MIDNIGHT CINEMA 02 : ประวัติศาสตร์ฉบับย่อของ BLACK HORROR ว่าด้วยเชื้อโรค เลือด และคนดำ

1.

ท่ามกลางวิกฤตินานาของสังคมอเมริกันในทศวรรษที่ 1970 สงครามเวียดนาม การเหยียดสีผิว ท่ามกลางกระแสของบุปผาชน ฝ่ายขวาหัวรุนแรง การประท้วงสงคราม การต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ในโลกภาพยนตร์ทศวรรษที่ 1970 คือช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านอย่างเก้ๆ กังๆ จากความเป็นอนุรักษนิยมของผู้คนยุคสงครามโลก มาสู่เสรีภาพทั้งในเรื่องเพศ วิถีชีวิตและการต่อต้านสงคราม 

สภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำของฮอลลีวูดนำไปสู่การเปิดโอกาสให้คนทำหนังรุ่นใหม่ ทำหนังแบบใหม่ๆ ทั้งหนังเมนสตรีมและหนังอาร์ต หนึ่งในนั้นคือการถือกำเนิดและจบสิ้นลงของภาพยนตร์ในกลุ่ม Blaxploitation 

Blaxploitation ดูจะเป็นคำแสลงที่เชื่อมโยงกลับไปในฐานะขนบรองของหนังในขนบ Exploitation ซึ่งหมายถึงบรรดาหนังทุนต่ำเกรดบีสร้างง่ายขายถูกที่เน้นความหวือหวา เซ็กซ์ และความรุนแรง หนังผี หนังเชือดเลือดสาด หนังขายเนื้อหนังมังสา หรือฉากการต่อสู้ เดิมที Exploitation เป็นคำเรียกหนังกลุ่มนี้แบบหลวมๆ ที่มีมาตั้งแต่สมัย 1920 หากกลับมาเป็นคำที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายหลังทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา จากการผ่อนคลายลงของระบบเซ็นเซอร์ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปของอเมริกาและยุโรป แม้ในทางหนึ่ง Exploitation เป็นป้ายปิดฉลากของหนังเกรดรองไร้สาระ แต่หนังอาร์ตหลายเรื่องก็เข้าข่ายหนัง Exploitation ด้วย 

สภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำของฮอลลีวูด นำไปสู่การเปิดโอกาสให้คนทำหนังรุ่นใหม่ ทำหนังแบบใหม่ๆ ทั้งหนังเมนสตรีมและหนังอาร์ต หนึ่งในนั้นคือการถือกำเนิดและจบสิ้นลงของภาพยนตร์ในกลุ่ม Blaxploitation ซึ่งคือหนังเกรดบีขายเซ็กซ์และความรุนแรงที่ทั้งหมดสร้างและแสดงโดยคนดำ แต่ไม่ใช่ว่าหนังที่คนดำเล่นทุกเรื่องในยุค 70’s จะถูกนับเป็น Blaxpolitation ในการถกเถียงทางวิชาการมีผู้เสนอว่า Blaxploitation นั้นเป็น ‘ขบวนการ’ (movement) มากกว่าขนบ (genre)

หากการที่มันจะเป็นหรือไม่เป็น Exploitation ซับซ้อนกว่านั้น เพราะมันไม่ได้เป็นเรื่องตรงไปตรงมา การใช้คำนี้เรียกขนบหนังไม่ใช่คำที่มาก่อนหนัง แต่เป็นคำที่มาทีหลัง กล่าวคือมันแปรผันตามทัศนคติและการรับรู้ที่ผู้ชมมีต่อหนังเรื่องนั้นๆ มากกว่าการถูกกำหนดล่วงหน้า แม้ว่าในทางหนึ่งมันอาจถูกนำมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ก็ตาม แต่ในอีกทางมันก็มีความเหยียดเล็กๆ ในการเรียกขานหนังเหล่านี้ด้วย

