สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ที่สร้างความฮือฮาให้แก่โลกหนังอยู่สองข่าว ข่าวแรกคือ การประกาศวันฉายของหนังแห่งความหวังของฮอลลีวูดเรื่อง Tenet ซึ่งมีกำหนด 26 สิงหาคมนี้ โดยจะเปิดตัวในหลายประเทศก่อนที่จะเข้าฉายในอเมริกาบางเมืองซึ่งปลอดภัยจากโรคโควิดในวันที่ 3 กันยายน ส่วนอีกข่าวหนึ่ง เป็นรายงานเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างโรงหนังเครือใหญ่เบอร์หนึ่งของอเมริกาคือ AMC กับค่ายหนังสตูดิโอ Universal ที่ AMC ยินยอมให้หนังจาก Universal เข้าฉายช่องทางสตรีมมิ่งแบบเก็บเงิน (Premium Video on Demand) ได้ หลังจากเข้าโรงเครือ AMC เป็นเวลาอย่างน้อยที่สุด 17 วัน https://www.indiewire.com/2020/07/17-day-window-universal-amc-change-film-distribution-1234576789/
แม้น้ำหนักการถูกพูดถึงจะเทไปที่ข่าววันฉายของ Tenet มากกว่า แต่ถ้าถามว่า ข่าวไหนสร้างความฮือฮาให้แก่ผู้คนในแวดวงธุรกิจหนังมากกว่ากัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวดีลลับลวงพรางระหว่างโรงหนังเครือใหญ่กับสตูดิโอยักษ์ใหญ่นั้นสร้างความมึนงง ตื่นเต้น และน่าวิตกกังวลมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุที่ทำให้ข่าวนี้สร้างความฮือฮาแก่วงการหนังอย่างมากก็เพราะ
1) เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โรงหนัง AMC เพิ่งประกาศตัดสัมพันธ์ชนิดไม่เผาผีกับค่าย Universal เนื่องจาก ช่วงที่วิกฤตโควิด-19 กำลังเพิ่มระดับความรุนแรง Universal ตัดสินใจนำหนังแอนิเมชั่นต้นทุน 100 ล้านเหรียญเรื่อง Troll World Tour เข้าฉายทางช่องทางสตรีมมิ่งออนไลน์ที่เรียกว่า Premium Video on Demand (ซึ่งเก็บค่าชมจากผู้ชมต่อครั้ง) สร้างความผิดหวังและโกรธเกรี้ยวแก่โรงหนังเครือใหญ่เป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงเวลานั้นโรงหนังต้องปิดตัวทำให้ขาดรายได้ ซ้ำค่ายหนังยังเลือกช่องทางการฉายที่ถือเป็นปฏิปักษ์ต่อการฉายในโรงเพื่อเอาตัวรอดเสียอีก ผู้บริหาร AMC จึงประกาศกร้าวว่าจะไม่ฉายหนังจาก Universal อีกต่อไป ซึ่งรวมถึง No Time to Die และ Fast and Furious 9 ด้วย
อย่างไรก็ตาม คล้อยหลังไม่ถึงสองเดือน สองยักษ์ใหญ่ก็หันกลับมาคืนดีพร้อมกับการเกิดขึ้นดีลอันลือลั่น ซึ่งว่ากันว่า สมประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ โดยโรงหนังจะยังเก็บรายได้ของหนังฟอร์มยักษ์ได้จากการฉายโรง แถมยังได้ส่วนแบ่ง 10% จากยอดฉายทางช่องทางสตรีมมิ่งของ Universal อีกต่างหาก ส่วนตัวค่ายหนังก็สามารถเก็บรายได้เต็ม ๆ จากทั้งโรงและสตรีมมิ่ง
2) หากดีลนี้เริ่มมีผลในทางปฏิบัติ แล้วโรงหนังเครือใหญ่อื่น ๆ และสตูดิโอต่าง ๆ เลียนแบบบ้าง อาจก่อเกิดสิ่งที่เรียกว่า สึนามิแห่งช่องทางการเผยแพร่หนัง (หรือเรียกว่า Window) ขึ้นมา จนส่งผลให้ธุรกิจหนังไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะวิเคราะห์เจาะลึกถึงผลกระทบของดีลระหว่าง AMC กับค่าย Universal เราควรมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “Window ของการจัดจำหน่าย” เสียก่อนว่าเป็นอย่างไร และมีช่องทางอะไรบ้าง
