TAG

LGBT

เซลีน เซียมมา เมื่อมีภาพยนตร์ เลสเบี้ยนก็ได้ดำรงอยู่

"หนังของฉันก็เหมือนกันทุกเรื่อง นั่นคือมันมักว่าด้วยเรื่องราวไม่กี่วันที่ตัวละครได้หลุดออกไปจากโลก ไปยังสถานที่ซึ่งได้พบคนรัก ได้รักและถูกรัก แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องราวของตัวละครหญิงเสมอ เพราะมีเพียงแต่พื้นที่ส่วนตัวเช่นนี้เท่านั้นที่พวกเธอจะเป็นตัวของตัวเองได้ ได้แบ่งปันความเดียวดาย ความฝัน ความคิดและไอเดียต่างๆ ให้กันและกันฟัง"

เปโดร อัลโมโดวาร์ ศาสนา มารดา และประชาธิปไตย

เปโดร อัลโมโดวาร์ คือ คนทำหนังชาวสเปนผู้ถ่ายทอดเรื่องราวของมนุษย์ตัวเล็กตัวน้อย ความเป็นแม่และตัณหาชวนหน้ามืดไปจนถึงความซ่องแตกได้อย่างเปี่ยมเสน่ห์และบ้าพลัง นับตั้งแต่แจ้งเกิดด้วยฉาก 'ฉี่กรอกปาก' (!!), แม่ชีที่ฉีดเฮโรอีนเข้าเส้นเลือดตัวเองด้วยสีหน้าเปี่ยมสุขยิ่งกว่าได้เข้าเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า, หญิงสาวที่ช่วยตัวเองด้วยการให้นักประดาน้ำของเล่นแหวกว่ายมายังจิ๋ม และเรื่อยมาจนถึงการสำรวจภาวะความเป็นแม่และเพศอันหลากหลาย

Ride or Die : คนนอกคอกของสถาบันครอบครัว

ในท่ามกลางกระแสหนัง LGBTQ+ ในช่วงนี้ หนังเรื่องหนึ่งที่น่าจับตาอย่างมากคือ Ride or Die ซึ่งดัดแปลงจากมังงะแบบ 3 เล่มจบ กับธีมความรักของหญิงสาวอันไร้ทิศทาง รุนแรง ทรงพลัง และทำให้คนตาย

Happiest Season : ราคาของความคาดหวัง

หากจะมีอะไรที่เป็นการแผ้วถางเส้นทางใหม่ให้กับวงการหนัง LGBT คงเป็นการที่หนังเรื่องนี้ถูกฉายในฐานะหนังช่วงเทศกาลวันหยุดคริสมาสต์ ซึ่งมักจะเต็มไปด้วยหนังรักของคู่รักชายหญิง หรือหนังที่เชิดชูอุดมการณ์ครอบครัวแบบรักต่างเพศ

FILM CLUB List : Queer Cinema (Part 3)

รายชื่อในรอบสาม เนื่องในโอกาส​ Pride Month ที่ Film Club ได้ชักชวนผู้คน ทั้งนักวิจารณ์ คนทำหนัง และคนดูหนังจำนวนหนึ่งมาร่วมกันเลือกภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศของผู้คน โดยแต่ละท่านมีอิสระในการเลือก ภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด ทั้งภาพยนตร์ หนังสั้น หนังทดลอง สารคดี ไปจนถึงมิวสิควิดีโอ โฆษณา หรือแม้แต่ คลิปไวรัล

FILM CLUB List : Queer Cinema (Part 2)

ในโอกาส​ Pride Month นี้ Film Club ได้ชักชวนผู้คน ทั้งนักวิจารณ์ คนทำหนัง และคนดูหนังจำนวนหนึ่งมาร่วมกันเลือกภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศของผู้คน โดยแต่ละท่านมีอิสระในการเลือก ภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด ทั้งภาพยนตร์ หนังสั้น หนังทดลอง สารคดี ไปจนถึงมิวสิควิดีโอ โฆษณา หรือแม้แต่ คลิปไวรัล และนี่คือรายชื่อในรอบสอง

FILM CLUB List : Queer Cinema (Part 1)

ในโอกาส​ Pride Month นี้ Film Club ได้ชักชวนผู้คน ทั้งนักวิจารณ์ คนทำหนัง และคนดูหนังจำนวนหนึ่งมาร่วมกันเลือกภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศของผู้คน โดยแต่ละท่านมีอิสระในการเลือก ภาพเคลื่อนไหวทุกชนิด ทั้งภาพยนตร์ หนังสั้น หนังทดลอง สารคดี ไปจนถึงมิวสิควิดีโอ โฆษณา หรือแม้แต่ คลิปไวรัล และนี่คือรายชื่อที่เราได้มาในรอบแรก

SUK SUK ชีวิตคือความไม่สมหวัง

มองผ่านๆ เราอาจบอกว่านี่เป็นหนังรักเจ็บปวดของเกย์วัยดึกที่พบกันช้าเกินไป แต่สำหรับ Suk Suk สิ่งที่ทำให้ใจสลายไม่ใช่การพลัดพรากเพราะสังคม แต่คือมวลทั้งหมดของชีวิตต่างหาก