หาก Blaxploitation กลับซับซ้อนกว่านั้นอีก เราอาจพูดแบบตีขลุมว่า หนังกลุ่มนี้คือหนังเกรดบีขายเซ็กซ์และความรุนแรงที่ทั้งหมดสร้างและแสดงโดยคนดำ แต่ไม่ใช่ว่าหนังที่คนดำเล่นทุกเรื่องในยุค 70’s จะถูกนับเป็น Blaxpolitation ในการถกเถียงทางวิชาการมีผู้เสนอว่า Blaxploitation นั้นเป็น ‘ขบวนการ’ (movement) มากกว่าขนบ (genre) ซึ่งเหตุผลก็เพราะหนังที่ถูกเรียกว่า Blaxploitation ในทางปฏิบัตินั้นได้กวาดเอาขนบอันหลากหลายทั้งหนังอาชญากรรมอย่าง Shaft หรือ Coffy ไปจนถึงหนังตลกอย่าง The Waremelon Man หนังอาชญากรรมอีโรติกอย่าง Sweet Sweetback’s Badasssss Song และหนังผี 

คล้ายคลึงกับหนังในตระกูล Film Noir (ฟิล์มนัวร์) หนังทั้งสองกลุ่มเกิดขึ้นมาโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทั้งสังคม การเมือง และสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ แรกเริ่มเดิมทีคนทำไม่ได้ตั้งใจที่จะทำหนังให้เป็นหนัง Film noir หรือ Blaxploitation กรณีของ Film noir นั้นมันเป็นหนังที่ถูกสร้างขึ้นมากในยุคสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นยุคที่ความขัดแย้งทำให้อเมริกาไม่ได้ส่งหนังไปฉายในฝรั่งเศส คำว่า Film Noir มาจากนักวิจารณ์ชาวฝรั่งเศส Nino Frank ใช้เรียกบรรดาหนังที่เขาเพิ่งได้ดู ซึ่งเขาเห็นว่ามันมีเรื่องเล่า สไตล์ และรูปแบบต่างไปจากหนังยุคก่อนสงครามอย่างน่าสนใจ ตัวละครชายที่น่าสงสัยในศีลธรรม ตัวละครหญิงร้าย เรื่องที่ค่อนไปทางมืดดำหดหู่ เขามองว่านี่คือภาพแทนของความวิตกกังวลของคนทำหนังและผู้ชมอันเป็นผลสืบเนื่องจากสงคราม

เช่นเดียวกัน Blaxploitation ขึ้นตรงต่อขนบของหนังน้อยกว่าสิ่งที่อยูในหนัง มันถูกสร้างในยุคสมัยของการเรียกร้องหาเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ถูกสร้างอย่างอิสระนอกสตูดิโอ ในยุคที่สตูดิโอฮอลลีวูดผ่านพ้นยุคทองของตัวเองไปแล้ว ในขณะเดียวกันความเป็นการเมืองของมันคือการที่ตัวมันเองเป็นการต่อต้านภาพแทนของคนดำในหนังฮอลลีวูดที่เป็นได้แค่ ตัวประกอบ ตัวตลก คนดำสร้างหนังของตัวเองที่มีคนดำเป็นตัวเอก เป็นวีรบุรุษ เป็นนักสู้ ในขณะที่เนื้อหาหลักของหนังมักคือ การล้างแค้นเอาคืนระหว่างคนดำกับคนขาว Blaxploitation เป็นทั้งการประกาศศักดาของการทำหนังของคนดำ โดยคนดำ เพื่อคนดำ แต่มันก็สร้างข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะการที่ตัวมันเองเป็นหนังอิสระที่มีร่มใหญ่ของความเป็นหนังอาชญากรรมครอบอยู่ ในทางหนึ่งมันจึงถูกมองว่า มันเกือบจะเป็นหนังที่ stereotype คนผิวสีให้เป็นได้แค่อาชญากร คนค้ายา โสเภณี ‘ความเป็นวีรบุรุษ’ ของคนขาวในหนังตระกูลเดียวกันอาจผูกโยงอยู่กับความเป็นสุภาพบุรุษ เชื่อมั่นในคุณธรรมบางอย่าง แต่นั่นไม่ใช่ในหนังแบบคนดำ ในอีกทางหนึ่ง ก็มีการตอบโต้ว่าการวิเคราะห์ให้หนังมีแค่นี้ก็เป็นการลดทอนการต่อสู้ของคนดำที่ไม่ยอมมีความสุภาพแบบคนขาว ไม่ใช่วีรบุรุษพิมพ์นิยมแบบคนขาว และต้องไม่ลืมว่าในสตูดิโอฮอลลีวูดแทบไม่มีทางที่คนดำจะเติบโตในแวดวงภาพยนตร์กระแสหลัก ในเวลานั้นมีคนนับนิ้วมือได้ที่ได้เป็นนักแสดง น้อยกว่านั้นสำหรับการเป็นคนเขียนบท ผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์ 