ในปัจจุบัน ช่องทางการเผยแพร่หนัง (Window) โดยทั่วไปแบ่งออกได้ 4 ช่องทาง ประกอบด้วย โรงหนัง, ดีวีดี/บลูเรย์, วิดีโอออนดีมานด์ (ซึ่งมีทั้งแบบชำระค่าชมต่อครั้ง และแบบบอกรับสมาชิก) และ ช่องทางโทรทัศน์ (แบบที่ต้องจ่ายค่าสมาชิก และแบบฟรี) แต่ละ Window จะมีระยะเวลาของการเริ่มต้นการเผยแพร่หนังแตกต่างกันไป โดยปกติจะถือว่าโรงหนังเป็นช่องทางการเผยแพร่ช่องทางแรก ตามมาด้วยดีวีดีและบลูเรย์ ซึ่งจะเริ่มออกวางจำหน่ายและให้เช่าหลังจากหนังฉายโรงแล้วประมาณ 3 เดือน เช่นเดียวกันกับช่องทางวิดีโอออนดีมานด์ ซึ่งจะคล้อยหลังจากโรงหนังประมาณ 3 เดือนเช่นกัน และหลังจากหนังเริ่มฉายในโรงหนัง 6- 8 เดือนก็จะถูกนำมาเผยแพร่ทางโทรทัศน์แบบเก็บค่าสมาชิก (pay TV) ก่อนที่จะออกอากาศในช่องทางโทรทัศน์แบบไม่ต้องเสียค่าชม (free tv ) เป็นช่องทางสุดท้าย (ส่วนใหญ่จะห่างราว 15 -24 เดือน หลังจากหนังฉายในโรง)
หากดีลนี้เริ่มมีผลในทางปฏิบัติ แล้วโรงหนังเครือใหญ่อื่น ๆ และสตูดิโอต่าง ๆ เลียนแบบบ้าง อาจก่อเกิดสิ่งที่เรียกว่า สึนามิแห่งช่องทางการเผยแพร่หนัง (หรือเรียกว่า Window) ขึ้นมา จนส่งผลให้ธุรกิจหนังไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ผลกระทบของดีลที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจหนัง
แน่นอนว่า เมื่อค่ายใหญ่กับโรงใหญ่ตกลงทำดีลกันให้หนังมีระยะเวลาการฉายโรงที่สั้นลง และการเริ่มต้นสิทธิ์สตรีมมิ่งที่เร็วขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อช่องทางการเผยแพร่หนังโดยรวมอย่างยิ่ง ซึ่งในมุมมองของผู้เขียน สิ่งที่จะเกิดขึ้นเท่าที่คิดได้ในตอนนี้ประกอบด้วย
1. หนังขนาดกลางและเล็กจากค่ายอิสระ อาจหมดโอกาสฉายในโรงหนังเครือใหญ่ เนื่องจากหนังจะมีระยะเวลาฉายอยู่ในโรงสั้นลง ดังนั้นโรงหนังย่อมยินดีจะเทจำนวนรอบให้แก่หนังฟอร์มใหญ่จากสตูดิโอใหญ่เป็นหลักเพื่อจะได้ทำรายได้ให้มากที่สุด โอกาสที่หนังขนาดกลางและเล็กจะแทรกตัวเข้าไปฉายในช่วงเวลาเดียวกับหนังฟอร์มใหญ่จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ต้องรอจังหวะที่ปลอดหนังฟอร์มใหญ่เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องยากมากในช่วงเวลาที่หนังฟอร์มใหญ่แทบจะเปิดตัวทุกเดือน
ทางรอดเดียวของหนังกลางและเล็กก็คือการฉายในโรงหนังทางเลือก (ที่ไม่ได้ตกลงดีลลักษณะนี้กับค่ายหนังใหญ่) แต่ถ้าตัวหนังไม่พิเศษจริงก็ไม่ง่ายอีกเช่นกันที่ผู้ชมจะให้ความสนใจ นอกจากนั้นก็ต้องไปฉายในช่องทางอื่น เช่น ช่องทางสตรีมมิ่ง เป็นต้น
2. การล่มสลายของบาง window เหยื่อรายแรกที่จะต้องสังเวยให้แก่โมเดลทางการจัดจำหน่ายแบบใหม่นี้ก็คือ ดีวีดีและบลูเรย์ ซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกอยู่แล้วจากการเติบโตของช่องทางสตรีมมิ่ง และการคุกคามอย่างต่อเนื่องของแผ่นดีวีดีและบลูเรย์ผิดกฎหมาย เมื่อ window แบบสตรีมมิ่งถูกทำให้สั้นลง ความต้องการซื้อแผ่นดีวีดีหรือบลูเรย์ก็จะลดลงตามไปด้วยเพราะผู้ชมจะได้ชมหนังทางสตรีมมิ่งเร็วกว่าเดิมแล้ว นอกจากนี้ การที่หนังออกฉายในช่องทางสตรีมมิ่งเร็วขึ้น โอกาสที่ลิงค์หนังผิดกฎหมายจะถูกเผยแพร่ก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดดีวีดีและบลูเรย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
3. พฤติกรรมการดูหนังของผู้ชม เมื่อ window ของการฉายหนังในโรงหนังถูกทำให้สั้นลง คาดว่าพฤติกรรมการดูหนังของผู้ชมก็จะชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ผู้ชมอาจแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ 1) ผู้ชมที่ยังถือว่าโรงหนังเป็นแหล่งเผยแพร่หนังที่สมบูรณ์แบบ เมื่อมีหนังมาเปิดตัวก็จะซื้อตั๋วเข้าชมตั้งแต่วันแรก ๆ เพื่อให้ทันช่วงเวลาที่หนังจะมีชีวิตอยู่ในโรงหนัง และ 2) ผู้ชมที่รอชมผ่านช่องทางสตรีมมิ่ง เพราะเห็นว่ารอเพียงไม่นานก็จะได้ชมแล้ว ไม่จำเป็นต้องรีบซื้อตั๋วเข้าโรง แถมสตรีมมิ่งยังเป็นทางเลือกที่คุ้มค่า เพราะแม้ค่าบริการจะสูงกว่าตั๋วหนัง (กรณี Troll World Tour ค่าชมต่อการสตรีมหนึ่งครั้งสูงถึง 19 เหรียญ