The Kingmaker : การเมืองเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมและความเป็นแม่ของอีเมลดา มาร์กอส

ไม่ว่าใครที่ได้พบ อีเมลดา มาร์กอส ก็ต้องยอมรับกันทั้งนั้นว่าเธอมีสไตล์จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่ใส่ คอลเล็กชันงานศิลปะระดับโลกที่สะสม หรือเรื่องกล่าวขานเกี่ยวกับรองเท้า 3,000 คู่ของเธอที่เก็บไว้ในทำเนียบประธานาธิบดี

เธอยังกล่าวเสมอว่า เธอต้องการเป็นแม่ของคนทั้งโลก และการแต่งตัวงดงามของเธอก็เป็นเสมือนดาวประกายพฤกษ์ในค่ำคืนที่มืดมิดของคนยากไร้ เธอปกครองด้วย “ความรัก” และให้เหตุผลถึงการใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อของตัวเองว่าเป็นเพราะ “ความรักมันวัดประเมินค่าไม่ได้”

ยังไม่รวมอีกสารพันสิ่งที่เธอเล่นบทเหยื่อของขบวนการยุติธรรมฟิลิปปินส์ที่ต้องการยึดทรัพย์และดำเนินคดีกับเธอเป็นร้อยคดี อาจกล่าวได้ว่า อีเมลดาเป็นคนหนึ่งที่ใช้ “ความเป็นหญิง” ของตัวเองได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา จนเธอสามารถผลักดัน บองบอง มาร์กอส ลูกชายของเธอให้มาได้ไกลอย่างทุกวันนี้ ทั้งที่เคยถูกฝูงชนขับไล่ออกนอกประเทศไปแล้วครั้งหนึ่ง!

อาจกล่าวได้ว่า อีเมลดาเป็นคนหนึ่งที่ใช้ “ความเป็นหญิง” ของตัวเองได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา จนเธอสามารถผลักดัน บองบอง มาร์กอส ลูกชายของเธอให้มาได้ไกลอย่างทุกวันนี้ ทั้งที่เคยถูกฝูงชนขับไล่ออกนอกประเทศไปแล้วครั้งหนึ่ง!

เจน ลาซาร์ นักเขียนและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี ได้กล่าวไว้ในบทบรรยายของเธอที่บาร์เซโลนาในปี 20181 https://publicseminar.org/2018/12/the-politics-of-motherhood/ ไว้ว่า “สิ่งที่เราอ่านเกี่ยวกับความเป็นแม่ส่วนใหญ่ เป็นการบรรยายจากมุมมองของเด็ก – เด็กที่โตแล้วที่ตอนนี้กลายเป็นนักเขียน, นักจิตวิทยา, นักการอาชีพต่างๆ แต่โดยแก่นสารของพวกเขาที่อยู่ในความสัมพันธ์กับคนที่เขาบรรยายนั้น พวกเขาก็ยังเป็นเด็ก”

อาจกล่าวได้ว่า อีเมลดาได้สร้างเรื่องเล่าของเธอผ่านลูกชายได้อย่างดีจริงๆ บองบอง มาร์กอสได้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ปี 2022 เรียบร้อยแล้ว โดยเขามักให้เครดิตอยู่เสมอว่าแม่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเขา อันที่จริง ไม่มีใครรู้ว่าบองบองอยากเป็นประธานาธิบดีจริงหรือไม่ จากเรื่องเล่าของลูกชายของบองบอง เขาเป็นเพียงหนุ่มเนิร์ดคนหนึ่งที่อยากทำงานกับฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ แต่เฟอร์ดินาน มาร์กอส ผู้พ่อ ผลักดันเขาให้เล่นการเมืองเพราะทำเงินได้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม บองบองได้กลายเป็นกระบอกเสียงของอีเมลดา เป็นผู้สืบทอดตำนานของความเป็นสตรีหมายเลขหนึ่ง ซึ่งคนจะยังจดจำได้เสมอทุกครั้งที่เห็นบองบอง