Blaxploitation เป็นทั้งการประกาศศักดาของการทำหนังของคนดำ โดยคนดำ เพื่อคนดำ แต่มันก็สร้างข้อถกเถียงมากมาย โดยเฉพาะการที่ตัวมันเองเป็นหนังอิสระที่มีร่มใหญ่ของความเป็นหนังอาชญากรรมครอบอยู่ ในทางหนึ่งมันจึงถูกมองว่า มันเกือบจะเป็นหนังที่ sterEotype คนผิวสีให้เป็นได้แค่ อาชญากร คนค้ายา โสเภณี ในอีกทางหนึ่งก็มีการตอบโต้ว่า การวิเคราะห์ให้หนังมีแค่นี้ก็เป็นการลดทอนการต่อสู้ของคนดำที่ไม่ยอมมีความสุภาพแบบคนขาว ไม่ใช่วีรบุรุษพิมพ์นิยมแบบคนขาว และต้องไม่ลืมว่าในสตูดิโอฮอลลีวูดแทบไม่มีทางที่คนดำจะเติบโตในแวดวงภาพยนตร์กระแสหลัก ในเวลานั้นมีคนนับนิ้วมือได้ที่ได้เป็นนักแสดง น้อยกว่านั้นสำหรับการเป็นคนเขียนบท ผู้กำกับหรือโปรดิวเซอร์

อย่างไรก็ตาม ในบทความชิ้นนี้เราจะโฟกัสไปยังขนบย่อยของขนบ/ขบวนการใหญ่เท่านั้น และนั่นคือ หนังสยองขวัญของคนดำ (Black Horror)

2. 

เริ่มกันอย่างนี้ เริ่มกันในศตวรรษที่ 18 คุณคือ Malmuwalde เจ้าชายแห่งชนเผ่า Abani ในแอฟริกา คุณพร้อมด้วยมเหสี Luva เดินทางมายังทรานซิลเวเนียเพื่อเข้าพบกับท่านเคานท์ Dracula หลังจากได้รับการต้อนรับขับสู้อย่างดีคืนนั้นคุณตรงเข้าประเด็น คุณมาที่นี่เพื่อเจรจาเรื่องการเลิกทาส และสิ่งที่ Dracula ตอบโต้คุณคือการทำให้คุณตกเป็นทาสเสียเอง ไม่ใช่ทาสต่อเขา แต่ทาสของกาลเวลา เขาทำให้คุณเป็นอมตะ เป็นแวมไพร์กระหายเลือดเช่นเดียวกันกับเขา จากนั้น เขาขังคุณไว้ในห้องใต้ดินของบ้านพร้อมกับมเหสีของคุณซึ่งถูกปล่อยให้ตาย 

ศตวรรษต่อมา คู่รักเกย์ดำขาวคู่หนึ่งเข้าซื้อบ้านของ Dracula ในทรานซิลเวเนีย พวกเขาเจอโลงศพลึกลับในห้องใต้ดิน ตัดสินใจขนส่งมาอเมริกา ด้วยวิธีการนี้เอง คุณฟื้นคืนชีพขึ้นมาในนามของ Blacula!

เริ่มต้นกันอย่างนั้น และนี่คือหนังที่ถูกนับเป็นหนังเรื่องแรกของ Black Horor

ด้วยความสำเร็จทางการตลาดของหนัง ในปีเดียวกันนั้น ยังมีหนังทำนองนี้ตามออกมาอีกจำนวนหนึ่ง จาก Blacula (1972) หนังแดรกคูล่าคนดำ ไปสู่ Blackenstein (1973) หนังที่มีคนดำมารับบททหารเวียดนามผู้เสียแขนขาและถูกปลุกชีพให้เป็นแฟรงเกนสไตน์, Dr. Black and Mr. Hyde (1976) หนังดัดแปลง Jackle and Hyde ฉบับคนดำ และ Abby (1974) หนังรีเมก The Exorcist ให้เป็นคนดำผีเข้า