A Story of Yonosuke : ‘แตงโม’ ของนาย มิตรภาพของเรา …พื้นที่หม่นมืดของ ‘เควียร์’ ในหลืบเร้นที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา

ในโลกของภาพยนตร์ญี่ปุ่น ‘แตงโม’ ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมที่มักถูกนำมาใช้ ‘แทนค่า’ กับความสดใสหรือความชื่นอกชื่นใจระหว่างสมาชิกภายในครอบครัวหรือกลุ่มมิตรสหาย ที่มีโอกาสได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าท่ามกลางบรรยากาศของฤดูร้อนอุ่นอ้าวที่ส่องสว่างเจิดจ้า ทว่าแตงโมใน A Story of Yonosuke (2013, ชูอิจิ โอคิตะ) -หนังความยาว 160 นาทีอันว่าด้วยภาพชีวิตของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ยังคงติดตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คนที่เขาเคยพบพาน- กลับถูกแทนค่าความหมายที่คล้ายคลึงกันนี้ภายใต้ ‘บริบท’ ที่น่าสนใจกว่านั้น เพราะผลไม้รสหวานฉ่ำน้ำชนิดดังกล่าวถูกเปรียบได้กับ...

The Half of It รักไม่โรแมนติกของอลิซ วู

เอลลี่ ชู คือนักเรียนหญิงหัวดี เธอรับเขียนเรียงความให้เพื่อนร่วมชั้น วันหนึ่ง พอล มันสกี้ ขอให้เอลลี่ช่วยเขียนจดหมายรักให้แอสเตอร์ หญิงที่เขาตกหลุมรัก แต่เขาหารู้ไม่ว่า เอลลี่ก็แอบรักแอสเตอร์เช่นกัน The Half of It เป็นผลงานกำกับเรื่องที่สองของอลิซ วู (จาก Saving Face)...

Moonlight : โอบกอดความแปลกต่างด้วย ‘ไก่ย่างคิวบา’ …ประตูที่เปิดออกด้วย ‘รัก’ ในสังคมแห่งการเหยียด

ตัวละครไชรอนใน Moonlight (2016) ถือได้ว่าเป็น ‘ภาพแทน’ ของมนุษย์ที่โดนสังคมกดขี่ในหลากหลายมิติ เขาถูกบีบคั้นจากฐานะอันยากไร้ของครอบครัวจนแทบไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสอาหารชั้นเลิศ, สมาชิกจากทั้งสองบ้านของเขาก็ถูกกกดทับจากเชื้อชาติผิวสีจนไม่สามารถหางานการดีๆ ทำได้ จึงต้องก้าวเข้าไปพัวพันกับยาเสพติดเพื่อความอยู่รอด และเขาก็ยังถูกทำร้ายจากรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูอ้อนแอ้นบอบบาง

The Half of It จดหมาย(แอบ)สารภาพรัก

ภายใต้หน้าหนังเรียบเชียบคล้ายจะตามสูตรของมัน หนังแนวก้าวพ้นวัย (coming-of-age) เรื่องนี้กลับมีความโดดเด่นน่าสนใจอยู่หลายประการที่ควรค่าแก่การพูดถึง ตั้งแต่การเล่าเรื่องความรักวัยรุ่นเอเชียนอเมริกันที่เป็นเควียร์ ไปจนถึงการอ้างอิงถึงศิลปะและวรรณคดีที่อัดแน่นมาเต็มเรื่อง

#คั่นกู เพราะเราคู่กัน : ถ้าหวงมาก ก็ถือให้ ‘พอดี’ …เมื่อ ‘บลู ฮาวาย’ มีความหมายในซีรีส์วาย

ซีรีส์ ‘เพราะเราคู่กัน’ หรือ ‘คั่นกู’ โด่งดังถล่มทลายข้ามประเทศในช่วงหลายเดือนมานี้ และมีฉากที่ทำให้เครื่องดื่มที่ไทน์ทำหกอย่าง ‘บลู ฮาวาย’ ดูจะมี ‘ความหมาย’ ต่อเรื่องเล่าในจอ-รวมถึงกระแสตอบรับนอกจอ-อย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย

Circus of Books

เธอได้มาเรียนรู้ทีหลังว่าตอนเด็กเธอไม่รู้อะไรเกี่ยวกับพ่อแม่เลย นอกจากเรื่องว่าแม่เป็นคนเข้มงวด เคร่งศาสนา และเป็นผู้นำของบ้านที่มีลูกบ้านเป็นพ่อ ผู้ชายที่ร่าเริงที่สุดในบ้าน ลุงหัวล้านใจดีที่ทุกคนรัก กับพี่ชายและน้องชายที่รักกันดีไม่มีตีกัน แม่พาเธอไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ ขณะที่พ่อยักไหล่ใส่ศาสนา เวลาเพื่อนๆถามว่าพ่อแม่เธอทำอะไรเธอตอบว่า อ๋อที่บ้านเปิดร้านหนังสือ เวลาไปที่ร้านแม่จะบอกให้เธอห้ามมองตรงนั้นตรงนี้ เดินก้มหน้ารีบมารีบไป เธอไม่รู้อะไรเลยในตอนนั้น จนเมื่อบรรดาเพื่อชาวเกย์สายอาร์ตของเธอถามว่า ร้านที่ว่าชื่ออะไร? และเธอตอบว่า Circus of Books...