ในพื้นที่ทางการเมือง เมื่อผู้หญิงออกมาทำอะไรมักจะถูกครหาได้ง่ายเสมอ หากผู้หญิงทำตัวมีอำนาจ ตัดสินใจเด็ดขาด ใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ พวกเธอมักจะถูกมองว่าแข็งกร้าว แต่เมื่อพวกเธอร้องไห้ พวกเธอก็จะถูกหาว่าอ่อนแอ และไล่ให้กลับไปอยู่บ้าน

บทบาทหนึ่งที่สลักสำคัญและเป็นบทบาทเดียวที่ผู้หญิงจะใช้เล่นการเมืองได้ก็คือบทบาท “แม่” อันที่จริงแม่สำคัญกว่าบทบาทเมียเสียด้วยซ้ำ เพราะความเป็นแม่มีความเป็นการเมืองพร้อมๆ กับที่เป็นเรื่องส่วนตัว ในขณะที่แม่ต้อง ‘จัดหา (provide)’ ทุกสิ่งให้กับคนในบ้านนั้น แม่ก็ provide ความปลอดภัยด้านประชากรและความมั่งคั่งให้แก่ชาติด้วย ด้วยเหตุนี้ สตรีในสมัยก่อนที่ไม่สามารถมีบุตรได้จึงถูกครหาอย่างรุนแรงว่านำความเสื่อมเสียมาให้วงศ์ตระกูล ทั้งที่จริงภาวะเจริญพันธุ์ขึ้นอยู่กับผู้ชายด้วย

บทบาทหนึ่งที่สลักสำคัญและเป็นบทบาทเดียวที่ผู้หญิงจะใช้เล่นการเมืองได้ก็คือบทบาท “แม่” อันที่จริงแม่สำคัญกว่าบทบาทเมียเสียด้วยซ้ำ เพราะความเป็นแม่มีความเป็นการเมืองพร้อมๆ กับที่เป็นเรื่องส่วนตัว ในขณะที่แม่ต้อง ‘จัดหา (provide)’ ทุกสิ่งให้กับคนในบ้านนั้น แม่ก็ provide ความปลอดภัยด้านประชากรและความมั่งคั่งให้แก่ชาติ

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องที่ชาญฉลาดอย่างมากที่อีเมลดานำบทบาทแม่ของตนเองมาใช้ทางการเมือง และมันก็ประสบความสำเร็จอีกด้วย บทบาทแม่ยังมีความหมายโดยนัยที่ซ่อนอยู่นั่นคือคนที่ทำเพื่อคนอื่นอย่างแท้จริง ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่สวัสดิภาพของลูก (หรือประชาชน) มาก่อน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่เธอเลือกทำงานกับโรงพยาบาลและเด็กๆ เพื่อสร้างภาพเหล่านี้ขึ้นมา

อีกบทบาทหนึ่งที่อยู่ในความเป็นแม่ ก็คือผู้ประสานความขัดแย้ง แม่จะต้องโอบอุ้มทุกคนด้วยความรักความเมตตา เธอจึงมักยกเรื่องราวของเธอที่ไปพบกับประธานาธิบดีและคนสำคัญต่างๆ ในต่างประเทศมาพูดถึงเสมอ เช่นที่เธอกล่าวว่า เหมาเจ๋อตงบอกว่าเธอทำให้สงครามเย็นจบลงได้ เธอกำลังสร้างภาพของสันติภาพที่สอดรับกับความเป็นแม่ และความเป็นผู้หญิงของเธอ เพื่อสร้างภาพจำให้แก่ฟิลิปปินส์

“ในการเมืองที่ขับเคลื่อนด้วยบุคลิกภาพ ความเป็นแม่ทำให้มีทางลัดเกิดขึ้น มันช่วยทำให้นักการเมืองดูเป็นคน มันสามารถถูกใช้เพื่อสร้างภาพความอบอุ่นทางความรู้สึกและความเห็นอกเห็นในในยุคที่ผู้นำถูกคาดหวังให้ “เข้าใจ”ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง”2 https://www.theguardian.com/theguardian/2007/apr/13/guardianweekly.guardianweekly1