อาจบอกได้ว่าต้นธารของหนัง Black Horror เกิดจากการรีเมกเพื่อสร้างความหมายใหม่ เริ่มจาก Dracula รีเมกเป็น Blacula, FrankenstEIn รีเมกเป็น BlackensTein Dr. Jekyll and Mr. Hyde รีเมกเป็น Dr. Black and Mr. Hyde และ The Exorcist รีเมกเป็น Abby การเปลี่ยนโลกของคนขาวมาเป็นโลกของคนดำในเรื่องเล่าแบบเดียวกันกับสร้างผลที่แตกต่างกันอย่างน่าสนใจ

ดูเหมือนเพียงแค่การดัดแปลงก็มีความหมายทางการเมืองที่น่าสนใจแล้ว เพราะหนังสยองขวัญเหล่านี้เคยเป็นพื้นที่ของคนขาว หากว่ามีคนดำอยู่ในหนัง คนดำก็มักเป็นตัวประกอบ เป็นตัวตลก เป็นคนที่ตายก่อน การช่วงชิงเอาเรื่องสยองของคนขาวมาดัดแปลงให้เป็นเรื่องของคนดำ จึงเป็นปรากฏการณ์ช่วงชิง ท้าทย ความหมายดั้งเดิมที่น่าตื่นเต้นโดยตัวมันเอง

น่าเสียดายที่แม้จะเริ่มต้นอย่างห้าวหาญว่าด้วยการค้าทาส แต่ Blacula ไปได้ไม่ไกลนัก เพราะหลังจาก Blacula ถูกนำมายังอเมริกา เขาก็ออกอาละวาดตามแบบฉบับหนังสยองขวัญ และจบตามขนบโดยไม่มีอะไรเร้าใจไปมากกว่าการเป็นหนังสยองขวัญเรื่องหนึ่ง ด้วยความฮิตของมันจึงทำให้มีภาคต่อออกมาในชื่อ Scream Blacula Scream (1973) ซึ่งแม้ว่าคุณภาพในการเป็นหนังสยองขวัญอาจจะไม่ดีนัก แต่โครงเรื่องของมันกลับท้าทายอย่างยิ่ง เพราะว่าในภาคต่อนี้ Blacula ที่ตายไปในแสงอาทิตย์ถูกปลุกผีขึ้นมาอีกครั้ง นี่ไม่ใช่แค่การปลุกคนที่ตายให้กลับฟื้นตื่น แต่คือการปลุกผีให้กลับมาเป็นผีเลยทีเดียว ที่มันกว่านั้นคือการปลุกผี Blacula เกิดขึ้นจากการเอากระดูกของเขามาร่ายมนต์วูดู !!  

ไสยศาสตร์ของคนดำจึงกลายเป็นอำนาจเหนือความสยองขวัญของคนผิวขาว อย่างไรก็ตามหนังยังคงเดินตามขนบหนังแวมไพร์ Blacula ไล่ดูดเลือดคนอื่น สร้างกองทัพผีดิบ และถึงที่สุดอาจจะตกหลุมรักหมอผีสาวที่พยายามทำพิธีส่งร่างผีดิบกลับไปยังโลกเดิม และในที่สุดเป็นผู้เดียวที่ทำลาย Blaculaได้ 

หนึ่งในการตีความสำคัญเกี่ยวกับ Dracula ฉบับของ Bram Stoker คือการที่โดยเนื้อแท้นี่เป็นเรื่องของการหวาดกลัวคนอพยพและคนยิว (Dracula ย้ายจาก Transylvania มาอยู่ในอังกฤษ นำพาเอาความชั่วร้ายกับโรคติดต่อมาด้วย และการดื่มเลือดของ Dracula ที่ทำให้ผู้ถูกดูดเลือดกลายเป็นแวมไพร์ก็คือภาพเปรียบเปรยของเชื้อโรคและโรคระบาด) ภาพลักษณ์ของแวมไพร์จึงไปกันได้ดีกับสถานะของคนดำในสังคมอเมริกาในสายตาของคนขาว ที่มองคนดำเป็นของพลเมืองชั้นสอง คนอพยพ แหล่งซ่องสุมของความชั่วร้ายและเชื้อโรค มันจึงเป็นการย้อนเกล็ดทั้งการที่เอาตำนานของคนขาวมาเล่าใหม่ เพื่อท้าทายความเป็นเจ้าของเรื่องเล่า ในขณะเดียวกันก็ช่วงชิงเอาความวิตกกังวลที่คนขาวมีต่อคนดำมาใช้เสียเองเพื่อเป็นทั้งแฟนตาซีและการเสียดสี 

