเดิม ๆ หลายอย่างเปลี่ยนไป และสร้างพฤติกรรมใหม่ที่จะกลายเป็นความคุ้นชินโดยธรรมชาติในเวลาไม่ช้า ธุรกิจหนังเองก็กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งอาจทำให้รูปแบบเดิมๆ...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 2) : รู้จัก “สายหนังเมืองไทย”

หลังจากได้รู้จักที่มาของ “สายหนัง” ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์โลก และระบบการแบ่งสายจัดจำหน่ายหนังในอินเดียไปแล้ว (ตอน 1) คราวนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องสายหนังของเมืองไทย (อย่างย่อๆ) ดูบ้างครับ สายหนังเมืองไทย: นิยามและขอบเขต พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์ จากม.สุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายคำว่า “สายหนัง” ไว้ว่า คืกลุ่มนักธุรกิจที่ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายหลักในกรุงเทพฯ ไปจัดจำหน่ายในภูมิภาคของตนเอง โดยระยะแรกเหตุผลที่จำเป็นต้องพึ่งสายหนังก็เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ผลิตหนังตระเวนนำฟิล์มไปฉายด้วยตัวเองได้ จึงติดต่อพ่อค้าคนกลางที่มีความชำนาญในภูมิภาคต่าง...

“สายหนัง” คืออะไร (ตอน 1) …ไม่ใช่แค่ไทย อินเดียก็มี!

เคยไหมที่สงสัยว่าทำไมหนังเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ยอมมาฉายในจังหวัดของเราเสียที แล้วพอถามไปที่เจ้าของหนังบ้าง โรงหนังบ้าง คำตอบหนึ่งซึ่งอาจได้ยินบ่อยๆ และสร้างความฉงนมากๆ โดยเฉพาะถ้าเราไม่คุ้นเคยกับอุตสาหกรรมนี้ ก็คือ “สายหนังไม่อยากเอามาฉาย” ใครหรือคือ “สายหนัง” ที่ว่านั้น? นิยามสั้น ๆ ก็คงหมายถึง รูปแบบการจัดจำหน่ายหนังประเภทหนึ่งที่ “ผู้จัดจำหน่ายในแต่ละภูมิภาค” มีบทบาทสำคัญในการพาหนังจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายส่วนกลาง ไปสู่ผู้ชมในพื้นที่ที่ตนเองดูแล แต่ก่อนจะไปพูดกันถึงสายหนังของเมืองไทย เรามารู้จักที่มาของ “ระบบสายหนัง”...

มาทำความรู้จัก “ระบบโควตา” ของจีนกันเถอะ

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่า บริษัท Huayi Brothers ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์รายใหญ่ของจีน พยายามเรียกร้องให้โปรดิวเซอร์หนังเรื่อง John Wick จ่ายเงิน 2.4 ล้านเหรียญคืน เนื่องจากหนังไม่ผ่านการเซ็นเซอร์ในจีน แต่โปรดิวเซอร์ปฏิเสธ เนื่องจากมองว่า Huayi Brothers อาจตั้งใจไม่ฉายเองเพราะคิดว่าหนังคงไม่ทำเงิน...