เมื่อประชาชนทลายเข้าไปในทำเนียบประธานาธิบดี สิ่งที่พวกเขาเห็นจึงน่าตกใจ เพราะมันแสดงให้เห็นว่าอีเมลดาสะสมเพียงความมั่งคั่งเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ตำนานรองเท้า 3,000 คู่ได้ทำลายภาพของแม่ที่ไม่เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ส่วนรวมลง นั่นทำให้มันเป็นที่กล่าวขานเพราะมันขัดกับภาพลักษณ์ที่เธอใช้เวลาบ่มเพาะมานานนับสิบปี กลับกลายเป็นว่าเธอประสบความสำเร็จในการพูดให้คนเชื่อ แต่ล้มเหลวในการทำให้คนเชื่อเกี่ยวกับความเป็นแม่ของตัวเอง

แต่การแต่งตัวและออกงานสังคมก็ไม่ใช่ข้อเลวร้ายเสมอไป มีคนกล่าวไว้ว่า อีเมลดากับทรัมป์มีสิ่งที่เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือพวกเขา “ถูกประเมินไว้ต่ำเกินไป”3 https://www.irishtimes.com/culture/film/sole-survivor-how-imelda-marcos-strutted-back-to-power-in-the-philippines-1.4103547 หลังการล่มสลายของตระกูลมาร์กอส สิ่งหนึ่งที่ขาดคือคนกลางที่มาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและเขียนประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้ง ต่างจากในเยอรมนีที่ทุกคนคิดว่าเด็กๆ ต้องรู้เกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์ คนฟิลิปปินส์เลือกที่จะ “ไปต่อ (move on)” และภาพจำของอีเมลดาในแง่นางงามและทูตสันถวไมตรีที่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ หรือในฐานะไอคอนของยุค 804 https://www.townandcountrymag.com/society/money-and-power/a29610659/imelda-marcos-kingmaker-documentary/ ก็ยังคงอยู่ต่อไป

อีเมลดาใช้ความพยายามและงบประมาณจำนวนมากไปกับการเข้าร่วมงานสังคมเพื่อสร้างภาพการเป็นคนสนิทกับดาราดัง ผู้นำประเทศ หรือแม้กระทั่งพระสันตะปาปา ดูเหมือนอะไรบางอย่างในตัวเธอทำให้การสนิทกับเหล่าคนดังเป็นไปอย่างง่ายดาย แอนดี้ วอร์ฮอล์ ศิลปินคนดังเคยถึงกับเล่าเกี่ยวกับเธอว่า เมื่อเธอไปปาร์ตี้จะไม่มีอะไรหยุดเธอได้และเธอจะเป็นคนสุดท้ายที่กลับเสมอ เธอถึงกับ “เชิญตัวเอง” ไปในงานรับตำแหน่งของประธานาธิบดีนิกสันและพยายามเข้าไปสนิทกับพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งที่ Opera House บางครั้งคนก็เปรียบเทียบเธอเข้ากับสตรีหมายเลขหนึ่งของอาร์เจนตินา คือ เอวา เปรอน ซึ่งเป็นหน้าเป็นตาให้แก่รัฐเผด็จการของสามีเธอ แต่อีเมลดาไม่ชอบใจนักที่ถูกเปรียบเทียบเข้ากับเอวา

อย่างไรก็ตาม เราสามารถเชื่อได้ว่า การที่อีเมลดาพยายามเข้าไปสนิทกับคนดังและออกงานสังคมอยู่บ่อยๆ นั้นมีจุดประสงค์แอบแฝงอยู่ นั่นคือการทำให้ตัวเองเป็นไอคอนของยุค อย่างที่เธอประสบความสำเร็จในการสร้างภาพจำดังกล่าวขึ้นมานั่นเอง

“สติสัมปชัญญะของฉันสมบูรณ์ดี” อีเมลดาบอกผู้สัมภาษณ์ “ถ้าหากฉันคดโกง มันก็จะต้องแสดงออกมาผ่านสีหน้าของฉันแล้วสิ”

นภัทร มะลิกุล
จบการศึกษาจากเอกปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ปัจจุบันเป็นนักวิจารณ์หนังและหนังสือให้กับสื่อออนไลน์ และยังเป็น co-founder ของบล็อกคุยเรื่องหนัง afterthescene.com เธอชอบเรียนรู้เรื่องมนุษย์ผ่านสื่อและศิลปะ และมีเป้าหมายอยากเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต

LATEST REVIEWS