ในปีเดียวกันนั้นเองยังมีหนังแวมไพร์คนดำอีกเรื่องที่สำคัญกว่า และกลายเป็นหนึ่งในหนังสำคัญที่สุดทั้งในแง่ของหนังสยองขวัญ หนังอาร์ต และหนัง Blaxploitation นั่นคือ Ganja & Hess

Ganha & Hess เล่าเรื่องของ Dr. Hess (แสดงโดย Duane Jones นักแสดงนำจาก Night of The Living Dead ของ George Romero หนังที่ไม่ใช่ Blaxploitation แต่ถูกจดจำในฐานะหมุดหมายสำคัญหลายๆ ประการ หนึ่งในนั้นคือการที่มีตัวละครเอกเป็นคนผิวดำ ซึ่งแม้ Romero จะออกมาแบ่งรับแบ่งสู้ว่าเขาไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นหนังที่ตัวละครหลักเป็นคนผิวดำเพื่อประเด็นทางการเมือง แต่นี่คือเรื่องของชายผิวดำที่ต้องต่อสู้กับคืนของซอมบี้ผีดิบท่ามกลางตัวละครคนขาวประสาทๆ มากมาย ก่อนจะลงเอยด้วยการถูกสังหารจากน้ำมือของตำรวจเพราะคิดว่าเขาเป็นซอมบี้ในเช้าวันต่อมา) นักมานุษยวิทยาที่กำลังวิจัยเรื่องชนเผ่าโบราณในแอฟริกาได้กริชมากระดูกสัตว์มาอันหนึ่ง เวลาต่อมาผู้ช่วยของเขาที่่ค่อยๆ เสียสติไปทีละน้อย (รับบทโดย Bill Gunn ผู้กำกับเอง) หยิบกริชอันนั้นมาแทงเขากลางดึกในคืนหนึ่งก่อนจะยิงตัวตาย 

หาก Dr. Hess ไม่ตาย กริชนั้นมีบางอย่างอยู่ ซึ่งเราอาจะเรียกว่ามนต์วูดูหรือเชื้อโรคก็ได้ เขาฟื้นจากความตายเพื่อกลายเป็นแวมไพร์กระหายเลือด และเริ่มออกล่า บางครั้งฉกเลือดจากคลินิก บางครั้งก็จากโสเภณีและคนจรต่างๆ จนกระทั่ง Ganja ภรรยาของผู้ช่วยที่ตายไปแล้วของเขาเดินทางมาถึง หล่อนสวย และมีเสน่ห์ยวนใจ จนในที่สุดเขาดื่มเลือดเธอและทำให้เธอเป็นเช่นเขา ขณะที่เขาทุกข์ทรมานกับความอมตะและคลั่งเลือดของตน Ganja ก็ค่อยๆ เรียนรู้ที่จะเป็นแวมไพร์และหาทางที่จะมีชีวิตใหม่ด้วยตัวของเธอเอง 

หากในช่วงเวลานั้นยังมีหนังแวมไพร์อาร์ตเฮาส์ Ganja & Hess ที่ถือเป็น Black Horror เรื่องสำคัญที่สุด หนังประกอบภาพแวมไพร์อย่างเข้ากับโรคร้าย แต่โรคนี้ไม่ได้ทำให้คนดำแข็งแรงขึ้น มันทำให้เขาอ่อนแอ ความกระหายเลือดนั้นก้ำกึ่งอยู่ระหว่างการเป็นอาการป่วยไข้ หรือการติดยาเสพติด

พล็อตอาจจะดูเป็นหนังแวมไพร์ที่คุ้นเคย แต่หนังกลับถ่ายทำอย่างผิดประหลาด ด้วยงานภาพหลอกหลอนบิดเบี้ยว การสโลว์การเคลื่อนไหวของตัวละครจนหลายฉากเกือบจะเป็นภาพนิ่ง กล้องที่เคลื่อนใกล้ชิดตัวละครจนใบหน้าและร่างกายปรากฏเป็นเพียงส่วนเสี้ยว การเอียงกล้องจนทุกเส้นบนจอเป็นเส้นเฉียงชวนสยอง กล่าวให้ถึงที่สุด Ganja & Hess เป็นหนังแวมไพร์ที่เกือบจะเป็นฉบับเมายาล่องลอย เป็นบรรยากาศมากกว่าตัวเรื่อง เป็นฉากหลังมากกว่าอุปมาอุปไมย

ดูเหมือนหนังประกอบภาพแวมไพร์อย่างเข้ากับโรคร้าย แต่โรคนี้ไม่ได้ทำให้คนดำแข็งแรงขึ้น มันทำให้เขาอ่อนแอ ความกระหายเลือดนั้นก้ำกึ่งอยู่ระหว่างการเป็นอาการป่วยไข้หรือการติดยาเสพติด บ้านของ Dr. Hess ซึ่งเป็นคฤหาสน์หรูหราแบบคนขาว วิถีชีวิตแบบคนขาว มีกระทั่งคนรับใช้ (ผิวดำ) กลายเป็นแบบจำลองของสังคมกระฎุมพีคนขาวสวมในสังคมคนดำ เป็นคนในอาณานิคมที่ฝันอยากเป็นเจ้าอาณานิคม ซึ่งเขาเองเป็นทั้งส่วนหนึ่งและไม่เป็นส่วนหนึ่ง มันเป็นทั้งการล้อเลียนและการทำให้มันผิดที่ผิดทาง การปฏิบัติของ Ganja และ Hess ต่อคนรับใช้ยิ่งฉายภาพผิดที่ผิดทางของความอยากเป็นอย่างคนขาวที่เป็นไม่ได้ไปไม่ถึง ทั้งการถูกเอาคืนจากบรรพบุรุษผ่านกริชลึกลับให้ต้องกลายเป็นสัตว์ที่ ‘เป็นก็ไม่ใช่ ตายก็ไม่เชิง’ เป็นสัตว์ ‘ประหลาด’ (ในความหมายของ Uncanny Creatures อันหมายถึงสิ่งซึ่งดูปกติ เคยดูปกติ แต่ไม่ปกติ มีบางอย่างที่ชวนขนลุก หลอกหลอน ผิดไปจากเดิม ไม่ใช่สัตว์ประหลาดที่ไม่เคยเห็น แต่เป็นสิ่งที่เคยเห็นแบบนี้มาก่อน)

ความเป็น สัตว์ ‘ประหลาด’ ในหนังทำให้นักวิชาการภาพยนตร์บางคนเปรียบเทียบสถานะของแวมไพร์ในฐานะภาพหัวกลับของการเป็นทาส การเป็นทาสของแอฟริกันอเมริกันมีความกึ่งเป็นวัตถุกึ่งเป็นมนุษย์ เพราะในขณะที่พวกทาสถูกซื้อขายได้ในฐานะวัตถุไม่มีชีวิต เจ้าของทาสก็รู้อยู่เต็มอกว่าเหล่าทาสนี้สามารถถูก ‘สิงสู่’ โดยเจตจำนงเสรีของความเป็นมนุษย์ หรือพูดให้ง่าย เป็นมนุษย์ไม่ใช่สิ่งของ พวกเขาจึงต้องออกกฎควบคุมทาสไม่ให้ละเมิดเจ้าทาส ทาสจึงเป็นทั้งสิ่งที่ทั้งถูกทำให้ไม่มีชีวิตและก็ไม่มีชีวิต ‘เป็นก็ไม่ได้ตายก็ไม่เชิง’  เป็นเพียง ‘สัตว์ประหลาด’ ที่มีกำลังแต่ไร้อำนาจ ในขณะเดียวกัน ความเป็นแวมไพร์ก็ไม่ได้น่ากลัวเพียงเพราะมันทำให้ตาย แต่เพราะมันคือการล่าอาณานิคมที่ปรากฏต่อเรือนกาย ทำให้กายกลายเป็นทาส แบบเดียวกับการล่าอาณานิคมแอฟริกัน กลายเป็นผีที่มีอำนาจ ทาสที่มีอำนาจเหนือนายแต่ก็เป็นทาส (ต่อความกระหายเลือด)

การที่เจ้านายกลายเป็นทาส (ทาสของเลือด ยาเสพติด หรือการเป็นผี) จึงเป็นภาพหัวกลับของนิยามความเป็นทาส ขณะเดียวกันศพสุดท้ายของหนังคือคนรับใช้ของ Dr. Hess ทาสที่ไร้เสียงโดยสมบูรณ์ เมื่อแวมไพร์รายใหม่เปลือยกายขึ้นจากสระน้ำราวกับพระเยซูตื่นฟื้น ส่วน Dr.Hess ผู้ทุกข์ทก็หันหน้าเข้าหาโบสถ์เพื่อให้แก้ไขอาการของตน ราวกับศาสนาเป็นทางออกและยาฝิ่นระงับอาการเป็นก็ไม่ใช่ตายก็ไม่เชิงของคนดำชนชั้นกลางที่ผิดที่ผิดทางไปในสังคมอเมริกันสมัยใหม่ในขณะนั้น 

Ganja &Hess ที่เปล่าเปลือย จึงกลายเป็นหนังที่เปิดโล่งต่อการตีความความหมายหลายๆ แบบในการใช้หนังสยองขวัญมาอธิบายความวิตกกังวล ความกลัว ความตึงเครียดของสังคมผ่านทางโครงเรื่องหลวมๆ บรรยากาศหลอกหลอนและการไม่ยอมตกเป็นทาสของการเล่าเรื่องเสียเอง 

3. 

นี้เป็นเพียงการยกตัวอย่างคร่าวๆ ถึงบรรดาหนังจากยุคแรกของ Black Horror ในทศวรรษ 1970 ก่อนที่มันจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา พร้อมกับการมาถึงของหนัง Blockbuster แนวใหม่ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของวงการหนังไปตลอดกาลอย่าง Jaws  

ในยุค 90’s Black Horror กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งผ่านหนังที่คนจดจำกันได้ดี ด้วยเรื่องของฆาตกรฆ่าต่อเนื่อง/ผีปีศาจตัวแรกที่เป็นคนดำอย่าง Candyman (1992) ผีนักฆ่ามือตะขออดีตลูกชายของทาส หรือ Bones (2001) หนังแวมไพร์ของ Snoop Dogg และ Def by Temptation (1990) อีกหนึ่งหนังแวมไพร์ 

และไม่กี่ปีมานี้เอง Black Horror กลับมาอีกครั้ง ผ่านหนึ่งในหนังเรื่องสำคัญทั้งในฐานะหนังทำเงินและหนังชิงรางวัลปี 2017 คือ Get Out โดย Jordan Peele ซึ่งว่าด้วยหนุ่มผิวดำที่มีแฟนเป็นคนขาว สุดสัปดาห์เขาเดินทางไปบ้านแฟนซึ่งเป็นบ้านคนผิวขาวชนชั้นกลาง ในงานปาร์ตี้เขาพบคนดำท่าทางแปลกๆ เหมือนหุ่นยนต์และเริ่มรู้สึกผิดประหลาด เมื่อแม่ของคนรักที่เป็นจิตแพทย์พูดคุยและอาจจะเริ่มสะกดจิตเขา Get Out โด่งดังทั้งในฐานะหนังสยองขวัญและหนังที่ซ่อนประเด็นทางสังคมไว้อย่างเฉียบแหลม ก่อนที่ Jordan Peele จะวิพากษ์ผ่านหนังสยองขวัญอย่างหนักมือขึ้นในหนังเรื่องต่อมาคือ Us ที่วิพากษ์ชนชั้นของคนดำอย่างดุเดือด ซึ่งไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ เราอาจกล่าวได้ว่าหนังสองเรื่องนี้เป็นลูกหลานของหนังในสายตระกูล Black Horror 

และนี่คือประวัติศาสตร์ฉบับย่อของหนังสยองขวัญคนดำ และลูกหลานของมัน


หมายเหตุ : เนื้อหาบางส่วนของบทความเป็นการสรุปและเรียบเรียงจาก Novotony Lawrence และ Gerald R. Butters Jr., บรรณาธิการ. (2016). Beyond Blaxploitation . Detroit : Wayne State University Press

Filmsick
Filmvirus . เม่นวรรณกรรม . documentary club

LATEST REVIEWS